Thursday, March 26, 2009

การเพาะกล้าพืชใช้ได้กั

การเพาะกล้าพืชใช้ได้กับพืชทุกชนิด

การปลูกพืชให้ประสบผลสำเร็จสูงและลดค่าใช้จ่ายได้ ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายอย่าง นับจากเมล็ดพันธุ์พืชที่ใช้ จนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิต และถ้าจะให้ดี เกษตรกรควรเริ่มต้นจากการหาเมล็ดพันธุ์ที่ดี แล้วนำมาเพาะกล้า
การเพาะกล้าให้ต้นแข็งแรงและให้ผลผลิตสูง การเพาะกล้าพืชที่ถูกต้อง มีขั้นตอน ดังนี้
1. ต้องเลือกเมล็ดพันธุ์พืชที่มีคุณภาพที่ดี คือ ทนต่อโรคและแมลง, เปอร์เซ็นต์ความงอกสูง รวมทั้งดูวัน เดือน ปี ที่ผลิตว่ายังไม่หมดอายุ
2. ถ้าเมล็ดพืชที่เพาะมีเปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง ควรกระเทาะหรือลอกเปลือกออก วิธีการนี้จะช่วยให้เมล็ดงอกเร็วขึ้นกว่าการเพาะเมล็ดทั้งเปลือก พืชที่นิยมลอกเปลือกหุ้มเมล็ดออก เช่น มะม่วง
3. การแช่น้ำเมล็ดพืชจะทำให้เปลือกหุ้มเมล็ดอ่อนตัวลง จึงช่วยให้เมล็ดพืชงอกได้เร็วชึ้น วิธีการคือ นำมาแช่ในน้ำหรือน้ำอุ่น (ใช้น้ำร้อนผสมน้ำเย็น อัตราส่วน 1:1) แช่นาน 30 นาที และปล่อยจนน้ำเย็น แช่ทิ้งไว้นาน 10-12 ชม. จึงนำมาห่อผ้าเปียกไว้ รดน้ำ 2-3 วันพอเริ่มมีงอกขาวๆๆปริๆๆออกมา นำไปเพาะลงในถาดเพาะกล้าหรือถุงเพาะกล้า พืชที่นิยมแช่น้ำเมล็ด เช่น พริก มะเขือ
4. การเตรียมวัสดุเพาะกล้าพืช ทำได้โดยการผสมดินร่วน : ปุ๋ยคอกละเอียดและเก่า : ขี้เถ้าแกลบ อัตราส่วน 1 : 1 : 1 เมื่อผสมวัสดุเพาะกล้าแล้วนำกรอกลงในภาชนะ เช่น ถาดเพาะ กระถาง ถุงพลาสติก ฯลฯ โดยใส่วัสดุเพาะกล้าลงในภาชนะประมาณ 2 ใน 3 ของความสูงของภาชนะบรรจุ ไม่ควรใส่ให้สูงล้นเต็มภาชนะ เพราะเวลารดน้ำจะทำให้เมล็ดพันธุ์ไหลหลุดติดไปกับน้ำที่ใช้รด
5. เกลี่ยผิวหน้าวัสดุเพาะให้เรียบ และทำเป็นหลุมหรือร่องเล็ก ๆ ตามขนาดความยาวของภาชนะ ระยะห่างระหว่างแถว ประมาณ 3 ซม. ลึกประมาณ 0.5-1 ซม.
6. โรยเมล็ดพันธุ์ลงไป ถ้าเป็นหลุมปลูก ควรหยอดเมล็ด 2-3 เมล็ด/ หลุม ถ้าโรยเป็นแถว ควรโรยบาง ๆ และกลบวัสดุปลูกทับเมล็ดพันธุ์ผักที่โรยไว้
7. ควรหว่านปูนขาวบาง ๆ ลงบนผิวของวัสดุปลูก เพื่อป้องกันมดหรือแมลงเข้าทำลายเมล็ดพันธุ์
8. ควรวางภาชนะเพาะกล้าในที่ร่มรำไร และรดน้ำทุก ๆ วัน ละ 2 ครั้ง ในช่วงเช้าและเย็น
9. เมื่อเมล็ดเริ่มมีใบจริง ควรวางภาชนะเพาะกล้าให้ได้รับแสงสว่างในช่วงครึ่งวันเช้า หรือใช้วัสดุพรางแสงกั้นบนภาชนะที่ใช้เพาะกล้า เพื่อให้กล้าผักเริ่มปรับตัวแข็งแรงขึ้น และไม่กระทบกระเทือนต่อสภาพการย้ายปลูกต่อไป
10. เมื่อกล้าที่เพาะโตและแข็งแรงแล้ว ควรทำการย้ายกล้าลงแปลงปลูก
11. ใสปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก รองก้นหลุมก่อนปลูก เพื่อช่วยปรับสภาพดิน
หากเกษตรกรมีการเริ่มต้นทีดี จะช่วยให้การดูแลและการจัดการภายในสวนง่ายขึ้น และสามารถลดการสูญเสียและปัญหาต่าง ๆ ได้ในระดับหนึ่ง

การทำ EM ขยาย

การทำ EM ขยาย

การทำ EM ขยาย
การเตรียมวัสดุอุปกรณ์
1.หัวเชื้อจุลินทรีย์ EM
2.กากน้ำตาล
3.ถังพลาสติกแบบมีฝาปิด หรือขวดพลาสติกแบบมีฝาเกลียว
4.น้ำสะอาด (น้ำประปาหมักไว้ 1 คืน )

วิธีทำ EM ขยายแบบขวด
1.นำหัวเชื้อจุลินทรีย์ em (ตัวแม่) 2 ช้อนโต๊ะ ใส่ขวดพลาสติกใสแบบฝาเกลียวขนาด1.5 ลิตร
2.ใส่กากนำตาล 2 ช้อนโต๊ะผสมจุลินทรีย์ em
3.ใส่น้ำสะอาดปราศจากคลอรีน (นำประปาหมักทิ้งไว้ 1 คืน )
4.เขย่าให้เข้ากัน หมักไว้ 4- 5 วันเก็บไว้ในที่มืดไม่โดนแดดในห้องอุณหภูมิปกติ
5.EM ที่ได้จะเป็นEM ขยายรุ่นลูก และสามารถขยายได้อีก2 รุ่น รุ่นหลาน และ รุ่นเหลนใช้อัตราส่วนเดียวกัน

การทำEMขยายแบบจำนวนมาก
1. เตรียมถังขนาด50 ลิตร และน้ำสะอาดเกือบเต็มถังเว้นอากาศไว้ประมาณ 10 %
2. หัวเชื้อ จุลินทรีย์ em 1 ลิตร
3. กากน้ำตาล 1 ลิตร

วิธีทำ
1.นำน้ำEm 1 ลืตรใส่ในถังน้ำที่เตรียมไว้
2.ใส่กากน้ำตาล 1 ลิตร ผสมลงไปในถังน้ำคนให้เข้ากันปิดฝาให้สนิด
3.หมักทิ้งไว้ 4- 5 วันนับจากวันเริ่มหมัก
4.เมื่อหมักครบตามเวลาที่กำหนดก็จะได้EMขยายรุ่นลูก ใช้ขยายเป็นรุ่น หลาน และเหลนได้อืกโดยใชวิธีหมักตามที่กล่าวมา

หมายเหตุ อัตราส่วนEM กากน้ำตาล 1 : 1 และน้ำ 10

เกษตรกรรม ,

EM จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ

EM จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ

EM กลุ่มจุลลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพและให้ประโยชน์ในทางเกษตรกรรม โดยกลุ่มจุลินทรีย์ที่ได้รับคัด และเลือกสรรเป็นอย่างดีจากธรรมชาติที่มัประโยชน์ต่อพืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อมมารวมกัน

EM คืออะไร
EM ย่อมาจาก Effective Microorganisms หมายถึง กลุ่ม จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ
ซึ่ง ศ.ดร.เทรูโอะ ฮิงะ นักวิทยาศาตร์ผู้เชี่ยวชาญสาขาพืชสวน มหาวิทยาลัยริวกิว เมืองโอกินาวา
ประเทศญี่ปุ่น ได้ศึกษาแนวคิดเรื่อง "ดินมีชีวิต" ของท่านโมกิจิ โอกะดะ (พ.ศ.2425-2498)
บิดาแห่งเกษตรธรรมชาติของโลก จากนั้น ดร.ฮิงะ เริ่มค้นคว้าทดลองตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 และค้นพบ
EM เมื่อปี พ.ศ. 2526 ท่านอุทิศทุ่มเทการทำวิจัยพบว่ากลุ่มจุลินทรีย์นี้ใช้ได้ผลจริง หลังจากนั้น
ศาสตราจารย์ วาคุกามิ ได้นำมาเผยแพร่ในประเทศไทย โดยท่านประธาน มูลนิธิบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์
ด้วยกิจกรรมทางศาสนา หรือ (คิวเซ แปลว่า ช่วยเหลือโลก) ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี

จากการค้นคว้าพบความจริงเกี่ยวกับจุลินทรีย์ว่ามี 3 กลุ่ม คือ

1.กลุ่มสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นโรคทำให้เกิดโรคมีประมาณ 10 %
2. กลุ่มทำลาย เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นโทษ ทำให้เกิดโรคมี ประมาณ 10%
3.กลุ่มกลางมีประมาณ 80 % จุลินทรีย์กลุ่มนี้หากกลุ่มใดมีจำนวนมากกว่า กลุ่มนี้จะสนับสนุนหรือร่วมด้วย

ดังนั้น การเพิ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพลงในดินก็เพื่อให้กลุ่มสร้างสรรค์มีจำนวน มากกว่า ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้จะช่วยปรับปรุงโคลงสร้างของดินให้กลับมีพลังขึ้นมาอีก หลังจากที่ถูกทำลาย
สารเคมีจนตายไป จุลินทรีย์มี 2 ประเภท

1. ประเภทต้องการอากาศ (Aerobic Bacteria)
2. ประเภทไม่ต้องการอากาศ (Anaerobic Bacteria)

จุลินทรีย์ทั้ง 2 กลุ่มนี้ ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และสามารถอยู่ร่วมกัยได้ จากการค้นคว้าดังกล่าวได้มีการนำเอาจุลินทรีย์ที่ได้รับการคัดและเลือกสรรอย่างดีจากธรรมชาติที่มีประโยชน์
ต่อพืชสัตว์ และสิ่งแวดล้อม มารวมกัน 5 กลุ่ม (Famillies) 10 จีนัส (Genues) 80 ชนิด (Spicies) ได้แก่

กลุ่มที่ 1
เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกเชื้อราที่มีเส้นใย (Filamentous fungi) ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งการย่อยสลาย สามารถทำงานได้ดีในสภาพที่มีออกซิเจนมีคุณสมบัติต้านมานความร้อนได้ดี ปกติใช้เป็นหัวเชื้อผลิตเหล้า ผลิตปุ๋ยหมัก ฯลฯ

กลุ่มที่ 2
เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสังเคราะห์แสง (Photosynthetic microorganisms) ทำหน้าที่สงเคราะห์
สารอินทรีย์ให้แก่ดิน เช่น ไนโตรเจน กรดอะมิโน (Amino acids) น้ำตาล (Sugar) วิตามิน (Vitamins)
ฮอร์โมน (Hormones) และอื่นๆ เพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้แก่ดิน

กลุ่มที่ 3
เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมัก (Zynogumic หรือ Fermented Microorganisms)
ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นให้ต้านทานโรค (DiseasesResistant) เข้าสู่วงจรการย่อยสลายได้ดี
ช่วยลดการพังทลายของดินป้องกัน โรคและแมลงศัตรูพืชบางชนิดของพืชและสัตว์ สามารถบำบัดมลพิษในน้ำเสีย
ที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษต่างๆ ได้

กลุ่มที่ 4
เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกตรึงไนโตรเจน (Nitrogen fixing microorganisms) มีทั้งพวกที่เป็นสาหร่าย (Algae)
และพวกแบคทรีเรีย (Bacteria) ทำหน้าที่ตรึงก๊าซไนโตรเจนจากอากาศ เพื่อให้ดินผลิตสารที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโต
เช่น โปรตีน (Protein) กรดอินทรีย์ (Organic acids) กรดไขมัน (Fatty acids) แป้ง (Starch หรือ Carbohydrates)
ฮอร์โมน (Hormones) วิตามิน (Vitamins)ฯลฯ

กลุ่มที่ 5
เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสร้างกรดแลคติก (Lactic acids) มีประสิทธิภาพในการต่อต้านเชื้อราและแบคทรีเรียที่เป็นโทษ ส่วนใหญ่เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศหายใจ ทำหน้าที่เปลี่ยนสภาพดินเน่าเปลื่อยและดินก่อโรค ให้เป็นดินที่ต้านทานโรค ช่วยลดจำนวนจุลินทรีย์ ที่เป็นสาเหตุของโรคพืชที่มีจำนวนนับแสนหรือทำให้หมดไป นอกจากนี้ยังช่วยย่อยสลายเปลือกเมล็ดพืช
ช่วยให้เมล็ดงอกงาม และแข็งแรงกว่าปกติอีกด้วย

ลักษณะทั่วไปของ EM
EM เป็นจุลินทรีย์กลุ่มสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มที่มีประโยชน์หรือเรียกว่ากลุ่มธรรมะ ดังนั้นจะใช้
EM ต้องคำนึงถึงอยู่เสมอว่า EM เป็นสิ่งที่มีชีวิต และมีลักษณะดังนี้

1. ต้องการที่อยู่เหมาะสม ไม่ร้อนเกินไป หรือเย็นเกินไปอยู่ในอุณภูมิปกติ
2. ต้องการอาหารจากธรรมชาติ เช่น น้ำตาล รำข้าว โปรตีน และสารประกอบอื่น ๆ ที่ไม่เป็นอัตรายต่อสิ่งมีชีวิต
3. เป็นจุลินทรีย์จากธรรมชาติ ไม่สามารถใช้ร่วมกับสารเคมี และยาฆ่าเชื้อต่างๆ ได้
4. เป็นต้นเอื้อประโยชน์แก่พืช สัตว์ และสิ่งมีชีวิตทั้งมวล
5. EM จะทำงานในที่มืดได้ดี ดังนั้นควรใช้ช่วงเย็นของวันเป็นตัวทำลาย ความสกปรกทั้งหลาย

การดูแลรักษา
1. หัวเชื้อ EM สามารถเก็บได้นานประมาณ 1 ปี โดยปิดฝาให้สนิท
2. อย่าทิ้ง EM ไว้กลางแดด และอย่าเก็บไว้นตู้เย็นเก็บรัษาไว้ในอุณภูมิปกติ
3. ทุกครั้งที่แบงไปใช้ต้องรีบปิดฝาให้สนิท เพื่อไม่ให้เชื้อโรคหรือจุลินทรีย์ในอากาศที่เป็นโทษเข้าไปปะปน
4. การนำ EM ไปขยายต่อ ควรใช้ภาชนะที่สะอาดและใช้ให้หมดในระยะเวลาที่เหมาะสม

ข้อสังเกตพิเศษ
1. หาก EM เปลี่ยนเป็นสีดำ มีกลิ่นเหม็นเน่า ถือว่า EM ตายไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อีกให้นำ
EM ที่เสียผสมน้ำรดกำจัดหญ้าและวัชพืชที่ไม่ต้องการได้
2. กรณีเก็บไว้นานๆ จะมีฝ้าขาวเหนือผิวน้ำ แสดงว่า EM พักตัว เมื่อเข่ยาภาชนะฝ้าขาวจะสลายตัว
กลับไปอยู่ในน้ำเหมือนเดิมนำไปใช้ได้
3. เมื่อนำไปขยายเชื้อในน้ำกากน้ำตาล จะมีกลิ่นหอม และเป็นฟองขาวๆ ภายใน 2-3 วัน ถ้าไม่มีฟองน้ำนิ่งสนิท
แสดงว่า การหมักขยายเชื้อยังไม่ได้ผล

