Thursday, March 26, 2009

การทำปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ จากเศษอาหาร

การทำปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ จากเศษอาหาร
ปุ๋ยหมักจุลินทรีย์
การทำปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ จากเศษอาหาร
ทุกครัวเรือน ร้านอาหาร ภัตตาคาร ฯลฯ ล้วนมีเศษอาหารที่เป็นผักผลไม้ และเศษอาหารอื่น ๆ จำนวนมากน้อยแล้วแต่สถานที่ สามารถนำไปหมักเป็นปุ๋ยหมักชั้นเลิศ เพื่อใส่พืชผักและผลไม้ที่ปลูกไว้ได้
อุปกรณ์
- ถังพลาสติกมีฝาปิดขนาด 20 – 200 ลิตร แล้วแต่ปริมาณเศษอาหารที่จะได้หรือต้องการ เจาะรูติดก๊อกน้ำบริเวณก้นถัง เพื่อไว้ระบายน้ำปุ๋ยหมัก ใช้ก๊อกให้มีขนาดโตพอสมควร เพื่อป้องกันการอุดตัน
- ถุงขยะพลาสติกสีดำ เจาะรูเล็ก ๆ 2 – 3 รู เพื่อให้น้ำปุ๋ยหมักผ่านทะลุได้ หรือจะใช้ตาข่ายไนล่อนตาถี่เย็บเป็นถุงก็ได้ หรือจะใช้กระสอบปุ๋ยน้ำซึมผ่านได้ก็ใช้ได้
- นำเอาถุงใส่ปุ๋ยที่เตรียมไว้ ใส่ลงในถังหมักปุ๋ยที่มีวัสดุรองก้นถัง ให้สูงจากระดับก๊อกน้ำเล็กน้อย
- ใช้กากน้ำตาล 20 – 40 ซีซี ใส่คลุกกับเศษอาหาร 1.. และใส่จุลินทรีย์ EM ขยาย 10 – 20 ซีซี คลุกอีกครั้ง ใส่ลงในถุงใส่ปุ๋ยทุกวันจนเต็มถุง
- ปิดฝาถังหมักไว้ตลอดเวลา หมักไว้อย่างน้อย 7 วัน ก็จะมีน้ำปุ๋ยหมักซึมออกมา อยู่ที่ก้นถังหมัก
- ไขก๊อกเอาน้ำปุ๋ยหมักที่ได้ไปผสมน้ำในอัตรา 1 : 500 – 1,000 รดพืชและต้นไม้ทุก ๆ วัน
- ผสมน้ำปุ๋ยหมักกับอัตราส่วน 1 : 20 – 50 หรือไม่ผสมก็ได้ราดพื้นห้องส้วมชักโครกหรือจุดที่มีกลิ่นเหม็นบริเวณบ้าน หรือราดในท่อน้ำทิ้งเพื่อดับกลิ่นก็ได้ผลดี
- กากอาหารที่เหลือก็สามารถไปคลุมกับดินเป็นปุ๋ยต้นไม้ได้ดี
ข้อสังเกต
ถ้าหมักได้ที่จะไม่มีแมลงวันหรือมีกลิ่นเหม็น แต่กลิ่นจะหอมอมเปรี้ยว
ถ้ามีกลิ่นเหม็นและมีกลิ่นก๊าซแอมโมเนีย แสดงว่าหมักไม่ได้ผล
ระหว่างหมักอาจจะมีหนอนแมลงวันเกิด แต่มันไม่กลายเป็นแมลงวัน จะเป็นหนอนตัวโตกว่าปกติ มีอายุอยู่นานได้หลาย ๆ วัน แล้วจะตายไปเอง
น้ำปุ๋ยหมักที่ได้ เก็บไว้ได้นานกี่วันค่ะ

สามารถเก็บได้นาน 6 เดือน 1 ปี ระหว่างการเก็บหากมีอาการกลิ่น บูด เปรี้ยว ให้เติมกากน้ำตาลเพิ่มเหมือนการทำตอนแรกๆ

ปุ่ยหมักจุลินทรีมีประโยชน์อย่างไรค่ะ

และปุ่ยหมักจุลินทรย์มีความสำคัญต่อมนุษย์อย่างไร


หากนำกากอาหารที่เหลือจากการทำที่มีหนอนไปเทใต้ต้นไม้จะมีอะไรเกิดขึ้นหรือไม่

ประโยชน์ของปุ๋ยหมักจุลินทรีย์และปุ๋ยน้ำชีวภาพ

- ใช้เป็นหัวเชื้อในการทำปุ๋ยหมักอินทรีย์
- ใช้ในการกำจัดน้ำเสียและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
- ใช้ทำความสะอาดพื้นที่เลี้ยงสัตว์
- ใช้บำบัดกลิ่นเหม็นต่างๆ เช่น ห้องส้วม กองขยะ ท่อระบายน้ำ
- ใช้แทนปุ๋ยเคมี

ข้อควรระวังเกี่ยวกับปุ๋ยน้ำชีวภาพ
- การควบคุมปริมาณกากน้ำตาล เพื่อป้องกันการเกิดกลิ่นเหม็นระหว่างการหมัก
- การควบคุมการใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ โดยไม่ใช้ติดต่อกันหลายวันและ.ใช้ปริมาณที่เข้มข้นสูง

No comments:

Post a Comment