Thursday, March 26, 2009

การเพาะกล้าพืชใช้ได้กั

การเพาะกล้าพืชใช้ได้กับพืชทุกชนิด

การปลูกพืชให้ประสบผลสำเร็จสูงและลดค่าใช้จ่ายได้ ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายอย่าง นับจากเมล็ดพันธุ์พืชที่ใช้ จนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิต และถ้าจะให้ดี เกษตรกรควรเริ่มต้นจากการหาเมล็ดพันธุ์ที่ดี แล้วนำมาเพาะกล้า
การเพาะกล้าให้ต้นแข็งแรงและให้ผลผลิตสูง การเพาะกล้าพืชที่ถูกต้อง มีขั้นตอน ดังนี้
1. ต้องเลือกเมล็ดพันธุ์พืชที่มีคุณภาพที่ดี คือ ทนต่อโรคและแมลง, เปอร์เซ็นต์ความงอกสูง รวมทั้งดูวัน เดือน ปี ที่ผลิตว่ายังไม่หมดอายุ
2. ถ้าเมล็ดพืชที่เพาะมีเปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง ควรกระเทาะหรือลอกเปลือกออก วิธีการนี้จะช่วยให้เมล็ดงอกเร็วขึ้นกว่าการเพาะเมล็ดทั้งเปลือก พืชที่นิยมลอกเปลือกหุ้มเมล็ดออก เช่น มะม่วง
3. การแช่น้ำเมล็ดพืชจะทำให้เปลือกหุ้มเมล็ดอ่อนตัวลง จึงช่วยให้เมล็ดพืชงอกได้เร็วชึ้น วิธีการคือ นำมาแช่ในน้ำหรือน้ำอุ่น (ใช้น้ำร้อนผสมน้ำเย็น อัตราส่วน 1:1) แช่นาน 30 นาที และปล่อยจนน้ำเย็น แช่ทิ้งไว้นาน 10-12 ชม. จึงนำมาห่อผ้าเปียกไว้ รดน้ำ 2-3 วันพอเริ่มมีงอกขาวๆๆปริๆๆออกมา นำไปเพาะลงในถาดเพาะกล้าหรือถุงเพาะกล้า พืชที่นิยมแช่น้ำเมล็ด เช่น พริก มะเขือ
4. การเตรียมวัสดุเพาะกล้าพืช ทำได้โดยการผสมดินร่วน : ปุ๋ยคอกละเอียดและเก่า : ขี้เถ้าแกลบ อัตราส่วน 1 : 1 : 1 เมื่อผสมวัสดุเพาะกล้าแล้วนำกรอกลงในภาชนะ เช่น ถาดเพาะ กระถาง ถุงพลาสติก ฯลฯ โดยใส่วัสดุเพาะกล้าลงในภาชนะประมาณ 2 ใน 3 ของความสูงของภาชนะบรรจุ ไม่ควรใส่ให้สูงล้นเต็มภาชนะ เพราะเวลารดน้ำจะทำให้เมล็ดพันธุ์ไหลหลุดติดไปกับน้ำที่ใช้รด
5. เกลี่ยผิวหน้าวัสดุเพาะให้เรียบ และทำเป็นหลุมหรือร่องเล็ก ๆ ตามขนาดความยาวของภาชนะ ระยะห่างระหว่างแถว ประมาณ 3 ซม. ลึกประมาณ 0.5-1 ซม.
6. โรยเมล็ดพันธุ์ลงไป ถ้าเป็นหลุมปลูก ควรหยอดเมล็ด 2-3 เมล็ด/ หลุม ถ้าโรยเป็นแถว ควรโรยบาง ๆ และกลบวัสดุปลูกทับเมล็ดพันธุ์ผักที่โรยไว้
7. ควรหว่านปูนขาวบาง ๆ ลงบนผิวของวัสดุปลูก เพื่อป้องกันมดหรือแมลงเข้าทำลายเมล็ดพันธุ์
8. ควรวางภาชนะเพาะกล้าในที่ร่มรำไร และรดน้ำทุก ๆ วัน ละ 2 ครั้ง ในช่วงเช้าและเย็น
9. เมื่อเมล็ดเริ่มมีใบจริง ควรวางภาชนะเพาะกล้าให้ได้รับแสงสว่างในช่วงครึ่งวันเช้า หรือใช้วัสดุพรางแสงกั้นบนภาชนะที่ใช้เพาะกล้า เพื่อให้กล้าผักเริ่มปรับตัวแข็งแรงขึ้น และไม่กระทบกระเทือนต่อสภาพการย้ายปลูกต่อไป
10. เมื่อกล้าที่เพาะโตและแข็งแรงแล้ว ควรทำการย้ายกล้าลงแปลงปลูก
11. ใสปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก รองก้นหลุมก่อนปลูก เพื่อช่วยปรับสภาพดิน
หากเกษตรกรมีการเริ่มต้นทีดี จะช่วยให้การดูแลและการจัดการภายในสวนง่ายขึ้น และสามารถลดการสูญเสียและปัญหาต่าง ๆ ได้ในระดับหนึ่ง

No comments:

Post a Comment