จุลินทรีย์ EM มีประโยชน์อย่างไร

จะเห็นได้ว่าจุลินทรีย์ EM มีประโยชน์มาก โดยเฉพาะในด้านการผลิตอาหารที่ปลอดจากสารเคมี
จุลินทรีย์จะมีบทบาทที่ช่วยจทดแทน การใช้สารเคมีได้มาก
การใช้จุลินทรีย์สด หรือ EM สด หมาบถึง การใช้จุลินทรีย์ (EM) จากโรงงานผลิต ผู้จำหน่ายที่ยังไม่ได้แปลสภาพ

วิธีใช้และประโยชน์ของ EM สด
1. ใช้กับพืช (ปุ๋ยน้ำ)
- ผสมน้ำในอัตรา 1 : 1000 (EM 1 ช้อนโต๊ะ กากน้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 10
ลิตร) ใช้ฉีดพ่น รด ราด พืชต่างๆ ให้ทั่วพื้นดิน ลำต้น กิ่ง ใบ และนอกทรงพุ่ม
- พืช ผัก ฉีดพ่น รด ราด ทุก 3 วัน
- ไม้ดอกไม้ประดับเดือนละ1ครั้งการใช้จุลินทรีย์สดในดินควรมีอินทรียวัตถุปกคลุมด้วยเช่นฟางแห้งใบไม้แห้ง
เป็นต้นเพื่อรักษาความชื้นและเป็นอาหารของจุลินทรีย์ต่อไป
2. ใช้ในการทำ EM ขยายปุ๋ยแห้ง
3. ใช้กับสัตว์ (ไม่ต้องผสมกากน้ำตาล)
- ผสม EM 1 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 200 ลิตรให้สัตว์กินทำให้แข็งแรง
- ผสม EM 1 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 10 ลิตรใช้พ่นคอกให้สะอาดกำจัดกลิ่น
- หากสัตว์เป็นโรคทางเดินอาหารให้กิน EM สด 1 ช้อนโต๊ะผสมกับอาหารให้ สัตว์กินฯลฯ
4. ใช้กับสิ่งแวดล้อม
- ใส่ห้องน้ำห้องส้อมและในโถส้อมทุกวัน วันละ 1 ช้อนโต๊ะ (หรือสัปดาห์1/2แก้ว) ช่วยให้เกิดการย่อยสลายไม่มีกากทำให้ส้อมไม่เต็ม
- ใช้กำจัดกลิ่นด้วยการผสมน้ำและกากน้ำตาลในอัตราส่วน1:1 1000(EM1ช้อนโต๊ะ:น้ำ1ลิตร)ฉีดพ่นทุก3วัน
- บำบัดน้ำเสีย 1:100หรือEM2ช้อนโต๊ะ:น้ำ200ลิตร
- ใช้กำจัดเศษอาหารหรือทำปุ๋ยน้ำจากเศษอาหาร
- แก้ไขท่ออุดตันEM1ช้อนโต๊ะใส่5-7วัน/ครั้ง
- ฉีดพ่นปรับอากาศในครัวเรือน
- กำจัดกลิ่นในแหล่งน้ำใช้ฉีดพ่น หรือ ราดลงไปในแหล่งน้ำ 1 ลิตร : 10 ลบ.ม. กลิ่นจากของแห้ง แข็ง มีความชื้นต่ำแล้วแต่สภาพความแห้ง หรือความเหม็น โดยผสมน้ำ 1 : 100 หรือ 200 หรือ 500 ส่วนขยะแห้งประเภทกระดาษใบตอง เศษอาหาร ใช้ฉีดพ่น อัตรา EM ขยาย 1ส่วยผสมน้ำ 500 ส่วน หรือ EM ขยาย 1 ลิตร : น้ำ 500 ลิตร

วีธีใช้และประโยชน์ EM ขยาย
1.ใช้กับพืชเหมือน EM สด
2.ใช้กับสัตว์
-ผสมน้ำ 1 : 100 ฉีดพ่นคอก กำจัดแมลงรบกวน
-ผสมน้ำ 1 : 1000 ล้างคอก กำจัดกลิ่น
-ผสมน้ำในอัตรา 1 : 500 หรือ 2 ช้อนโต๊ะ น้ำ 10 ลิตร เพื่อหมักหญ้าแห้ง ฟางแห้งเป็นอาหารสัตว์
3.ใช้ทำปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยแห้ง เหมือนใช้ EM สด
4.ใช้กับสิ่งแวดล้อม เหมือนใช้ EM สด

ประโยชน์ของปุ๋ยแห้ง
1.ใช้กับพืช
- รองก้นหลุม ร่วมกับอินทรียวัตถุ เช่น ฟางแห้ง ใบไม้แห้ง
- คลุมดิน คือโรยผิวดินบนแปลงผัก หรือใต้ทรงพุ่มของต้นไม้
- ใช้ในนา ไร่ ร่วมกับ EM ขยาย ใส่ถุงแช่น้ำในอัตรา 1 กก. :น้ำ 200 ลิตร หมักไว้ 12-24 ชั่วโมง นำไปรดพืชผัก
2.ใช้กับการประมง
- เพื่อสร้างอาหารในน้ำก่อนปล่อยสัตว์ลงในน้ำ
- เพื่อบำบัดน้ำเสียในบ่อเลี้ยง
- ผสมอาหารสัตว์
3.ใช้กับปศุสัตว์
- ผสมอาหารให้สัตว์กิน
4.ใช้กับสิ่งแวดล้อม
- เพื่อบำบัดกลิ่นร่วมกับ EM ขยาย
- เพื่อบำบัดน้ำเสียร่วมกับ EM ขยาย
- ใช้ในการหมักเศษอาหาร ทำปุ๋ยน้ำ
- ใช้ในขยะเปียกอื่น ๆ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ต่อไป
ปัจจุบัน EM ได้รับความนิยมขยายไปทั่วโลก เนื่องจากเป็นจุลินทรีย์ที่ไม่มีพิษภัย มีแต่ประโยชน์ถ้าสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง และมุ่งเน้นการไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมทำให้การขยายการใช้ EM ไปสู่เกษตรกรและองค์กรทั่วโลกกว่า 30 ประเทศ อาทิ Internationnal Nature Farming Reserch Center Movement (INFRC) JAPAN, EM Research Organization (EMRO) JAPAN, International Federation of Agriculture Moverment (IFOAM) GERMANY เป็นต้น และ California Certified Organics Farmers ประเทศสหรับอเมริกา ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเกษตรธรรมชาติ ได้ให้คำรับรองเมื่อ ค.ศ. 1993 ว่า เป็นวัสดุประเภทจุลินทรีย์ (Microbial Innoculant) ที่ปลอดภัยและได้ผลจริง 100%


ปุ๋ยชีวภาพ

ปุ๋ยชีวภาพ

E.M. (อี.เอ็ม.) คืออะไร

E.M. ย่อมาจากคำว่า Effective Micro-organisms หมายถึง กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพคิดค้นพบโดย ศาสตราจารย์ ดร.เทรโอะ

ฮิงะ (TEROU HIGA) แห่งมหาวิทยาลัยริวกิว เมืองโอกินาว่า ประเทศญี่ปุ่น โดยใช้เทคนิคทางชีวภาพ รวบรวมเฉพาะกลุ่มจุลินทรีย์ หมวดสร้าง

สรรค์ ที่มีอยู่ในธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ช่วยปรับปรุงสภาพความสมดุลของสิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นจุลินทรีย์หมวดสร้างสรรค์ที่มีใน EM

ได้แก่ กลุ่มจุลินทรีย์แสง แลกโตบาซิรัส เพนนิซีเลี่ยม ไตรโคเดอมา ฟูเซเลียม สเตปโตไมซิส อโซเบคเตอ ไรโซเบียม ยีสต์รา รูปเส้นใย ฯลฯ

จุลินทรีย์ใน EM ส่วนใหญ่เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศ และมีพลัง“แอนติออกซิเดชั่น” ซึ่งเป็นพลังสร้างสรรค์ของชีวิต ป้องกันมิให้

มีการทำลายชีวภาพที่สำคัญของเซลล์ได้ป้องกันฤทธิ์ของสารพิษได้หลายชนิด รักษาสภาพธรรมชาติของเซลล์ ได้มิให้เสื่อมสภาพรักษาสุข

ภาพของคนและสัตว์ มิให้เป็นโรคหรือเจ็บป่วยได้ง่าย

ลักษณะโดยทั่วไปของ EM

เป็นของเหลวสีน้ำตาลกลิ่นหอมอมเปรี้ยวอมหวาน(เกิดจากการทำงานของกลุ่มจุลินทรีย์ต่าง ๆ ใน E.M.)เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีชีวิต

ไม่ สามารถใช้ร่วมกับสารเคมีหรือยาปฏิชีวนะและยาฆ่าเชื้อต่างๆ ได้ ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต เช่น คน สัตว์ พืชและแมลงที่เป็นประโยชน์

ช่วย ปรับสภาพความสมดุลของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ ที่ทุกคนสามารถนำไปเพาะขยายเพื่อช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆได้ด้วยตนเอง

ลักษณะการผลิต

เพาะขยายจากจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์มากกว่า 80 ชนิด จากกลุ่มจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

- กลุ่มจุลินทรีย์ผลิตกรดแลคติค

- กลุ่มจุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจน

- กลุ่มจุลินทรีย์เอคทีโนมัยซีทส์

- กลุ่มจุลินทรีย์ยีสต์

ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ได้จากธรรมชาตินำมาเพาะเลี้ยงและขยายให้จุลินทรีย์ขยายตัวด้วยปริมาณที่สมดุลกันด้วยเทคโนโลยีพิเศษ

โดยใช้อาหารจากธรรมชาติ เช่น โปรตีน รำข้าว และสารประกอบอื่น ๆ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต

ประโยชน์ของจุลินทรีย์โดยทั่วไป

  • ด้านการเกษตร

- ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างในดินและน้ำ

- ช่วยแก้ปัญหาจากแมลงศัตรูพืชและโรคระบาดต่างๆ

- ช่วยปรับสภาพดินให้ร่วนซุย อุ้มน้ำและอากาศผ่านได้ดี

- ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ เพื่อให้เป็นปุ่ญ (อาหาร)แก่อาหารพืชดูดซึมไปเป็นอาหารได้ดีไม่ต้องใช้พลังงานมากเหมือนการให้ ปุ๋ยวิทยาศาสตร์

- ช่วยสร้างฮอร์โมนพืช พืชให้ผลผลิตสูงและคุณภาพดีขึ้น

- ช่วยให้ผลผลิตคงทน สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน มีประโยชน์ต่อการขนส่งไกล ๆ เช่น ส่งออกต่างประเทศ

- ช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นจากฟาร์มปศุสัตว์ ไก่และสุกร ได้ภายในเวลา 24 ชม.

- ช่วยกำจัดน้ำเสียจากฟาร์มได้ภายใน 1 – 2 สัปดาห์

- ช่วยกำจัดแมลงวัน โดยการตัดวงจรชีวิตของหนอนแมลงวันไม่ให้เข้าดักแด้เกิดเป็นตัวแมลงวัน

- ช่วยป้องกันอหิวาห์และโรคระบาดต่าง ๆ ในสัตว์แทนยาปฏิชีวนะและอื่น ๆ ได้

- ช่วยเสริมสุขภาพสัตว์เลี้ยง ทำให้สัตว์แข็งแรงมีความต้านทานโรคสูง ให้ผลผลิตสูงอัตราการตายต่ำ

  • ด้านการประมง

- ช่วยควบคุมคุณภาพในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำได้

- ช่วยแก้ปัญหาโรคพยาธิในน้ำเป็นอันตรายต่อกุ้ง ปลา กบ หรือสัตว์น้ำที่เลี้ยงได้

- ช่วยรักษาโรคแผลต่าง ๆ ในปลา กบ จระเข้ ฯลฯ ได้

- ช่วยลดปริมาณขี้เลนในบ่อ และทำให้เลนไม่เน่าเหม็น สามารถนำไปผสมปุ๋ยหมักใช้พืชต่างๆ ได้อย่างดี

  • ด้านสิ่งแวดล้อม

- ช่วยปรับสภาพเศษอาหารจากครัวเรือน ให้กลายเป็นปุ๋ยที่มีประโยชน์ต่อพืชผักได้

- ช่วยปรับสภาพน้ำเสียจากอาคารบ้านเรือน โรงงาน โรงแรมหรือแหล่งน้ำเสีย

- ช่วยดับกลิ่นเหม็นจากกองขยะที่หมักหมมมานานได้

การเก็บรักษาจุลินทรีย์

สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน อย่างน้อย 6 เดือน ในอุณหภูมิห้องปกติไม่เกิน 46 – 50 C ต้องปิดฝาให้สนิท อย่าให้อากาศเข้าและอย่าเก็บ

ไว้ในตู้เย็นทุกครั้งที่แบ่งไปใช้ต้องรีบปิดฝาให้สนิท การนำ E.M. ไปขยายต่อควรใช้ภาชนะที่สะอาดและใช้ให้หมดภายในเวลาที่เหมาะสม

ข้อสังเกต

หากนำไปส่องด้วยกล้องจุลทัศน์ที่มีกำลังขยายสูงไม่ต่ำกว่า 700เท่า จะเห็น จุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ อยู่มากมาย E.M. ปกติจะมีกลิ่น

หอมอมเปรี้ยวอมหวาน ถ้าเสียแล้วจะมีกลิ่นเน่าเหมือนกลิ่นจากท่อน้ำทิ้งเก่า ๆ (E.M. ที่เสียใช้ผสมน้ำรดกำจัดวัชพืชได้)กรณีที่เก็บไว้นาน ๆ

โดยไม่มีเคลื่อนไหวภาชนะ จะมีฝ้าขาวๆ เหนือผิวน้ำ E.M.นั่นคือการทำงานของ E.M.ที่ผักตัวเมื่อเขย่าแล้วทิ้งไว้ชั่วขณะ ฝ้าสีขาวจะสลายตัว

กลับไปใน E.M. เหมือนเดิม

การประยุกต์ใช้จุลินทรีย์ การงานต่าง ๆ ดังนี้

งานด้านเกษตร

E.M.ผสมน้ำ 1 : 1,000 – 2,000 ฉีดพ่นรดราดต้นไม้ สัปดาห์ละ 1 – 2 ครั้ง

การขยายจุลินทรีย์

เมื่อต้องการใช้จุลินทรีย์ในงานเกษตรที่มีเนื้อที่มาก ๆควรใช้จุลินทรีย์ที่ได้ขยายปริมาณให้มากขึ้น เพื่อเป็นการประหยัดต้นทุน

โดยให้อาหารแก่จุลินทรีย์ ได้แก่ กากน้ำตาล น้ำอ้อย น้ำตาลทรายแดง นมแดง นมข้นหวาน หรือน้ำซาวข้าว เป็นต้น การขยายจุลินทรีย์

ให้กับพืช

วัสด

จุลินทรีย์ กากน้ำตาล อย่างละ 1 ลิตร/น้ำ 1,000 ลิตร

วิธีทำ

- ผสมกากน้ำตาลกับน้ำที่สะอาด คนให้ทั่วจนกากน้ำตาลละลายหมด

- น้ำ E.M. ผสมในน้ำคนจนเข้ากันทั่ว ปิดฝาให้สนิททิ้งไว้ 1 – 3 วัน ภาชนะที่ใช้ต้องสะอาดจะใช้ถังพลาสติกหรือตุ่ม

วิธีใช้

เมื่อหมักไว้ตามกำหนดที่ต้องการแล้ว นำ E.M. ที่ขยายไปผสมกับน้ำละลายอีกในอัตรา EM1/น้ำ 2,000 ลิตร ฉีดพ่นรดต้นไม้

พืชผัก ไม้ผล ไม้ดอกไม้ประดับทุกชนิด ทุกวันหรือวันเว้นวันหรือสัปดาห์ละ 2 – 3 ครั้ง ใช้หญ้าแห้วหรือใบไม้แห้งหรือฟางคลุมดิน

บริเวณโคนต้นไม้ เพื่อรักษาความชื้นและ EM ย่อยสลายเป็นอาหารของพืช และเพื่อปรับสภาพของดินให้ดีขึ้นด้วย

ข้อสังเกต

1. เมื่อนำไปขยายเชื้อในน้ำและกากน้ำตาลจะมีกลิ่นหอมและเป็นฟองขาว ๆ ภายใน 2 – 3 วันถ้าไม่มีฟองดังกล่าวแสดงว่า

การหมักขยายเชื้อยังไม่ได้ผล

2. EM ที่นำไปขยายเชื้อแล้วควรใช้ให้หมดภายใน 3 วันหลังจากหมักได้ที่แล้ว ทั้งนี้เพื่อป้องกันการเสื่อมคุณภาพ

ที่อาจเกิดจากความไม่สะอาดของน้ำ ภาชนะ และสิ่งแปลกปลอมจากอากาศเฉพาะเชื้อ EM ส่วนใหญ่ไม่ต้องการอากาศ

การใช้จุลินทรีย์กับงานปศุสัตว์

การขยาย EM กากน้ำตาลอย่างละ 1 ลิตร/น้ำ 100 ลิตร

วิธีทำ

เหมือนกับของขยายที่ใช้งานพืช

วิธีใช้

นำ EM ที่ขยายแล้วไปผสมกับน้ำอีกในอัตรา 1/5,000 – 10,000ใช้ล้างคอกและบำบัดน้ำเสียในฟาร์มหรือให้สัตว์กิน หรือจะใช้ EM

ที่ขยายแล้ว โดยไม่ต้องผสมน้ำไปฉีด เพื่อบำบัดน้ำเสียบำบัดกลิ่นเหม็นในฟาร์มและจุดที่มีกลิ่นเหม็นในที่ต่าง ๆอัตราความเข้มข้นของ

EM ขยายที่ไปใช้ จะมากน้อยตามความต้องการของลักษณะการใช้ในแต่ละพื้นที่เป็นสำคัญ

การใช้ E.M. 5 ร่วมกับสมุนไพร

การใช้เชื้อหมักขับไล่แมลงร่วมกับพืชสมุนไพรต่าง ๆ เช่นสะเดา ข่า ตะไคร้หอม ยาสูบ ดีปลี พริกขี้หนู ฯลฯ จะทำให้มีประสิทธิภาพ

ในการขับไล่แมลงศัตรูพืช ได้ผลอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น

วิธีทำ

นำพืชสมุนไพร มาผึ่งลมหรืออบให้แห้งแล้วนำมาสับหรือใช้เครื่องบด ให้ละเอียด ใช้ผงสมุนไพร 2 – 5 ช้อนแกงใส่ในน้ำสะอาด

20 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 1 คืน ใช้ผ้าหรือตะแกรงอย่างละเอียด กรองผงสมุนไพรออกเหลือแต่น้ำสมุนไพรส่วนกากาหรือตะกอนสมุนไพร นำ

ไปผสมน้ำใส่บัวรดแปลงพืชผัก หรือบริเวณทรงพุ่มต้นพืชได้

วิธีใช้

นำน้ำสมุนไพร 2 – 5 ช้อนแกงแล้วฉีดพ่นพืชผักและต้นไม้ผลได้

หมายเหตุ

สำหรับพืชที่กำลังแตกใบอ่อน ควรใช้อัตราส่วนผสม E.M. 5เจือจาง ว่านหางจระเข้เป็นพืชสมุนไพรที่ใช้แทนสารจับใบได้เป็นอย่างดี

โดยปลอกเปลือกเอาแต่ส่วนที่เป็นวุ้นทำการบดหรือปั่น แล้วนำผสมกับ E.M.5 และน้ำ อัตราส่วน 1 : 1 : 50 หรือ 1 : 2 : 50

เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการขับไล่แมลงได้เต็มที่ ควรใช้ E.M.5 และ สมุนไพรที่ผสมน้ำแล้วให้หมดภายใน 12 ชม.

การใช้ E.M.5 กับงานเลี้ยงสัตว์

นำไปใช้ป้องกันหรือกำจัดไร เห็บ หมัด หรือแมลงที่มารบกวนสัตว์เลี้ยงดังนี้ฉีดพ่นบริเวณคอกสัตว์ (โรงเรือนโค คอกหมู เล้าไก่)

ให้ทั่วสัปดาห์ละ 1 – 2 ครั้ง หลังอาบน้ำให้สัตว์เลี้ยง (วัว ควาย สุนัข) ทุกครั้ง ควรใช้ E.M.5 ผสมน้ำ ลูบตัวสัตว์เลี้ยงให้ทั่ว

การทำปุ๋ยหมักดิน

วัสดุและส่วนประกอบ

1. ดินแห้งทุบละเอียดแล้ว 5 ส่วน

2. รำละเอียด 2 ส่วน

3. แกลบเผา 2 ส่วน

4. มูลสัตว์ (ชนิดใดก็ได้) 2 ส่วน

5. อื่น ๆ

6. E.M.กากน้ำตาล อย่างละ 10 – 20 ซี.ซี

7. น้ำ 10 ลิตร

วิธีทำ

1.ผสมดิน แกลบ มูลสัตว์และอื่น ๆ คลุกจนเข้ากัน

2.นำรำละเอียดลงผสมคลุกเคล้าลงไป

3.ผสม E.M.กากน้ำตาล และน้ำ รดบนกองปุ๋ยหมัก ดินให้ได้ตามความชื้นพอดี 50%

4.นำส่วนผสมทั้งหมดกองบนพื้นซีเมนต์ หรือพื้นธรรมดาทั่วไป หนาประมาณ 10 ซ.ม. คลุมทับด้วยกระสอบป่าน

5.ถ้าคอยกลับบ้างจะใช้เวลาหมัก 3 – 4 วัน

ข้อสังเกต

หลังจากหมักไว้ 1 คืน จะมีราขาว ๆเกิดขึ้นเป็นเชื้อราที่ประโยชน์ เกิดจาก สปอร์ของจุลินทรีย์ ปุ๋ยหมักดินที่ใช้ได้จะไม่ร้อน

ไม่มีกลิ่นเหม็น แต่จะมีราขาวขึ้นเต็ม

วิธีใช้

ใช้รองก้นหลุมเพื่อปลูกพืชผัก หรือผลไม้ ไม้ยืนต้นไม้ดอกไม้ประดับทุกชนิด ใช้ได้ผลดีสำหรับดินที่ใช้เพาะต้นกล้าและเพาะ

ชำกล้าไม้ จะได้กล้าไม้ที่แข็งแรงสมบูรณ์ โดยมีส่วนผสมสำหรับเพาะกล้า ดังนี้

- ปุ๋ยหมักดิน 1 ส่วน

- ดินร่วนธรรมดา 1 ส่วน

- แกลบเผา 1 ส่วน

- ขุยมะพร้าว 1 ส่วน

นำส่วนผสมทั้งหมดคลุกเคล้าจนเข้ากันดีก่อนนำไปใช้

การทำปุ๋ยคอกหมัก

ปุ๋ยคอก ได้แก่ มูลสัตว์ เช่น วัว ควาย หมู ไก่ ฯลฯ ถ้านำไปใช้โดยตรงจะเกิดโรค และแมลงต่อพืชก่อนนำไปใช้ควรนำไปหมัก

ด้วยจุลินทรีย์ปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม. ก่อน

วัสดุและส่วนผสม

1.ปุ๋ยคอก 1 ส่วน

2.แกลบเผา 1 ส่วน

3.รำละเอียด 1 ส่วน

4.อื่น ๆ

5.จุลินทรีย์ กากน้ำตาล อย่างละ 10 – 20 ซีซี

6.น้ำ 10 ลิตร

วิธีทำ

1.ผสมปุ๋ยคอก แกลบเผา รำละเอียด อื่น ๆ เข้าด้วยกัน

2.รดน้ำจุลินทรีย์ คลุกเคล้าให้เข้ากันดีจนได้ความชื้นพอเหมาะไม่เกิน 50%

3.นำไปกองเกลี่ยบนพื้นซีเมนต์ หนาไม่เกิน 15 ซ.ม.

4.ปุ๋ยคอกหมักที่มีคุณภาพดี จะไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่มีก๊าซแอมโมเนีย ไม่ร้อน แต่จะมีราขาว ๆ ขึ้นจำนวนมาก

วิธีใช้

ใช้ได้ดีกับพืชผักทุกชนิด เช่นเดียวกับปุ๋ยคอกทั่วไป

การทำปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ จากเศษอาหาร

ทุกครัวเรือน ร้านอาหาร ภัตตาคาร ฯลฯ ล้วนมีเศษอาหารที่เป็นผักผลไม้ และเศษอาหารอื่น ๆ จำนวนมากน้อยแล้วแต่สถานที่

สามารถนำไปหมักเป็นปุ๋ยหมักชั้นเลิศ เพื่อใส่พืชผักและผลไม้ที่ปลูกไว้ได้

อุปกรณ์

- ถ้าพลาสติกมีฝาปิดขนาด 20 – 200 ลิตร แล้วแต่ปริมาณเศษอาหารที่จะได้หรือต้องการ เจาะรูติดก๊อกน้ำบริเวณก้นถัง

เพื่อไว้ระบายน้ำปุ๋ยหมัก ใช้ก๊อกให้มีขนาดโตพอสมควร เพื่อป้องกันการอุดตัน

- ถุงขยะพลาสติกสีดำ เจาะรูเล็ก ๆ 2 – 3 รูเพื่อให้น้ำปุ๋ยหมักผ่านทะลุได้หรือจะใช้ตาข่ายไนล่อนตาถี่เย็บเป็นถุงก็ ได้

หรือจะใช้กระสอบปุ๋ยน้ำซึมผ่านได้ก็ใช้ได้

- นำเอาถุงใส่ปุ๋ยที่เตรียมไว้ ใส่ลงในถังหมักปุ๋ยที่มีวัสดุรองก้นถัง ให้สูงจากระดับก๊อกน้ำเล็กน้อย

- ใช้กากน้ำตาล 20 – 40 ซีซี ใส่คลุกกับเศษอาหาร 1 ก.ก.และใส่จุลินทรีย์ 10 – 20 ซีซี คลุกอีกครั้ง ใส่ลงในถุงใส่ปุ๋ย

ทุกวันจนเต็มถุง

- ปิดฝาถังหมักไว้ตลอดเวลา หมักไว้อย่างน้อย 7 วัน ก็จะมีน้ำปุ๋ยหมักซึมออกมา อยู่ที่ก้นถังหมัก

- ไขก๊อกเอาน้ำปุ๋ยหมักที่ได้ไปผสมน้ำในอัตรา 1 : 500 – 1,000 รดพืชและต้นไม้ทุก ๆ วัน

- ผสมน้ำปุ๋ยหมักกับอัตราส่วน 1 : 20 – 50 หรือไม่ผสมก็ได้ราดพื้นห้องส้วมชักโครกหรือจุดที่มีกลิ่นเหม็นบริเวณบ้าน

หรือราดในท่อน้ำทิ้งเพื่อดับกลิ่นก็ได้ผลดี

- กากอาหารที่เหลือก็สามารถไปคลุมกับดินเป็นปุ๋ยต้นไม้ได้ดี

ข้อสังเกต

ถ้าหมักได้ที่จะไม่มีแมลงวันหรือมีกลิ่นเหม็นแต่กลิ่นจะหอมอมเปรี้ยว ถ้ามีกลิ่นเหม็นและมีกลิ่นก๊าซแอมโมเนีย แสดงว่า

หมักไม่ได้ผล ระหว่างหมักอาจจะมีหนอนแมลงวันเกิด แต่มันไม่กลายเป็นแมลงวัน จะเป็นหนอนตัวโตกว่าปกติ มีอายุอยู่นานได้

หลาย ๆ วัน แล้วจะตายไปเอง

เชื้อหมัก อี.เอ็ม. 5 (สารขับไล่แมลง)

เป็นส่วนผสมของเหล้า น้ำส้มสายชู จุลินทรีย์ กากน้ำตาลและน้ำที่หมักไว้เพื่อใช้ป้องกันและขับไล่แมลงศัตรูพืชต่าง ๆ พร้อมทั้งช่วย

กำจัดโรคพืชต่าง ๆ ด้วย

อัตราส่วน

จุลินทรีย์ กากน้ำตาล น้ำสัมสายชูกลั่น 5% เหล้าขาว อย่างละ 1 ลิตร น้ำ 8 ลิตร

วิธีทำ

1.เอากากน้ำตาลผสมกับน้ำจนละลายดีแล้ว ใส่เหล้าขาวและน้ำสัมสายชูชนิด 5%

2.เอาจุลินทรีย์ใส่คนจนเข้ากันดี

3. ปิดฝาให้สนิท หมักไว้ 15 วัน ภาชนะที่ใช้หมักนั้นควรใช้ถังพลาสติก

4. ในระหว่างการหมักให้เขย่าทุกวันเช้า-เย็น เพื่อไม่ให้เกิดการนอนก้น แล้วปิดฝาเพื่อระบายก๊าซออก วันละ 2 ครั้ง

5. เมื่อครบกำหนดก็นำไปใช้ได้ สามารถเก็บได้นานถึง 3 เดือน แต่ต้องเปิดฝาระบายก๊าซออกเป็นครั้งคราว

วิธีใช้

เชื้อหมักขับไล่แมลงผสมกับน้ำสะอาด ดังนี้

- EM 5 10 – 15 ซีซี (1 – 5 ช้อนโต๊ะ)

- กากน้ำตาล 10 – 15 ซีซี (1 – 5 ช้อนโต๊ะ) เพื่อเป็นการจับใบ

- น้ำสะอาด 8 ลิตร

นำส่วนผสมไปฉีดพ่นต้นไม้ทุกวันหรืออาทิตย์ละ 1 – 2 ครั้ง ตามความต้องการ ทำการฉีดพ่นให้ชุ่มและทั่วถึงทั้งนอกและใบ

ทรงพุ่มหรือจะใช้เชื้อขับไล่แมลงผสมกับน้ำฉีดเลยก็ได้ โดยไม่ต้องเติดกากน้ำตาลอีก

เชื้อหมักขับไล่แมลง สูตรเข้มข้น

วัสดุและส่วนผสม

1. จุลินทรีย์ กากน้ำตาล น้ำส้มสายชูกลั่น อย่างละ 1 ลิตร

2. เหล้าขาว 28 – 40 ดีกรี อย่างละ 2 ลิตร

วิธีทำ

ละลายกากน้ำตาลกับน้ำส้มสายชูก่อนจึงค่อยเติมเหล้าขาวลงไปคนจนเข้ากัน แล้วเติม EMให้เข้ากันปิดฝาให้สนิทหมักไว้ 24 ชม.

วิธีใช้

ใช้ฉีดพ่นปราบหนอน แมลงศัตรูพืชที่ปราบได้ยาก เช่นหนอนหลอดหอม หนอนชอนใบ ฯลฯ ในปริมาณ 200 –300 ซีซี/น้ำ 200 ลิตร

หรือมากน้อยกว่านี้ตามความเหมาะสม

การทำปุ๋ยหมักฟาง

วัสดุและส่วนผสม

1. ฟางแห้งตัดเป็นท่อนสั้นประมาณ 2 เซนติเมตร 1 ส่วน

2. แกลบดิบ 1 ส่วน

3. รำละเอียด 1 ส่วน

4. กากน้ำตาล 10 – 20 ซีซี (1 – 2 ช้อนโต๊ะ)

5. ปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม. 10 – 20 ซีซี

6. น้ำสะอาด 10 ลิตร

วิธีทำ

1.คลุกฟางและแกลบให้เข้ากันแล้วแบ่งออกเป็ฯ 3 กองเท่า ๆ กัน ผสมกองที่ 1 และ 2 เข้าเป็นกองเดียวกัน

2.ผสม E.M.และกากน้ำตาลกับน้ำ 1 ลิตร ที่เตรียมไว้ใส่ในบัวรดน้ำ

3.นำน้ำผสม E.M. รดลงบนกองฟาง กับแกลบกองใหญ่ให้ชุ่มแล้วคลุกเคล้าให้เข้ากันดี

4.ผสมผางและแกลบกองเล็กที่เหลือเข้าด้วยกันกับกองใหญ่คลุกเคล้าจนเข้ากันดี

5.เอารำละเอียดลงไปผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันจนได้ความชื้นพอดี (50%) โดยการทดลองทำแล้วบีบดู ถ้าน้ำไม่ไหลออกมา

ตามง่ามมือ เมื่อแบมือยังจับกันเป็นก้อนแสดงว่าใช้ได้

6.ถ้าความชื้นสูงเกินไป คือเมื่อกำแล้วจะมีน้ำซึมออกมาตามง่ามนิ้วมือให้เติมวัสดุคือ ฟาง แกลบ และรำในอัตราส่วนเท่ากัน

ผสมลงไปคลุกให้เข้ากันจนความชื้นพอดี

7.เกลี่ยฟางรองพื้นให้เป็นแนวราบและหนาพอสมควร จากนั้นปูด้วยกระสอบป่านบนฟาง

8.ตักปุ๋ยหมักลงเกลี่ยบนกระสอบป่านอย่าให้สูงเกิน 1 ฟุตแล้วคลุมให้มิดด้วยกระสอบป่านหมักไว้ 5 ชั่วโมง เพื่อให้ อี.เอ็ม ทำงาน

9.เมื่อครบ 5 ชั่วโมง ให้เริ่มตรวจวัดความร้อนทุก ๆ ชั่วโมงด้วยการใช้ปรอทเสียบลงในกองปุ๋ยหมัก ทิ้งไว้คอยควบคุม ถ้าอุณหภูมิ

สูงเกิน 45 C หรือร้อนเกิน 45 C ต้องรีบกลับกองปุ๋ยทันทีถ้าความร้อนไม่เกินไม่ต้องกลับ ทิ้งไว้ 2 – 3 วัน ความร้อนจะลดลงเป็นปกติ

ประมาณ 37 C

10.เปิดกระสอบที่ปิดไว้ออก ทิ้งให้โบกาฉิแห้งดีแล้ว จึงนำไปบรรจุกระสอบเก็บไว้ อย่าให้โดยความชื้นจนกว่าจะนำไปใช้

วิธีใช้

ใช้ผสมเตรียมดินสำหรับปลูกพืชทุกชนิด โดยการโรยปุ๋ยโบกาฉิฟาง ประมาณ 2 กำมือ ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร เอาหญ้าบางหรือ

ฟางแห้ง คลุมทับอีกชั้นหนึ่ง แล้วรดด้วยน้ำผสมปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม. 10 –20ซีซี/น้ำ 10 ลิตร ทิ้งไว้ 7 วัน จึงค่อยปลูกผักหรือพืชต่าง ๆ

ได้ในกรณีที่ใช้กับแปลงผักที่ปลูกแล้ว ใช้ปุ๋ยหมักฟางโรยรอบ ๆ ทรงพุ่ม (ระวังอย่าให้โดยใบและโคนต้นผัก) คลุมทับด้วยฟางหรือ

หญ้าแล้วรดด้วยน้ำปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม. อีกครั้ง ใช้เดือนละ 1 – 2 ครั้งก็พอสำหรับไม้ผล และพืชยืนต้นอายุประมาณ 2 ปี ให้ใช้หมักฟาง

โรยรอบทรงพุ่มต้นละ 2 กิโลกรัม/ต่อปี จะใส่ครั้งเดียวหรือแบ่งใส่ก็ได้ จากนั้นใส่ปีละ 1 กิโลกรัม

ข้อสังเกต

ถ้าผสมหมักปุ๋ยให้ได้ความชื้นพอดี หมักไว้ประมาณ 3 วันตามความร้อนของกองปุ๋ยจะเย็นเป็นปกติ แต่ถ้าความชื้นสูงเกินไป

จะเกิดความร้อนสูง ต้องใช้มากกว่า 3 วัน จึงจะเย็นเป็นปกติปุ๋ยหมักที่หมักได้ผลดี จะมีกลิ่นหอมเหมือนเห็ด และจะมีราขาว ๆ ปะปน

แต่ถ้ามีกลิ่นเหม็นเน่า หรือมีกลิ่นก๊าซแอมโมเนียแสดงว่าปุ๋ยหมักใช้ไม่ได้ ปุ๋ยหมักที่หมักแล้วใหม่ ๆจะมีคุณภาพและใช้ได้ผลดี

มากกว่าปุ๋ยหมักที่ทำแล้วเก็บไว้นาน ๆ หากใช้แล้วเหลือควรเก็บไว้ในร่มอย่าให้โดนความชื้นจนกว่าจะนำไปใช้ (ควรเก็บไว้ไม่เกิน 6 เดือน

การทำปุ๋ยหมัก สูตร 24 ชั่วโมง

วัสดุและส่วนผสม

1. หญ้าฟางแห้งตัดท่อน (5 – 10 เซนติเมตร) 10 ส่วน

2. ปุ๋ยหมักฟางหรือมูลสัตว์ 1 ส่วน

3. รำละเอียด 0.5 – 1 ส่วน

4. E.M.และกากน้ำตาลอย่างละ 10 – 20 ส่วน/น้ำ 10 ลิตร

วิธีทำ

1.ผสมปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม. กากน้ำตาล และน้ำใส่ในกาละมังไว้

2.นำหญ้าหรือฟางแห้งที่ตัดไว้เป็นท่อน ๆ ลงจุ่มในน้ำผสม E.M. จนชุ่มแล้วยกขึ้นกองรอไว้

3.ผสมรำละเอียดกับปุ๋ยหมักฟางหรือมูลสัตว์ ให้เข้ากันดีแล้วนำไปคลุกกับหญ้าหรือฟางเปียกที่กองรองไว้จนเข้ากันทั่วดี

4.นำไปกองบนพื้นซีเมนต์ หรือบนผ้าพลาสติกเป็นกองกลมหรือสี่เหลี่ยมก็ได้ อย่าให้หนาเกินไป (1 ฟุต) แล้วคลุมทับด้วย

กระสอบป่านให้มิด หมักไว้ 18 เซนติเมตร คุ้ยกลับ 1 ครั้ง แล้วคลุมด้วยกระสอบหมักต่ออีก 6 ชั่วโมง เมื่อครบ 24 ชั่วโมง

เปิดกระสอบออกเกลี่ยปุ๋ยหมักบาง ๆ ผึ่งไว้จนแห้งจึงนำไปใช้

วิธีใช้

ใช้รองก้นหลุมเพื่อปลูกผัก ไม้ผล ไม้ยืนต้น ไม้ดอก และไม้ประดับทุกชนิด

ใช้ผสมดินเตรียมแปลงปลูกผัก ผสมหญ้าแห้งหรือฟางแห้งคลุมแปลงผักคลุมโคนต้นไม้ ไม้ผลทุกชนิด

ใช้เป็นหัวเชื้อขยายทำเป็นปุ๋ยหมัก 24 ชั่วโมง ต่อได้อีกและปุ๋ยใหม่ที่ได้สามารถนำไปทำต่อไปได้อีกเรื่อย ๆ ดังนี้

- ปุ๋ยหมัก 24 ชั่วโมง 1 ส่วน

- หญ้าหรือฟางแห้ง 10 ส่วน

- รำละเอียด 0.5 ส่วน

- E.M.กากน้ำตาล 10 –20 ซีซี

- น้ำ 10 ลิตร

การทำฮอร์โมนพืชด้วยปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม.

วิธีทำ

วิธีทำและนำไปใช้ก็เช่นเดียวกับปุ๋ยหมัก 24 ชั่วโมงครั้งแรก

วัสดุ

1.กล้วยน้ำว้า, ฟักทองแก่จัด, มะละกอสุก, อื่น ๆ อย่างน้อย 2 กิโลกรัม

2.E.M. 20 ซีซี

3.กากน้ำตาล 40 – 50 ซีซี

4.น้ำ 10 ลิตร

วิธีทำ

สับวัสดุทั้งหมดเปลือกและเมล็ดเข้าด้วยกันจนละเอียดผสมด้วยปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม. และกากน้ำตาล น้ำ คลุกให้เข้ากันดี

บรรจุลงในถุงปุ๋ยหมักไว้ในถังพลาสติกปิดฝาไว้ 18 วัน

วิธีใช้

นำส่วนที่เป็นน้ำฮอร์โมน 20 – 30 ซีซี ผสมกับน้ำสะอาด 5 ลิตร แล้วนำไปใช้ดังนี้

- ใช้ฉีดพ่นต้นไม้ผล ในช่วงระยะก่อนแทงช่อดอก จะทำให้ต้นไม้แทงช่อดอกเพิ่มมากขึ้น

- ใช้ฉีดพ่นหรือรดต้นไม้ผล ช่วงติดดอกจะทำให้ติดผลดี

- ใช้แทนน้ำยาฮอร์โมนเร่งราก เพื่อทำให้รากพืชงอกได้เร็วขึ้นโดยใช้ในเรื่อง

การชำกิ่งโดยนำกิ่งพันธุ์ไม้ที่ต้องการขยายพันธุ์แช่ในน้ำฮอร์โมนที่ผสมน้ำ ในอัตราส่วน1 : 100 – 200 ลิตร แช่ไว้นานประมาณ

30 นาที แล้วนำไปเพาะชำในเรือนเพาะชำ การตอนกิ่ง โดยนำส่วนที่เป็นไขเหลืองทาบบริเวณที่ปอกเปลือกกิ่งพันธุ์เพียงเล็กน้อย

(แล้วดำเนินการต่อตามขั้นตอนในการตอนกิ่ง)

ปุ๋ยหมักมูลสัตว์

วัสดุและส่วนผสม

1. มูลสัตว์ (ทุกชนิด) 1 ส่วน

2. แกลบดิบแห้ง 1 ส่วน

3. รำละเอียด 1 ส่วน

4. E.M.และกากน้ำตาล 10 – 20 ซีซี

5. น้ำ 10 ลิตร

6. อื่น ๆ

วิธีทำ

1.ผสม EM กากน้ำตาลกับน้ำที่เตรียมไว้

2.นำแกลบลงแช่น้ำผสม EM แล้วเอาขึ้นผสมกับมูลสัตว์

3.นำรำละเอียดคลุกเคล้าความชื้นไม่เกิน 50%

4.นำไปกองในพื้นที่ที่เตรียมไว้

5.เมื่อครบ 5 ชม. เริ่มตรวจสอบความร้อนทุก ๆ ชม.ควบคุมอย่าให้เกิน 50 C ใช้หมัก 3 – 4 วัน เมื่อปุ๋ยหมักมูลสัตว์ ได้ผลดี

จะมีกลิ่นหอมเหมือนเห็ดนำไปใช้ได้ หรือบรรจุกระสอบเก็บไว้ในที่ไม่โดนความชื้น

วิธีใช้

ใช้ผสมเตรียมดินสำหรับปลูกพืชทุกชนิด โดยการโรย 2 กำมือ (200 กรัม) ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร เอาหญ้าหรือฟางแห้งคลุม

ทับอีกชั้นหนึ่ง แล้วรดด้วยน้ำผสม EM อัตราส่วน 10 – 20 ซีซี ต่อน้ำ10 ลิตร ทิ้งไว้ 7 วัน จึงค่อยปลูก ในกรณีที่ใช้กับแปลงผักที่

ปลูกแล้วให้โรยรอบ ๆ ทรงพุ่ม คลุมทับด้วยฟางหรือหญ้าแห้งแล้วรดด้วยน้ำผสม EM

สำหรับไม้ผลและพืชยืนต้นอายุประมาณ 2 ปี ให้โรยรอบทรงพุ่มต้นละประมาณ 2 – 3 กก./ปี จะใส่ครั้งเดียวหรือแบ่งใส่ก็ได้ จากนั้น

ใส่ปีละ 1 กก.

หลักการในการเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้แก่ดิน

ในการเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้แก่ดินนั้น เราสามารถเพิ่มให้ได้หลายอย่างข้อสำคัญคือ อินทรีย์ วัตถุแต่ละอย่างมีอัตราส่วนองค์ประกอบ

ของธาตุคาร์บอน และไนโตรเจน (C/N ratio) แตกต่างกัน C/N ratio นี้เป็นตัวควบคุมบทบาทของไนโตรเจน เช่น ฟางข้าว มี C/N ratio

ประมาณ 90 นับว่ากว้างมากไม่ควรที่จะได้กลบลงดินไปในดิน ควรนำมาหมักให้เป็นปุ๋ยเสียก่อน เพื่อปรับระดับให้เหลือ 20 หรือต่ำกว่า

มิฉะนั้นแล้ว C/N ratio กว้าง ๆ เมื่อใส่ลงในดินจะทำให้ดินขาดไนโตรเจน เนื่องจากการสลายตัวโดยกิจกรรมของจุลินทรีย์ คือ จุลินทรีย์

จะเพิ่มขยายตัวมันเองอย่างรวดเร็วและดึงไนโตรเจนในรูปของไนเตรทไปจากดินไปใช้ในการเพิ่มกิจกรรมและจำนวนของจุลินทรีย์จึงเป็น

การแย้งไนโตรเจนจากพืชทำให้ขาดไนโตรเจน โดยพืชจะแสดงอาการเหลืองซีด ขณะเดียวกันจุลินทรีย์ที่ใช้คาร์บอนเป็นพลังงานและ

ปลดปล่อยให้หนีไปในอากาศ ในรูปก๊าซคาร์บอนไนออกไซด์ เมื่อคาร์บอนลดลงเรื่อย ๆ กิจกรรมของจุลินทรีย์จะลดลง ฉะนั้นเมื่อมีการ

ใส่อินทรีย์ลงในดินขณะที่อินทรีย์วัตถุยังไม่สลายตัวเต็มที่แล้วคือในระยะที่มี C/N ratio ยังกว้างนั้นดินจะขาดไนโตรเจนอยู่ระยะหนึ่ง

จน กว่าจะสิ้นการสลายตัวอัตราความเร็วของการสลายตัวขึ้นอยู่กับชนิดของอินทรีย์ วัตถุดิบ อุณหภูมิความชื้นเพื่อช่วยในการสลายตัวเร็วขึ้น

จึงควรเพิ่มไนโตรเจนลงในดินเพื่อปรับ C/N ratio ให้แคบลง

วิธีใช้

นำ E.M. ที่ขยายแล้วไปผสมกับน้ำอีกในอัตรา 1/น้ำ 5,000 – 10,000 ส่วนให้สัตว์กิน ล้างคอก และบำบัดน้ำเสียในฟาร์ม

หรือจะใช้ E.M. ที่ขยายแล้วโดยไม่ต้องผสมน้ำนำไปฉีด เพื่อบำบัดกลิ่นเหม็นในฟาร์มสัตว์ และจุดที่มีกลิ่นเหม็นในที่ต่าง ๆ

อัตราความเข้มข้นของ E.M. ขยายที่นำไปใช้ จะมากน้อยตามความต้องการของลักษณะการใช้ใบ แต่ละพื้นที่เป็นสำคัญ

การใช้ปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม. กับการเลี้ยงไก่

ใช้ E.M.ที่ขยายแบ้วฉีดพ่นตามพื้นที่กำจัดกลิ่นแก๊สและกลิ่นเหม็นจากมูลไก่ ทุก ๆ 3วัน หรือสัปดาห์ละ 2 ครั้ง มูลไก่ เหล่านี้นำไป

ใช้ ทำปุ๋ยหมักหรือนำไปใช้เป็นปุ๋ยใส่บริเวณทรงพุ่มต้นไม้และแปลงผักต่างๆ ผสมปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม.(หัวเชื้อ) กับน้ำกลั่น อัตราส่วน 1 : 1

ใช้แทนวัคซีนหรือหยอดตาหรือหยอดจมูกไก่ ตัวละ 1 – 3 หยด (ทำในช่วงระยะเวลาปกติของการใช้วัคซีนและตามขยาดอายุไก่)

เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันหรือป้องกันโรคไก่ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียได้

การใช้ปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม. กับการเลี้ยงสัตว์

ทำการขยาย อี.เอ็ม. ในอัตราส่วน อี.เอ็ม. 1 ลิตร กากน้ำตาล 1 ลิตรน้ำสะอาด 100 ลิตร แล้วปิดฝาให้สนิท หมักทิ้งไว้ 3 วัน (ตามที่กล่าวไว้)

นำไปฉีด ล้างให้ทั่วคอกจะสามารถกำจัดกลิ่นมูลเก่าได้ภายใน 48 ชั่วโมง เมื่อสะอาดปลอดกลิ่นดีแล้ว ต่อไปใช้สัปดาห์ละ 1 – 3 ครั้งก็พอ

โดยน้ำล้างคอกที่มีปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม.ผสมอยู่ด้วยจะลงไปช่วยบำบัดน้ำเสียตามท่อและบ่อพักให้สะอาดขึ้นด้วย

ผสม E.M. 1 ลิตรต่อน้ำสะอาด 5,000 – 10,000 ลิตร โดยประมาณ ให้สุกรกินทุกวัน เพื่อช่วยให้สุกรแข็งแรง

และมีความต้านทานโรคและป้องกันกลิ่นเหม็นจากสุกรที่เกิดขึ้นใหม่ด้วย

ผสมสุโตจู 1 ลิตรกับน้ำสะอาด 100 ลิตร เทราดตามบ่อน้ำทิ้ง เพื่อกำจัดหนอนแมลงวัน จะช่วยลดจำนวนลงได้ภายใน 1 – 2 สัปดาห์

ผสมซุปเปอร์โบกาฉิ สำหรับอาหารสัตว์ ประมาณ 2 %กับอาหารที่ให้สุกรกินแต่ละวัน เพื่อเสริมสุขภาพของสุกรกรณีลูกสุกรที่มีอาการ

ท้องเสียใช้ E.M.5 ซีซี หยอดเข้าทางปากจะช่วยได้

มูลสุกรที่ใช้ E.M.แล้ว สามารถนำไปใช้ทำปุ๋ยหมักต่าง ๆ หรือทำเป็นอาหารปลา กุ้ง กบ ได้ (ขึ้นอยู่กับการไปประยุกต์ใช้)

ข้อสังเกต

ฟาร์มที่ใช้ E.M. ส่วนมากจะไม่พบสุกรมีอาการท้องเสียสามารถลดการใช้ยาเสียปฏิชีวนะต่างๆ ได้มีประสิทธิภาพในการขยายพันธุ์ดี

ขึ้นได้ แม่สุกรในบางฟาร์มให้ลูกถึง 14 – 16 ตัว โดยไม่มีตาย สุกรขุนที่ให้ E.M. จะให้เนื้อแดงมาก และสุกรมีน้ำหนักมากกว่าที่เคยได้

หมายเหตุ วัว ควาย และสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ ก็สามารถนำ E.M. ไปประยุกต์ได้เช่นเดียวกัน

การใช้สุโตจู อี.เอ็ม. 5 กับงานเลี้ยงสัตว์

ผสมสุโตจู 20 – 50 ซีซี กับน้ำสะอาด 1 ลิตร นำไปใช้ป้องกันหรือกำจัดไร เห็บ หมัด หรือแมลงที่มารบกวนสัตว์เลี้ยงได้ ดังนี้

ฉีดพ่นบริเวณคอกสัตว์(โรงเรือนโค คอกหมู เล้าไก่) ให้ทั่วสัปดาห์ละ 1 – 2 ครั้งหลังอาบน้ำให้สัตว์เลี้ยงทุกครั้งควรใช้สุโตจู ผสมน้ำ

ลูบตัวสัตว์เลี้ยง

การทำซุปเปอร์โบกาฉิ อาหารสัตว์

วัสดุและส่วนผสม

1.เปลือกหอยป่น กระดองปูป่น กระดูกป่น แกลบเผา อย่างละ 0.2 กิโลกรัม

2.ปลาป่น กากถั่ว อย่างละ 6 กิโลกรัม

3.รำละเอียด 20 กิโลกรัม

4.ปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม. กากน้ำตาล 10 ซีซี

5.น้ำสะอาด 5 ลิตร

วิธีทำ

ผสมวัสดุที่ใช้ทั้งหมด เข้าด้วยกันจนเข้ากันดี ละลาย E.M.กากน้ำตาล , น้ำ, คนจนเข้ากันดี นำไปราดเป็นฝอยบนส่วนผสมแรก

คลุกเคล้าให้เข้ากันดี และให้ความชื้นไม่เกิน 40% เอาบรรจุใส่กระสอบป่านผูกปากให้แน่น ใส่ลงไปถุงพลาสติก ดำทึบแสงขนาดใหญ่

อีกชั้นหนึ่ง มัดปากถุงให้แน่น อย่าให้อากาศเข้าหมักไว้ 3 วัน ความร้อนจะอยู่ระหว่าง 35 – 40 เซลเซียส เมื่อหมักครบ 3 วัน

เอากระสอบออกจากถุงพลาสติกดำทึบแสง ตั้งทิ้งไว้ในร่มอีก 3 วัน อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และจะเย็นลงโดยพยายามกลับกระสอบ

ทุกวันเพื่อป้องกันไม่ให้ความชื้นในกระสอบไปกองอยู่ด้านใดด้านหนึ่ง จะทำให้จับกันเป็นก้อนได้

ข้อสังเกต

เมื่อหมักได้ที่แล้ว จะมีกลิ่นหอมกว่าโบกาฉิอื่น ๆ

วิธีใช้

ใช้ผสมกับอาหารสัตว์ เช่น หมู ไก่ กบ ฯลฯ ในอัตรา 2%ของอาหารที่ให้แต่ละครั้ง จะทำให้สัตว์มีสุขภาพแข็งแรงให้ผลผลิตสูง

นำไปละลายน้ำในอัตราส่วน 1 – 2 กิโลกรัม/น้ำสะอาด 100 ลิตรทำให้เป็นปุ๋ยน้ำหมักทิ้งไว้ 12 – 24 ชั่วโมง ก่อนนไปรดพืชผักต่าง ๆ

โดยเฉพาะพืชผักที่ปลูกใหม่ ๆ จะทำให้ผักฟื้นตัวและโตเร็ว ใช้หว่านลงไปในบริเวณสระน้ำ เพื่อช่วยปรับสภาพน้ำที่เน่าเสีย

การทำซุปเปอร์โบกาฉิ สูตร 2

วัสดุ

1.รำละเอียด 3 ส่วน ปลาป่น กากถั่ว อย่างละ 1 ส่วน

2.E.M.กาก น้ำ (1 : 1 : 50)

วิธีทำ

ผสมวัสดุทุกอย่างเข้าด้วยกัน ให้ได้ความชื้น 40% แล้วหมักตามขั้นตอนสูตร 1

วิธีใช้

เช่นเดียวกับสูตร 1

การใช้จุลินทรีย์ในการประมง

ใช้ E.M. ที่ขยายแล้วใส่ในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ 1/10,000 หรือ 1 ลิตร /10 คิวปิกเมตร ของน้ำใส่บ่อทุก ๆ 7 – 10 วัน

แล้วแต่สภาพของน้ำและอัตราความหนาแน่นของสัตว์ที่เลี้ยง

ผสมอาหารให้กินโดยใช้ EM ผสมในน้ำอัตรา 1 : 50 หรือ 100ส่วนคลุกกับอาหารหรือแช่ไว้ก่อน ให้กินก็ได้ในฟาร์มเลี้ยงกบ บางฟาร์ม

หลังจากใช้ EM ลงในบ่อเลี้ยงกบครั้งแรก แล้วไม่ต้องใส่อีกเพราะน้ำในบ่อจะได้ EM ควรใช้ EM อย่างเจือจางก่อน

การใช้ EMด้วยวิธีการดังกล่าวจะช่วยให้น้ำไม่เสียไม่จำเป็นต้องถ่ายน้ำบ่อย ๆหรือไม่ต้องถ่ายน้ำเลยจนกว่าจะจับสัตว์ขายช่วนให้สัตว์มี

สุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นโรคสัตว์ โตเร็ว อัตราตายต่ำ

การใช้ปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม. ในการประมง (ปลา, กุ้ง)

ใช้ อี.เอ็ม. ที่ขยายแล้วใส่ในบ่อเลี้ยงสัตว์ในอัตรา 1: 10,000 หรืออี.เอ็ม 1 ลิตร ต่อน้ำ 10 คิวบิกเมตรของน้ำ ใส่บ่อทุก ๆ 7 – 10 วัน

แล้วแต่สภาพของน้ำ และอัตราความหนาแน่นของสัตว์เลี้ยง

ผสมอาหารให้กิน โดยใช้ปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม ผสมน้ำในอัตราส่วน 1 : 50 – 100 ส่วนคลุกกับอาหารหรือแช่ไว้ก่อนให้กินก็ได้ แล้วแต่ชนิด

ของสัตว์เลี้ยง

ในฟาร์มเลี้ยงกบบางฟาร์ม หลังจากใส่ปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็มลงในบ่อเลี้ยงกบครั้งแรกแล้ว ไม่ต้องใส่อีก เพราะน้ำในบ่อจะได้ อี.เอ็มเพิ่มทุกวัน

จากอาหารที่แช่ปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม และควรใช้อย่างเจือจางก่อน

การใช้ปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม ด้วยวิธีการดังกล่าว จะช่วนให้น้ำไม่เหลืองไม่จำเป็นต้องถ่ายน้ำบ่อย ๆ หรือไม่ต้องถ่ายน้ำเลยจนกว่าจะจับสัตว์ขาย

ช่วยให้สัตว์มีสุขภาพดีแข็งแรงไม่เป็นสัตว์โตเร็ว และอัตราการตายต่ำ

การทำอาหารสำหรับเลี้ยงปลา

วัสดุ

1.เศษอาหาร 50 ส่วน รำละเอียด 20 ส่วน โบกาฉิมูลสัตว์ 1 ส่วน

2.ปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม : กากน้ำตาล : น้ำ 1 : 1 : 50

วิธีทำ

ผสมเศษอาหาร รำละเอียด และโบกาฉิ เข้าด้วยกัน แล้วคลุกด้วยน้ำ ผสมปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม หมักทิ้งไไว้ 1 – 2 ชั่วโมง

วิธีใช้

นำอาหารปลาที่หมักไว้แล้ว ไปหว่านในบ่อเลี้ยงปลาหรือวางบนตะแกรงหย่อนลงไปให้ปลากิน

การขยายจุลินทรีย์ แก้ปัญหาส้วมเต็ม

ใช้ปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม ขยาย (อี.เอ็ม กากน้ำตาล 1/100 ลิตร) หมักไว้ 3 วันนำมาเทใส่ส้วมชักโครก (เทใส่โดยไม่ต้องผสมน้ำ) ประมาณ

5 –10 ลิตร เดือนละ 1 ครั้ง อี.เอ็ม จะไปย่อยสลายสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ในถังพัก กากที่เหลือจะตกตะกอนและน้ำในถังพักจะดูดซึมลงไปได้มาก

ถ้าส้วมไม่เต็มและไม่เหม็น การขยายจุลินทรีย์ บำบัดกลิ่นเหม็นและกำจัดแมลงวันจากกองขยะ ขยะที่ได้จากครัวเรือน ร้านอาหาร และโรงแรม

ส่วนใหญ่จะเป็นขยะเปียก พวกเศษอาหาร ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นและแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวัน จุลินทรีย์จะสามารถบำบัดกลิ่นเหม็น กำจัดแมลงวัน

ได้โดยการตัดวงจรชีวิตของแมลง และ อี.เอ็ม สามารถทำการย่อยสลายเศษอาหารได้ และเป็นปุ๋นแก่พืชผักและผลไม้ต่าง ๆ ได้อีกด้วย

ใช้ปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม ที่ขยายแล้วผสมน้ำในอัตราส่วน 1 : 1,000ฉีดพ่นบริเวณกองขยะ หรือพ่นให้คลุกเคล้ากับขยะที่จะนำไปทิ้งหรือนำ

ไปฉีดพ่นขยะบนรถขยะของเทศบาล แล้วจึงนำไปทิ้งในที่ทิ้งขยะ อี.เอ็ม ก็จะทำงานทำให้ขยะไม่มีกลิ่นเหม็นและไม่มีแมลงวัน หลังจากขยะฉีด

ด้วยอี.เอ็ม แล้วนำไปฝังกลบก็จะยิ่งเป็นผลดี

การใช้จุลินทรีย์ในครัวเรือน

ก่อนปรุงอาหาร หรือก่อนรับประทานพืชผัก ผลไม้(ประเภทรับประทานทิ้งเปลือก) หรืออาหารสดต่าง ๆ โดยเฉพาะอาหารสดจากทะเล

(กุ้ง ปู ปลาหมึกสด) ที่ซื้อมาจากตลาด แต่ไม่แนใจว่าปลอดสารพิษหรือไม่ ควรนำมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วแช่น้ำในจุลินทรีย์ ที่ผสมน้ำในอัตรา

ส่วน 1: 100 –200 แช่ไว้ประมาณ 0 - 1 ชม.จะทำให้สารเคมีที่ปนเปื้อนหรือตกค้างอยู่ ในพืชผักหรืออาหารสดนั้น ถูกปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม ย่อย

สลายหรือชำระล้างออกไปได้เป็นอย่างมาก

การใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย

น้ำที่เกิดจากชุมชน ใช้จุลินทรีย์ที่ขยายแล้วนำไปราดตามท่อระบายน้ำลงในถังชำระล้างต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหาที่ต้นเหตุเพื่อให้น้ำผสม

จุลินทรีย์ทำการบำบัด และไหลลงไปรวมในบ่อบำบัดและไหลลงไปรวมในบ่อบำบัดน้ำต่อไป

น้ำเสียจากโรงพยาบาล โรงแรม และโรงงานอุตสาหกรรม ชุมชนต่างๆใช้จุลินทรีย์ที่ขยายกับระบบบำบัดน้ำเสีย ที่มีอยู่เดิม (ด้วยวิธีใช้

เครื่องตีน้ำ เพื่อให้อากาศแก่แบคทีเรียที่ต้องการอากาศทำงาน)

EM เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศในการทำงานจึงสามารถบำบัดน้ำเสียโดยการ ย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ ในน้ำเสียให้สะอาดา ไม่ต้องใช้

เครื่องตีน้ำเป็นการลดต้นทุนค่าไฟฟ้า และสามารถบำบัดน้ำเสียได้ดีมีประสิทธิภาพกว่าและย่อยสลายตะกอนที่เป็นอินทรีย์วัตถุจนหมดได้

สามารถนำน้ำที่ผ่านการบำบัดขั้นสุดท้ายแล้วไปใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ได้อีกด้วย

การประยุกต์ใช้ปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม ในนาข้าว

ต่อพื้นที่ 1 ไร่ ใส่โปกาฉิประมาณ 200 กิโลกรัม โดยแบ่งใส่เป็นระยะดังนี้ ไถพรวน

- หว่าน โปกาฉิ 100 กิโลกรัมให้ทั่ว

- ผสมปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม 400 ซีซี ผสมน้ำ 200 ลิตรฉีดพ่นให้ทั่วพื้นที่แล้วไถพรวนทั่วทิ้งไว้ 15 วัน เพื่อให้ อี.เอ็มย่อยสลายวัชพืชและฟาง

ข้าว ให้ปุ๋ยธรรมชาติและเร่งการงอกของเมล็ดหญ้า

- 15 วัน หลังไถแล้ว ผสมปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม และกากน้ำตาลอย่างละ 400 ซีซี กับน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่ว และไถ

กลบเพื่อทำ ลายหญ้าให้กลายเป็นปุ๋ยพืชสด ทิ้งไว้อีก 15 วัน จึงไถ และคราดเพื่อดำเนินดำนาต่อไป

- ไถคราด

- พ่นปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม อัตราส่วนเดิมอีกครั้ง

- ไถคราดให้ทั่ว เพื่อเตรียมปักดำ

- หลักปักดำ 7 –15 วัน

- หว่านโบกาฉิให้ทั่วแปลง 30 กิโลกรัม/ไร่

- พ่นตามด้วย EM กากน้ำตาล อย่างละ 200 ซีซี ผสมน้ำ 200 ลิตร

- ข้าวอายุ 1 เดือน หว่านโบกาฉิ 30 กิโลกรัม

- พ่นด้วย EM กากน้ำตาลอย่างละ 200 ซีซี ผสมน้ำ 200 ลิตร

- ก่อนข้าวตั้งท้องเล็กน้อย หว่านโบกาฉิ 40 กิโลกรัม

- พ่นด้วย EM กากน้ำตาลอย่างละ 200 ลิตร ผสมน้ำ 200 ลิตร

หมายเหตุ

เฉลี่ยพื้นที่ 1 ไร่ ใช้ปุ๋ยโบกาฉิ 200 กิโลกรัม

ในปีแรกที่ใช้โบกาฉิกับนาข้าว อาจต้องใช้ปริมาณมากแต่เมื่อดินดีปีต่อไปจึงค่อย ๆ ลดปริมาณการใช้ลง เพื่อป้องกันเพลี้ยระบาด

โรคแมลงศัตรูพืชต่าง ๆ รบกวนควรฉีดพ่นด้วยสุโตจู (สารขับไล่แมลง) ทุกๆ 15 วัน ในอัตราส่วนสุโตจู 400 ซีซี กากน้ำตาล 400 ซีซี

และน้ำ 200 ลิตร

การปลูกโดยไม่ต้องไถพรวนการไถพรวนเมื่อต้องการให้ดินที่แข็งตัวร่อนขึ้นอุ้ม น้ำและอากาศผ่านได้การใช้ EM จะช่วยให้ดินไม่

จับตัวกันแข็งแต่จะร่วนซุยอุ้มน้ำได้ และอากาศผ่านได้ จึงไม่จำเป็นต้องไถพรวนอีกต่อไปเกษตรกรที่ใช้ EM มา 3 ปี และเลิกการไถ

ไปแล้วสามารถเพิ่มผลผลิตได้มากขึ้นทุกปีด้วย

การใช้ปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม กับการป่าไม้

การปลูกป่าสร้างสวนป่า มักทำการปลูกกันในพื้นที่ดินแหล่งเสื่อมโทรมดินปุ๋ยธรรมชาติ มีการพังทลายของดินสูง ต้นไม้ที่ปลูกมักมีปัญหา

การเจริญเติบโตไม่มีเท่าที่ควร จึงมีการเสริมอินทรีย์วัตถุให้แก่ต้นไม้ และเพิ่มงบประมาณจุลินทรีย์ในดิน

ให้มีการสร้างกิจกรรมในดินให้เกิดความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น

การแช่เมล็ดพันธุ์ไม้ก่อนเพาะ (เช่น เมล็ดไม้สัก, ไม้มะค่าโมง ฯลฯ)ควรแช่เมล็ดในน้ำร้อน (60 – 70 C) นานประมาร 10 – 20 นาที

แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด 2 – 3 ครั้ง นำเมล็ดไปแช่ในปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม ผสมน้ำสะอาด อัตราส่วน 1 : 2,000 นานอย่างน้อย ? - 1 ชั่วโมง

ถ้าเมล็ดมีเปลือกหนาควรแช่ไว้นาน 3 – 7 วัน

การเพาะต้นกล้าในแปลงเพาะชำ เพราะเมล็ดพันธุ์ไม้ในถุงดำที่มีดินหมักปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม ไว้ โดยผสมปุ๋ยหมักดิน + ดินร่วน + แกลบสุก +

แกลบดิบ (1 : 1 : 1) เข้าด้วยกันและระหว่างการเพาะชำกล้าไม้ต้องใช้น้ำ อี.เอ็ม (1 : 1,000) รดอาทิตย์ละ 1 – 2 ครั้ง

การใช้ E.M. กับต้นไม้สวนป่า

ใช้ปุ๋ยหมุกโบกาฉิ ฟาง มูลสัตว์ หรือปุ๋ยหมักหญ้า 24 ชั่วโมง โรยเสริมบริเวณพุ่มของต้นไม้ หลังปลูกที่มีอายุ

0– 3 ปี ใช้อัตราส่วน 2 – 3 กำมือต่อต้น แล้วคลุกด้วยหญ้า/พุ่มแห้งรดด้วยน้ำปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม (1 : 1,000) ให้ชุ่ม เดือนละครั้ง โดยเฉพาะใน

ช่วงนอกฤดูฝน จะช่วยให้ต้นไม้ที่ ปลูกสร้างเป็นสวนป่า มีความแข็งแรง มีใบเขียว ชูช่อแตกดอกออกใบออกผลอย่างสมบูรณ์ เมื่อต้นไม้แข็งแรงดี

ย่อมมีความต้านทานการทำลายของโรคและแมลงได้ดีถ้ามีโรคหรือแมลงรบกวนต้นไม้ ในสวนป่าให้ใช้ สุโตจู (EMS) สูตรทั่วไปหรือซูปเปอร์สุ

โตจูฉีดพ่นตอนเช้าหรือตอนเย็น จะช่วยป้องกันแมลงพวกเพลี้ย ไร และแมลงมีปีกได้

เมื่อปลูกต้นไม้ได้อายุ 3 ปีขึ้นไป การใช้ปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม หรือปุ๋ยหมักอี.เอ็ม มีความจำเป็นน้อยลง หรือไม่ต้องใช้เลยก็ได้ เพราะกระบานการ

ทางธรรมชาติจะทำให้ดินในสวนป่าในสวนอุดมสมบูรณ์ขึ้นอยู่แล้ว

ข้อมูลทั้งหมดจากเว็บไซด์ >> http://www.nfe.go.th/nfe_v2/frontend/theme/index.php

อีเอ็ม (EM)

อีเอ็ม (EM) คืออะไร
EM ย่อมาจาก Effective Microorganisms หมายถึง กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่ง ศ.ดร.เทรูโอะ ฮิงะ นักวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญสาขาพืชสวน มหาวิทยาลัยริวกิว เมืองโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น ได้ศึกษาแนวคิดเรื่อง " ดินมีชีวิต" ของท่านโมกิจิ โอกะดะ (พ.ศ.2425-2498) บิดาเกษตรธรรมชาติของโลกจากนั้น ดร.ฮิงะ เริ่มค้นคว้าทดลองตั้งแต่ปี พ.ศ 2510 และค้นพบ EM เมื่อ พ.ศ. 2526 ท่านอุทิศทุ่มเททำการวิจัยผลว่ากลุ่มจุลินทรีย์นี้ใช้ได้ผลจริง หลังจากนั้นศาสนาจารย์วาคุกามิ ได้นำมาเผยแพร่ในประเทศไทย โดยท่านเป็นประธานมูลนิธิบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ด้วยกิจกรรมทางศาสนา หรือ คิวเซ (คิวเซ แปลว่า ช่วยเหลือโลก) ปัจจุบัน ตั้งอยู่ที่ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี

จากการค้นคว้าพบความจริงเกี่ยวกับจุลินทรีย์ว่ามี 3 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพ มีประมาณ 10 %
2. กลุ่มทำลาย เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นโทษ ทำให้เกิดโรค มีประมาณ 10 %
3. กลุ่มเป็นกลาง มีประมาณ 80 % จุลินทรีย์กลุ่มนี้หากกลุ่มใด มีจำนวนมากกว่ากลุ่มนี้จะสนับสนุนหรือร่วมด้วย


ดัง นั้น การเพิ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพลงในดิน ก็เพื่อให้กลุ่มสร้างสรรค์มีจำนวนมากกว่า ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้จะช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้กลับมีพลังขึ้นมา อีกหลังจากที่ถูกทำลายด้วยสารเคมีจนดินตายไป

จุลินทรีย์มี 2 ประเภท
1. ประเภทต้องการอากาศ (Aerobic Bacteria)
2. ประเภทไม่ต้องการอากาศ (Anaerobic Bacteria)

จุลินทรีย์ทั้ง 2 กลุ่มนี้ ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และสามารถอยู่ร่วมกันได้
จาก การค้นคว้าดังกล่าว ได้มีการนำเอาจุลินทรีย์ที่ได้รับการคัดและเลือกสรรอย่างดีจากธรรมชาติ ที่มีประโยชน์ต่อพืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อม มารวมกัน 5 กลุ่ม (Families) 10 จีนัส (Genues) 80 ชนิด (Spicies) ได้แก่

กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกเชื้อราที่มีเส้นใย (Filamentous fungi) ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งการย่อยสลาย สามารถทำงานได้ดีในสภาพที่มีออกซิเจน มีคุณสมบัติต้านทานความร้อนได้ดี ปกติใช้เป็นหัวเชื้อผลิตเหล้า ผลิตปุ๋ยหมัก ฯลฯ

กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสังเคราะห์แสง (Photosynthetic microorganisms) ทำหน้าที่สังเคราะห์สารอินทรีย์ให้แก่ดิน เช่น ไนโตรเจน (N2) กรดอะมิโน (Amino acids) น้ำตาล (Sugar) วิตามิน (Vitamins) ออร์โมน (Hormones) และอื่นๆ เพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้แก่ดิน


กลุ่ม ที่ 3 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมัก (Zynogumic or Fermented microorganisms) ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นให้ดินต้านทานโรค (Diseases resistant) ฯลฯ เข้าสู่วงจรการย่อยสลายได้ดี ช่วยลดการ พังทลายของดิน ป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืชบางชนิด ของพืชและสัตว์ สามารถบำบัดมลพิษในน้ำเสียที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษต่างๆ ได้


กลุ่ม ที่ 4 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกตรึงไนโตรเจน (Nitrogen fixing microorganisms) มีทั้งพวกที่เป็นสาหร่าย (Algae) และพวกแบคทีเรีย (Bacteria) ทำหน้าที่ตรึงก๊าซไนโตรเจนจากอากาศเพื่อให้ดินผลิตสารที่เป็นประโยชน์ต่อการ เจริญเติบโต เช่น โปรตีน (Protein) กรดอินทรีย์ (Organic acids) กรดไขมัน (Fatty acids) แป้ง (Starch or Carbohydrates) ฮอร์โมน(Hormones) วิตามิน (Vitamins) ฯลฯ


กลุ่มที่ 5 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสร้างกรดแลคติก (Lactic acids) มีประสิทธิภาพในการต่อต้านเชื้อรา และแบคทีเรียที่เป็นโทษ ส่วนใหญ่เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศหายใจ ทำหน้าที่เปลี่ยนสภาพดินเน่าเปื่อย หรือดินก่อโรคให้เป็นดินที่ต้านทานโรค ช่วยลดจำนวนจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคพืชที่มีจำนวนนับแสน หรือให้หมดไป นอกจากนี้ยังช่วยย่อยสลายเปลือกเมล็ดพันธุ์พืช ช่วยให้เมล็ดงอกได้ดีและแข็งแรงกว่าปกติอีกด้วย



ลักษณะทั่วไปของ EM

EM เป็นจุลินทรีย์ กลุ่มสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มที่มีประโยชน์ หรือ เรียกว่ากลุ่มธรรมะ ดังนั้น เวลาจะใช้ EM ต้องคำนึงถึงอยู่เสมอว่า EM เป็น สิ่งมีชีวิต EM มีลักษณะดังนี้

ต้องการที่อยู่ ที่เหมาะสม ไม่ร้อนเกินไป หรือเย็นเกินไป อยู่ในอุณหภูมิปกติ
ต้องการอาหารจากธรรมชาติ เช่น น้ำตาล รำข้าว โปรตีน และสารประกอบอื่นๆ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต
เป็นจุลินทรีย์จากธรรมชาติ ไม่สามารถใช้ร่วมกับสารเคมีและ ยาฆ่าเชื้อต่างๆ ได้
เป็นตัวเอื้อประโยชน์แก่พืช สัตว์ และสิ่งมีชีวิตทั้งมวล
EM จะทำงานในที่มืดได้ดี ดังนั้นควรใช้ช่วงเย็นของวัน
เป็นตัวทำลายความสกปรกทั้งหลาย
การดูแลเก็บรักษา

หัวเชื้อ EM สามารถเก็บได้นานประมาณ 1 ปี โดยปิดฝา ให้สนิท
อย่าทิ้ง EM ไว้กลางแดด และ อย่าเก็บไว้ในตู้เย็น เก็บรักษาไว้ในอุณหภูมิปกติ
ทุกครั้งที่แบ่งไปใช้ต้องรีบปิดฝาให้สนิท เพื่อไม่ให้เชื้อโรค หรือจุลินทรีย์ในอากาศที่เป็นโทษ เข้าไปปะปน
โดย: [0 3] ( IP )
ความคิดเห็นที่ 2

การนำ EM ไปขยายต่อ ควรใช้ภาชนะที่สะอาด และใช้ให้หมดในระยะเวลาที่เหมาะสม

ข้อสังเกตพิเศษ

หาก EM เปลี่ยนเป็นสีดำ มีกลิ่นเหม็นเน่า ถือว่า EM ตาย ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อีก ให้นำ EM ที่เสียผสมน้ำรดกำจัดหญ้าและวัชชพืชที่ไม่ต้องการได้
กรณีเก็บไว้นานๆ จะมีฝ้าขาวเหนือผิวน้ำ แสดงว่า EM พักตัว เมื่อเขย่าภาชนะ ฝ้าสีขาวจะสลายตัว กลับไปอยู่ในน้ำเหมือนเดิมนำไปใช้ได้
เมื่อ นำไปขยายเชื้อในน้ำและกากน้ำตาล จะมีกลิ่นหอมและ เป็นฟองขาวๆ ภายใน 2-3 วัน ถ้าไม่มีฟอง น้ำนิ่งสนิทแสดงว่าการหมักขยายเชื้อยังไม่ได้ผล
โดย: ศรีราชาดีไลท์ [10 ก.ค. 49 13:06] ( IP A:61.90.200.2 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
EM ขยาย
คือการทำให้ได้จุลินทรีย์ที่แข็งแรง มีประสิทธิภาพเพิ่มจำนวนมากโดยการใช้อาหารประเภทกากน้ำตาลหรืออื่นๆ ที่ใช้แทนกันได้
ส่วนผสม
1. EM 2 ช้อนโต๊ะ
2. กากน้ำตาล 2 ช้อนโต๊ะ
3. น้ำสะอาด 1 ลิตร
วิธีทำ
• ใส่น้ำสะอาดในภาชนะที่ต้องการ ขวดพลาสติกมีฝาเกลียว ตามส่วน (ไม่ควรใช้ภาชนะที่เป็นแก้ว เพราะเมื่อจุลินทรีย์เพิ่มจำนวนจะเกิดแก๊ส ทำให้แตกได้)
• ใส่ EM ผสมกากน้ำตาลลงในน้ำที่เตรียมไว้ปิดฝาให้มิดชิด
• เขย่าให้ละลายเข้ากัน หมักไว้อย่างน้อย 3 วัน
วิธีใช้
• นำไปใช้ได้เหมือน EM สด ยกเว้น การให้สัตว์กิน การฉีดพ่นเพื่อปรับอากาศ ไม่ต้องใส่กากน้ำตาลและควรใช้ไห้หมดภายใน 3 เดือน
• เมื่อครบ 3 วันขึ้นไปนำไปขยายโดยใช้ส่วนผสมข้างต้นได้อีก
โดย: ศรีราชาดีไลท์ [10 ก.ค. 49 13:07] ( IP A:61.90.200.2 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
วัสดุที่ใช้แทนกากน้ำตาล (1 ช้อนโต๊ะ) - น้ำอ้อย น้ำตาลสด น้ำมะพร้าว น้ำซาวข้าว น้ำผลไม้ที่คั้นสดๆ อาทิ น้ำส้ม น้ำสับปะรด ฯลฯ ไม่ใส่สารกันบูด หรือน้ำตาลทรายแดงผสมน้ำข้นๆ อย่างใดอย่างหนึ่งแทนกากน้ำตาล ปริมาณ 1/4 แก้ว
- นมข้นหวาน นมเปรี้ยว 1 ช้อนโต๊ะ
- น้ำปัสสาวะ 1/2 แก้ว
โดย: ศรีราชาดีไลท์ [10 ก.ค. 49 13:07] ( IP A:61.90.200.2 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
การทำปุ๋ยหมัก หรือ ปุ๋ยแห้ง ด้วยจุลินทรีย์ (โบกาฉิ)

การทำปุ๋ยแห้ง หมายถึง การนำเอา EM มาหมักกับอินทรีย์วัตถุ
เป็น การขยายจำนวนจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ให้มีจำนวนมากขึ้นแข็งแรงขึ้น และฟักตัวอยู่ในอินทรีย์วัตถุ เพื่อนำไปใช้ปรับปรุงสภาพดิน ให้ร่วนซุย มีธาตุอาหารที่สำคัญ เหมาะแก่การเพาะปลูก นอกจากนี้ ยังใช้กับการเลี้ยงสัตว์ได้ด้วย
ส่วนผสม
1. มูลสัตว์แห้ง ต่างๆ เช่น ไก่ สุกร เป็ด ค้างคาว วัว ฯลฯ นำมาผึ่งให้แห้ง 1 ส่วนหรือ 1 กระสอบ
2. แกลาบดิน หรือ ฟางแห้ง หรือ หญ้าแห้ง หรือ ใบไม้แห้ง หรือ ผักตบชวาแห้ง หรือ ขี้เลื่อย 1 ส่วน หรือ 1 กระสอบ
3. รำละเอียด หรือ มันสำปะหลังป่น หรือ คายข้าว 1 ส่วน หรือ 1 กระสอบ
4. EM + กากน้ำตาล อย่างละ 2 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 10 ลิตร หรือ 1 ถัง คนให้เข้ากัน
วิธีทำ
• คลุกรำละเอียด กับมูลสัตว์แห้งที่บดหรือย่อยให้เล็กเข้าด้วยกัน
• นำแกลบดิน หรือวัสดุ ที่ใช้แทนตัดสั้นๆ จุ่มลงในถังน้ำที่ผสม EM + กากน้ำตาล ไว้ ช้อนเอามาคลุกกับรำ และมูลสัตว์ที่ผสมไว้แล้ว คลุกส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน
• ความชื้นให้ได้ 40-50% ดูได้จากการทำส่วนผสมเมื่อบีบเป็นก้อน จะไม่มีน้ำไหลออกจากง่ามนิ้ว และแตกเมื่อคลายมือออกหรือเมื่อทิ้งลงพื้น แสดงว่าใช้ได้
• นำส่วนผสมไปใส่กระสอบ ถุงปุ๋ย หรือถุงอาหารสัตว์ ที่อากาศถ่ายเทได้ ? ของกระสอบ ไม่ต้องกดให้แน่น มัดปากกระสอบไว้ พลิกกระสอบแต่ละด้านทุกวัน วันที 2-3 จับกระสอบดูจะร้อน อุณหภูมิประมาณ 40 ฐC-45 ฐC วันที่ 4-5 จะค่อยๆ เย็นลง จนอุณหภูมิปกติ เปิดกระสอบดู จะได้ปุ๋ยแห้งร่วนนำไปใช้ได้
• หากไม่มีกระสอบ หรือทำปริมาณมาก เมื่อผสมกันดีแล้ว ให้นำไปกองบนกระสอบป่าน หรือฟางแห้งที่ใช้รองพื้นหนาประมาณ 1 ฟุต แล้วคลุมด้วยกระสอบ หรือ สแลน กลับวันละ 1-2 ครั้ง ให้อากาศถ่ายเททั่วถึงประมาณ 5-7 วัน ดูให้อุณหภูมิปกติปุ๋ยแห้งร่วนดี เก็บใส่ถุงไว้ใช้
โดย: ศรีราชาดีไลท์ [10 ก.ค. 49 13:08] ( IP A:61.90.200.2 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
การทำสารไล่ศัตรูพืช (สุโตจู / EM 5)
ส่วนผสม
1. เหล้าขาวไม่เกิน 40 ดีกรี 1 ส่วน หรือ 1 ขวด หรือ 1 ลิตร
2. น้ำส้มสายชู 5 % 1 ส่วน หรือ 1 ขวด หรือ 1 ลิตร
3. EM 1 ส่วน หรือ 1 ขวด หรือ 1 ลิตร
4. กากน้ำตาล 1 ส่วน หรือ 1 ขวด หรือ 1 ลิตร
5. น้ำสะอาด 10 ส่วน หรือ 10 ขวด หรือ 10 ลิตร
วิธีทำ
• นำกากน้ำตาลผสมน้ำเขย่าให้เข้ากัน ใส่เหล้าขาวและน้ำส้มสายชู
• ใส่ EM คนให้เข้ากัน
• ปิดฝาภาชนะให้สนิท หมักไว้ 10-15 วัน
• เขย่าภาชนะทุกวัน เพื่อไม่ให้เกิดการนอนก้น เปิดฝาระบาย ก๊าซหลังจากเขย่า ครบกำหนดนำไปใช้เพื่อขับไล่แมลง ป้องกันโรคพืชบางชนิด เช่น ใบหงิก ใบด่าง เพลี้ยแป้ง หนอนชอนใบ ฯลฯ
วิธีใช้
• ใช้ 10-50 ซีซี (1-5 ช้อนโต๊ะ) ผสมน้ำสะอาด 5-10 ลิตร
• ฉีดพ่น ให้ชุ่ม และทั่วถึง นอกและในทรงพุ่ม
• ใช้กับพืช ผัก ทุก 3 วัน สลับกับการพ่นปุ๋ยน้ำ
• พืชไร่ พืชสวน ทุก 3-7 วัน สลับกับการพ่นปุ๋ยน้ำ
• ผสมกากน้ำตาล หรือ นมสด ฯลฯ เป็นสารจับใบ
โดย: ศรีราชาดีไลท์ [10 ก.ค. 49 13:09] ( IP A:61.90.200.2 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
การทำสารไล่ศัตรูพืช (สุโตจู / EM 5)
ส่วนผสม
1. เหล้าขาวไม่เกิน 40 ดีกรี 1 ส่วน หรือ 1 ขวด หรือ 1 ลิตร
2. น้ำส้มสายชู 5 % 1 ส่วน หรือ 1 ขวด หรือ 1 ลิตร
3. EM 1 ส่วน หรือ 1 ขวด หรือ 1 ลิตร
4. กากน้ำตาล 1 ส่วน หรือ 1 ขวด หรือ 1 ลิตร
5. น้ำสะอาด 10 ส่วน หรือ 10 ขวด หรือ 10 ลิตร
วิธีทำ
• นำกากน้ำตาลผสมน้ำเขย่าให้เข้ากัน ใส่เหล้าขาวและน้ำส้มสายชู
• ใส่ EM คนให้เข้ากัน
• ปิดฝาภาชนะให้สนิท หมักไว้ 10-15 วัน
• เขย่าภาชนะทุกวัน เพื่อไม่ให้เกิดการนอนก้น เปิดฝาระบาย ก๊าซหลังจากเขย่า ครบกำหนดนำไปใช้เพื่อขับไล่แมลง ป้องกันโรคพืชบางชนิด เช่น ใบหงิก ใบด่าง เพลี้ยแป้ง หนอนชอนใบ ฯลฯ
วิธีใช้
• ใช้ 10-50 ซีซี (1-5 ช้อนโต๊ะ) ผสมน้ำสะอาด 5-10 ลิตร
• ฉีดพ่น ให้ชุ่ม และทั่วถึง นอกและในทรงพุ่ม
• ใช้กับพืช ผัก ทุก 3 วัน สลับกับการพ่นปุ๋ยน้ำ
• พืชไร่ พืชสวน ทุก 3-7 วัน สลับกับการพ่นปุ๋ยน้ำ
• ผสมกากน้ำตาล หรือ นมสด ฯลฯ เป็นสารจับใบ
โดย: ศรีราชาดีไลท์ [10 ก.ค. 49 13:09] ( IP A:61.90.200.2 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
การทำฮอร์โมนยอดพืช
ส่วนผสม
1. ยอดสะเดาทั้งใบและเมล็ด 1/2 ถัง (ขนาด 10 ลิตร)
2. ยอด / ใบยูคาลิปตัส 1/2 ถัง (ขนาด 10 ลิตร)
3. EM 1 แก้ว
4. กากน้ำตาล 1 แก้ว
5. น้ำสะอาด 10 ลิตร
* ใช้ยอดพืช ยอดผัก หลายๆ ชนิด ก็ได้ อาทิ ชมพู่ มะม่วง ตะไคร้หอม ฯลฯ การเก็บยอดพืชให้เก็บตอนเช้าตรู่
วิธีทำ
• สับยอดพืชให้สั้นประมาณ 1 นิ้ว ใส่ในถังพลาสติกหรือโอ่ง
• ผสม EM กากน้ำตาล น้ำ เทลงในถังให้น้ำท่วมพอดี ปิดฝา ให้มิดชิด
• หมักไว้ 7-10 วัน กรองใส่ขวดเก็บได้นานประมาณ 3 เดือน
วิธีใช้
• 4-5 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีด พ่น รด ราด ตอนเช้า หรือหลังฝนตก ป้องกันแมลงรบกวน พืชจะแข็งแรงเติบโตดี
• ใช้ผสมกับสารไล่แมลงจะได้ผลดียิ่งขึ้น
โดย: ศรีราชาดีไลท์ [10 ก.ค. 49 13:09] ( IP A:61.90.200.2 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
สูตรป้องกันเชื้อราหรือไร
ส่วนผสม
1. EM 1 ลิตร
2. กากน้ำตาล 1 ลิตร
3. ตะไคร้หอม 2 กก.
4. ข่าแก่ 2 กก.
5. ใบและเมล็ดสะเดา 2 กก.
วิธีทำ
• นำตะไคร้หอม ข่า สะเดา ปั่นหรือ โขลกให้ละเอียด ใส่น้ำพอคั้นได้แล้วคั้นเอาแต่น้ำ จะได้น้ำสมุนไพร ประมาณ 3 กก.
• นำ EM ผสมกากน้ำตาล ผสมในน้ำสมุนไพร
• ปิดฝาภาชนะหมักไว้ 3 วัน
• เก็บไว้นานประมาณ 3 เดือน
วิธีใช้
• ใช้ 1/2 ลิตร ผสมน้ำสะอาด 20 ลิตร ฉีด พ่น ต้นไม้ทุก 3 วัน

em


คำว่า EM ย่อมาจาก Effective Microorganisms หมายถึง กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่ง ศ.ดร.เทรูโอะ
ฮิงะ นักวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญสาขาพืชสวน มหาวิทยาลัยริวกิว เมืองโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น
เริ่มค้นคว้าทดลองตั้งแต่ปี พ.ศ 2510 และค้นพบ EM เมื่อ พ.ศ. 2526

จากการค้นคว้าพบความจริงเกี่ยวกับจุลินทรีย์ว่ามี 3 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพ มีประมาณ 10 %
2. กลุ่มทำลาย เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นโทษ ทำให้เกิดโรค มีประมาณ 10 %
3. กลุ่มเป็นกลาง มีประมาณ 80 % จุลินทรีย์กลุ่มนี้หากกลุ่มใด
มีจำนวนมากกว่ากลุ่มนี้จะสนับสนุนหรือร่วมด้วย
ดังนั้น การเพิ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพลงในดิน ก็เพื่อให้กลุ่มสร้างสรรค์มีจำนวนมากกว่า
ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้จะช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้กลับมีพลังขึ้นมาอีกหลังจากที่ถูกทำลายด้วยสารเค
มีจนดินตายไป

จุลินทรีย์มี 2 ประเภท
1. ประเภทต้องการอากาศ (Aerobic Bacteria)
2. ประเภทไม่ต้องการอากาศ (Anaerobic Bacteria)

จุลินทรีย์ทั้ง 2 กลุ่มนี้ ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และสามารถอยู่ร่วมกันได้ จากการค้นคว้าดังกล่าว
ได้มีการนำเอาจุลินทรีย์ที่ได้รับการคัดและเลือกสรรอย่างดีจากธรรมชาติ ที่มีประโยชน์ต่อพืช สัตว์
และสิ่งแวดล้อม มารวมกัน 5 กลุ่ม (Families) 10 จีนัส (Genues) 80 ชนิด (Spicies) ได้แก่

กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกเชื้อราที่มีเส้นใย (Filamentous fungi)
ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งการย่อยสลาย สามารถทำงานได้ดีในสภาพที่มีออกซิเจน มีคุณสมบัติต้านทานความร้อนได้ดี
ปกติใช้เป็นหัวเชื้อผลิตเหล้า ผลิตปุ๋ยหมัก ฯลฯ
กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสังเคราะห์แสง (Photosynthetic microorganisms)
ทำหน้าที่สังเคราะห์สารอินทรีย์ให้แก่ดิน เช่น ไนโตรเจน (N2) กรดอะมิโน (Amino acids) น้ำตาล (Sugar)
วิตามิน (Vitamins) ฮอร์โมน (Hormones) และอื่นๆ เพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้แก่ดิน
กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมัก (Zynogumic or Fermented microorganisms)
ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นให้ดินต้านทานโรค (Diseases resistant) เข้าสู่วงจรการย่อยสลายได้ดี ช่วยลดการ
พังทลายของดิน ป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืชบางชนิด
สามารถบำบัดมลพิษในน้ำเสียที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษต่างๆ ได้
กลุ่มที่ 4 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกตรึงไนโตรเจน (Nitrogen fixing microorganisms)
มีทั้งพวกที่เป็นสาหร่าย (Algae) และพวกแบคทีเรีย (Bacteria)
ทำหน้าที่ตรึงก๊าซไนโตรเจนจากอากาศเพื่อให้ดินผลิตสารที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโต เช่น โปรตีน
(Protein) กรดอินทรีย์ (Organic acids) กรดไขมัน (Fatty acids) แป้ง (Starch or Carbohydrates)
ฮอร์โมน(Hormones) วิตามิน (Vitamins) ฯลฯ
กลุ่มที่ 5 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสร้างกรดแลคติก (Lactic acids) มีประสิทธิภาพในการต่อต้านเชื้อรา
และแบคทีเรียที่เป็นโทษ ส่วนใหญ่เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศหายใจ
ทำหน้าที่เปลี่ยนสภาพดินเน่าเปื่อย หรือดินก่อโรคให้เป็นดินที่ต้านทานโรค
ช่วยลดจำนวนจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคพืชที่มีจำนวนนับแสน หรือให้หมดไป
นอกจากนี้ยังช่วยย่อยสลายเปลือกเมล็ดพันธุ์พืช ช่วยให้เมล็ดงอกได้ดีและแข็งแรงกว่าปกติอีกด้วย
ลักษณะทั่วไปของ EM

EM เป็นจุลินทรีย์ กลุ่มสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มที่มีประโยชน์ หรือ เรียกว่ากลุ่มธรรมะ ดังนั้น เวลาจะใช้
EM ต้องคำนึงถึงอยู่เสมอว่า EM เป็น สิ่งมีชีวิต การดูแลเก็บรักษา

1. หัวเชื้อ EM สามารถเก็บได้นานประมาณ 1 ปี โดยปิดฝา ให้สนิท
2. อย่าทิ้ง EM ไว้กลางแดด และ อย่าเก็บไว้ในตู้เย็น เก็บรักษาไว้ในอุณหภูมิปกติ
3. ทุกครั้งที่แบ่งไปใช้ต้องรีบปิดฝาให้สนิท เพื่อไม่ให้เชื้อโรค หรือจุลินทรีย์ในอากาศที่เป็นโทษ
เข้าไปปะปน
4. การนำ EM ไปขยายต่อ ควรใช้ภาชนะที่สะอาด และใช้ให้หมดในระยะเวลาที่เหมาะสม

ข้อสังเกตพิเศษ

• หาก EM เปลี่ยนเป็นสีดำ มีกลิ่นเหม็นเน่า ถือว่า EM ตาย ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อีก ให้นำ EM
ที่เสียผสมน้ำรดกำจัดหญ้าและวัชพืชที่ไม่ต้องการได้
• กรณีเก็บไว้นานๆ จะมีฝ้าขาวเหนือผิวน้ำ แสดงว่า EM พักตัว เมื่อเขย่าภาชนะ ฝ้าสีขาวจะสลายตัว
กลับไปอยู่ในน้ำเหมือนเดิมนำไปใช้ได้
• เมื่อนำไปขยายเชื้อในน้ำและกากน้ำตาล จะมีกลิ่นหอมและ เป็นฟองขาวๆ ภายใน 2-3 วัน ถ้าไม่มีฟอง
น้ำนิ่งสนิทแสดงว่าการหมักขยายเชื้อยังไม่ได้ผล

จุลินทรีย์ EM มีประโยชน์อย่างไร

การใช้จุลินทรีย์สด หรือ EM สด หมายถึงการใช้จุลินทรีย์ EM จากโรงงานผลิต หรือ
ผู้จำหน่ายที่ยังไม่ได้ทำการแปรสภาพ

วิธีใช้และประโยชน์ EM สด

1.ใช้กับพืช (ปุ๋ยน้ำ)
• ผสมน้ำในอัตรา 1 : 1000 (EM 1 ช้อนโต๊ะ กากน้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 10 ลิตร) ใช้ ฉีด พ่น รด ราด
พืชต่างๆ ให้ทั่วจากดิน ลำต้น กิ่ง ใบ และนอกทรงพุ่ม
• พืช ผัก ฉีด พ่น รด ราด ทุก 3 วัน
• ไม้ดอก ไม้ประดับ เดือนละ 1 ครั้ง การใช้จุลินทรีย์สด ในดิน ควรมีอินทรีย์วัตถุปกคลุมด้วย เช่น
ฟางแห้ง ใบไม้แห้ง ฯลฯ เพื่อรักษาความชื้นและเป็นอาหารของจุลินทรีย์ต่อไป

2. ใช้ในการทำ EM ขยาย ปุ๋ยแห้ง
3. ใช้กับสัตว์ (ไม่ต้องผสมกากน้ำตาล)
• ผสม EM 1 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 200 ลิตร ให้สัตว์กินทำให้ แข็งแรง
• ผสม EM 1 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 10 ลิตร ใช้พ่นคอกให้สะอาดกำจัดกลิ่น
• หากสัตว์เป็นโรคทางเดินอาหารให้กิน EM สด 1 ช้อนโต๊ะ ผสมกับอาหารให้สัตว์กิน ฯลฯ

4. ใช้กับสิ่งแวดล้อม
• ใส่ห้องน้ำ - ห้องส้วม ในโถส้วมทุกวันๆ ละ 1 ช้อนโต๊ะ (หรือ สัปดาห์ละ 1/2 แก้ว)
ช่วยให้เกิดการย่อยสลาย ไม่มีกาก ทำให้ส้วมไม่เต็ม
• กำจัดกลิ่น ด้วยการผสมน้ำและกากน้ำตาล ในอัตราส่วน 1 : 1 : 1,000 (EM 1 ช้อนโต๊ะ : กากน้ำตาล 1
ช้อนโต๊ะ : น้ำ 1 ลิตร) ฉีด พ่น ทุก 3 วัน
• บำบัดน้ำเสีย 1 : 10,000 หรือ EM 2 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 200 ลิตร
• ใช้กำจัดเศษอาหาร หรือ ทำปุ๋ยน้ำจากเศษอาหาร
• แก้ไขท่ออุดตัน EM 1 ช้อนโต๊ะ ใส่ 5-7 วัน / ครั้ง
• ฉีดพ่นปรับอากาศในครัวเรือน
• กำจัดกลิ่นในแหล่งน้ำ

วิธีใช้และประโยชน์ EM ขยาย

1. ใช้กับพืชเหมือน EM สด
2. ใช้กับสัตว์ o ผสม น้ำ 1 : 100 ฉีดพ่นคอก กำจัดแมลงรบกวน o ผสม น้ำ 1 : 1,000 ล้างคอก กำจัดกลิ่น o
ผสม น้ำ ในอัตรา : 1 : 500 หรือ 2 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 10 ลิตร เพื่อหมักหญ้าแห้ง ฟางแห้ง เป็นอาหารสัตว์
3. ใช้ทำปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยแห้ง เหมือนใช้ EM สด
4. ใช้กับสิ่งแวดล้อม เหมือนใช้ EM สด


การเก็บรักษาจุลินทรีย์ EM

• จุลินทรีย์ EM สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน 1 ปี อย่างน้อย 6 เดือน ในอุณหภูมิปกติ ไม่เกิน 45-50
องศาเซลเซียลโดยปิดฝาให้สนิท อย่าให้มีอากาศเข้า และอย่าเก็บไว้ในตู้เย็น
• ทุกครั้งที่แบ่งไปใช้ต้องรีบปิดฝาให้สนิท
• การนำจุลินทรีย์ EM ไปขยายต่อ ควรใช้ภาชนะที่สะอาด และใช้ให้หมดภายในเวลาที่เหมาะสม
• การเก็บไว้หลายๆ วัน โดยไม่มีการเคลื่อนไหว ในภาชนะจะมีฝ้าขาวเหนือผิวน้ำ
นั่นคือการทำงานของจุลินทรีย์ที่ฟักตัว เมื่อเขย่าแล้วทิ้งไว้ชั่วขณะ
ฝ้าขาวจะสลายตัวกลับไปอยู่ในจุลินทรีย์เหมือนเดิม
• เมื่อนำไปขยายเชื้อในน้ำและกากน้ำตาล จุลินทรีย์จะมีกลิ่นหอมและเป็นฟองขาวๆ ภายใน 2-3 วัน
ถ้าไม่มีฟองดังกล่าวแสดงว่า การหมักขยายเชื้อยังไม่ได้ผล
• จุลินทรีย์ EM ที่นำไปขยายเชื้อแล้ว
ควรใช้ภายใน 7 วันหลังจากหมักได้ที่แล้ว
ทั้งนี้เพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพที่อาจเกิดจากความไม่สะอาดของภาชนะ และสิ่งสกปรกแปลกปลอมจากอากาศ
เพราะจุลินทรีย์ส่วนใหญ่ไม่ต้องการอากาศ
• ถ้าใช้ไม่หมดภายใน 3 วัน ต้องปิดฝาให้สนิทด้วยพลาสติก เพื่อไม่ให้อากาศเข้า
ก่อนใช้ทุกครั้งต้องตรวจดูก่อนว่ายังมีกลิ่นหอมอมเปรี้ยว
อมหวานหรือไม่ ถ้ามีแสดงว่ายังใช้ได้

การประยุกต์ใช้ปุ๋ยชีวภาพ

ปัจจุบัน EM ได้รับความนิยมขยายไปสู่ชาวโลก เนื่องจากเป็นจุลินทรีย์ที่ไม่มีพิษภัย มีแต่ประโยชน์
ถ้าสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง และมุ่งเน้นการไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ทำให้การขยายการใช้ EM ไป
สู่เกษตรกรและองค์กรทั่วโลกแล้วกว่า 30 ประเทศ อาทิ International Nature Farming Reserch Center
Movement (INFRC) JAPAN, EM Research Orgnization (EMRO) JAPAN, International Federation of
Agriculture Movement (IFOAM) GERMANY เป็นต้น และ California Certified Organics Farmers
ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเกษตรธรรมชาติได้ให้คำรับรองเมื่อ คศ.1993
ว่าเป็นวัสดุประเภทจุลินทรีย์ (Microbial Innoculant) ที่ปลอดภัยและได้ผลจริง 100 %

สำหรับในประเทศไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้นำไปวิเคราะห์แล้วรับรองว่าจุลินทรีย์ EM
ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ จึงสามารถนำ EM ไปใช้ประโยชน์ได้หลายประการ

ที่มา

การทำปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ จากเศษอาหาร

การทำปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ จากเศษอาหาร
ปุ๋ยหมักจุลินทรีย์
การทำปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ จากเศษอาหาร
ทุกครัวเรือน ร้านอาหาร ภัตตาคาร ฯลฯ ล้วนมีเศษอาหารที่เป็นผักผลไม้ และเศษอาหารอื่น ๆ จำนวนมากน้อยแล้วแต่สถานที่ สามารถนำไปหมักเป็นปุ๋ยหมักชั้นเลิศ เพื่อใส่พืชผักและผลไม้ที่ปลูกไว้ได้
อุปกรณ์
- ถังพลาสติกมีฝาปิดขนาด 20 – 200 ลิตร แล้วแต่ปริมาณเศษอาหารที่จะได้หรือต้องการ เจาะรูติดก๊อกน้ำบริเวณก้นถัง เพื่อไว้ระบายน้ำปุ๋ยหมัก ใช้ก๊อกให้มีขนาดโตพอสมควร เพื่อป้องกันการอุดตัน
- ถุงขยะพลาสติกสีดำ เจาะรูเล็ก ๆ 2 – 3 รู เพื่อให้น้ำปุ๋ยหมักผ่านทะลุได้ หรือจะใช้ตาข่ายไนล่อนตาถี่เย็บเป็นถุงก็ได้ หรือจะใช้กระสอบปุ๋ยน้ำซึมผ่านได้ก็ใช้ได้
- นำเอาถุงใส่ปุ๋ยที่เตรียมไว้ ใส่ลงในถังหมักปุ๋ยที่มีวัสดุรองก้นถัง ให้สูงจากระดับก๊อกน้ำเล็กน้อย
- ใช้กากน้ำตาล 20 – 40 ซีซี ใส่คลุกกับเศษอาหาร 1.. และใส่จุลินทรีย์ EM ขยาย 10 – 20 ซีซี คลุกอีกครั้ง ใส่ลงในถุงใส่ปุ๋ยทุกวันจนเต็มถุง
- ปิดฝาถังหมักไว้ตลอดเวลา หมักไว้อย่างน้อย 7 วัน ก็จะมีน้ำปุ๋ยหมักซึมออกมา อยู่ที่ก้นถังหมัก
- ไขก๊อกเอาน้ำปุ๋ยหมักที่ได้ไปผสมน้ำในอัตรา 1 : 500 – 1,000 รดพืชและต้นไม้ทุก ๆ วัน
- ผสมน้ำปุ๋ยหมักกับอัตราส่วน 1 : 20 – 50 หรือไม่ผสมก็ได้ราดพื้นห้องส้วมชักโครกหรือจุดที่มีกลิ่นเหม็นบริเวณบ้าน หรือราดในท่อน้ำทิ้งเพื่อดับกลิ่นก็ได้ผลดี
- กากอาหารที่เหลือก็สามารถไปคลุมกับดินเป็นปุ๋ยต้นไม้ได้ดี
ข้อสังเกต
ถ้าหมักได้ที่จะไม่มีแมลงวันหรือมีกลิ่นเหม็น แต่กลิ่นจะหอมอมเปรี้ยว
ถ้ามีกลิ่นเหม็นและมีกลิ่นก๊าซแอมโมเนีย แสดงว่าหมักไม่ได้ผล
ระหว่างหมักอาจจะมีหนอนแมลงวันเกิด แต่มันไม่กลายเป็นแมลงวัน จะเป็นหนอนตัวโตกว่าปกติ มีอายุอยู่นานได้หลาย ๆ วัน แล้วจะตายไปเอง
น้ำปุ๋ยหมักที่ได้ เก็บไว้ได้นานกี่วันค่ะ

สามารถเก็บได้นาน 6 เดือน 1 ปี ระหว่างการเก็บหากมีอาการกลิ่น บูด เปรี้ยว ให้เติมกากน้ำตาลเพิ่มเหมือนการทำตอนแรกๆ

ปุ่ยหมักจุลินทรีมีประโยชน์อย่างไรค่ะ

และปุ่ยหมักจุลินทรย์มีความสำคัญต่อมนุษย์อย่างไร


หากนำกากอาหารที่เหลือจากการทำที่มีหนอนไปเทใต้ต้นไม้จะมีอะไรเกิดขึ้นหรือไม่

ประโยชน์ของปุ๋ยหมักจุลินทรีย์และปุ๋ยน้ำชีวภาพ

- ใช้เป็นหัวเชื้อในการทำปุ๋ยหมักอินทรีย์
- ใช้ในการกำจัดน้ำเสียและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
- ใช้ทำความสะอาดพื้นที่เลี้ยงสัตว์
- ใช้บำบัดกลิ่นเหม็นต่างๆ เช่น ห้องส้วม กองขยะ ท่อระบายน้ำ
- ใช้แทนปุ๋ยเคมี

ข้อควรระวังเกี่ยวกับปุ๋ยน้ำชีวภาพ
- การควบคุมปริมาณกากน้ำตาล เพื่อป้องกันการเกิดกลิ่นเหม็นระหว่างการหมัก
- การควบคุมการใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ โดยไม่ใช้ติดต่อกันหลายวันและ.ใช้ปริมาณที่เข้มข้นสูง