Thursday, March 26, 2009

อีเอ็ม (EM) คืออะไร EM ย่อมาจาก Effective Microorganisms หมายถึง กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ
ซึ่ง ศ.ดร.เทรูโอะ ฮิงะ นักวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญสาขาพืชสวน มหาวิทยาลัยริวกิว เมืองโอกินาวา
ประเทศญี่ปุ่น ได้ศึกษาแนวคิดเรื่อง " ดินมีชีวิต" ของท่านโมกิจิ โอกะดะ (พ.ศ.2425-249
บิดาเกษตรธรรมชาติของโลกจากนั้น ดร.ฮิงะ เริ่มค้นคว้าทดลองตั้งแต่ปี พ.ศ 2510 และค้นพบ EM เมื่อ พ.ศ.
2526 จากการค้นคว้าพบความจริงเกี่ยวกับจุลินทรีย์ว่ามี 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มสร้างสรรค์
เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพ มีประมาณ 10 % 2. กลุ่มทำลาย เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นโทษ
ทำให้เกิดโรค มีประมาณ 10 % 3. กลุ่มเป็นกลาง มีประมาณ 80 % จุลินทรีย์กลุ่มนี้หากกลุ่มใด
มีจำนวนมากกว่ากลุ่มนี้จะสนับสนุนหรือร่วมด้วย ดังนั้น การเพิ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพลงในดิน
ก็เพื่อให้กลุ่มสร้างสรรค์มีจำนวนมากกว่า
ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้จะช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้กลับมีพลังขึ้นมาอีกหลังจากที่ถูกทำลายด้วยสารเค
มีจนดินตายไป จุลินทรีย์มี 2 ประเภท 1. ประเภทต้องการอากาศ (Aerobic Bacteria) 2. ประเภทไม่ต้องการอากาศ
(Anaerobic Bacteria) จุลินทรีย์ทั้ง 2 กลุ่มนี้ ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และสามารถอยู่ร่วมกันได้
จากการค้นคว้าดังกล่าว ได้มีการนำเอาจุลินทรีย์ที่ได้รับการคัดและเลือกสรรอย่างดีจากธรรมชาติ
ที่มีประโยชน์ต่อพืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อม มารวมกัน 5 กลุ่ม (Families) 10 จีนัส (Genues) 80 ชนิด
(Spicies) ได้แก่ กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกเชื้อราที่มีเส้นใย (Filamentous fungi)
ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งการย่อยสลาย สามารถทำงานได้ดีในสภาพที่มีออกซิเจน มีคุณสมบัติต้านทานความร้อนได้ดี
ปกติใช้เป็นหัวเชื้อผลิตเหล้า ผลิตปุ๋ยหมัก ฯลฯ กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสังเคราะห์แสง
(Photosynthetic microorganisms) ทำหน้าที่สังเคราะห์สารอินทรีย์ให้แก่ดิน เช่น ไนโตรเจน (N2) กรดอะมิโน
(Amino acids) น้ำตาล (Sugar) วิตามิน (Vitamins) ออร์โมน (Hormones) และอื่นๆ
เพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้แก่ดิน กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมัก (Zynogumic or Fermented
microorganisms) ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นให้ดินต้านทานโรค (Diseases resistant) ฯลฯ
เข้าสู่วงจรการย่อยสลายได้ดี ช่วยลดการ พังทลายของดิน ป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืชบางชนิด ของพืชและสัตว์
สามารถบำบัดมลพิษในน้ำเสียที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษต่างๆ ได้ กลุ่มที่ 4
เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกตรึงไนโตรเจน (Nitrogen fixing microorganisms) มีทั้งพวกที่เป็นสาหร่าย (Algae)
และพวกแบคทีเรีย (Bacteria)
ทำหน้าที่ตรึงก๊าซไนโตรเจนจากอากาศเพื่อให้ดินผลิตสารที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโต เช่น โปรตีน
(Protein) กรดอินทรีย์ (Organic acids) กรดไขมัน (Fatty acids) แป้ง (Starch or Carbohydrates)
ฮอร์โมน(Hormones) วิตามิน (Vitamins) ฯลฯ กลุ่มที่ 5 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสร้างกรดแลคติก (Lactic
acids) มีประสิทธิภาพในการต่อต้านเชื้อรา และแบคทีเรียที่เป็นโทษ
ส่วนใหญ่เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศหายใจ ทำหน้าที่เปลี่ยนสภาพดินเน่าเปื่อย
หรือดินก่อโรคให้เป็นดินที่ต้านทานโรค ช่วยลดจำนวนจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคพืชที่มีจำนวนนับแสน
หรือให้หมดไป นอกจากนี้ยังช่วยย่อยสลายเปลือกเมล็ดพันธุ์พืช
ช่วยให้เมล็ดงอกได้ดีและแข็งแรงกว่าปกติอีกด้วย ลักษณะทั่วไปของ EM EM เป็นจุลินทรีย์ กลุ่มสร้างสรรค์
เป็นกลุ่มที่มีประโยชน์ หรือ เรียกว่ากลุ่มธรรมะ ดังนั้น เวลาจะใช้ EM ต้องคำนึงถึงอยู่เสมอว่า EM เป็น
สิ่งมีชีวิต EM มีลักษณะดังนี้ ต้องการที่อยู่ ที่เหมาะสม ไม่ร้อนเกินไป หรือเย็นเกินไป
อยู่ในอุณหภูมิปกติ ต้องการอาหารจากธรรมชาติ เช่น น้ำตาล รำข้าว โปรตีน และสารประกอบอื่นๆ
ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต เป็นจุลินทรีย์จากธรรมชาติ ไม่สามารถใช้ร่วมกับสารเคมีและ
ยาฆ่าเชื้อต่างๆ ได้ เป็นตัวเอื้อประโยชน์แก่พืช สัตว์ และสิ่งมีชีวิตทั้งมวล EM จะทำงานในที่มืดได้ดี
ดังนั้นควรใช้ช่วงเย็นของวัน เป็นตัวทำลายความสกปรกทั้งหลาย การดูแลเก็บรักษา หัวเชื้อ EM
สามารถเก็บได้นานประมาณ 1 ปี โดยปิดฝา ให้สนิท อย่าทิ้ง EM ไว้กลางแดด และ อย่าเก็บไว้ในตู้เย็น
เก็บรักษาไว้ในอุณหภูมิปกติ ทุกครั้งที่แบ่งไปใช้ต้องรีบปิดฝาให้สนิท เพื่อไม่ให้เชื้อโรค
หรือจุลินทรีย์ในอากาศที่เป็นโทษ เข้าไปปะปน การนำ EM ไปขยายต่อ ควรใช้ภาชนะที่สะอาด
และใช้ให้หมดในระยะเวลาที่เหมาะสม ข้อสังเกตพิเศษ หาก EM เปลี่ยนเป็นสีดำ มีกลิ่นเหม็นเน่า ถือว่า EM
ตาย ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อีก ให้นำ EM ที่เสียผสมน้ำรดกำจัดหญ้าและวัชชพืชที่ไม่ต้องการได้
กรณีเก็บไว้นานๆ จะมีฝ้าขาวเหนือผิวน้ำ แสดงว่า EM พักตัว เมื่อเขย่าภาชนะ ฝ้าสีขาวจะสลายตัว
กลับไปอยู่ในน้ำเหมือนเดิมนำไปใช้ได้ เมื่อนำไปขยายเชื้อในน้ำและกากน้ำตาล จะมีกลิ่นหอมและ เป็นฟองขาวๆ
ภายใน 2-3 วัน ถ้าไม่มีฟอง น้ำนิ่งสนิทแสดงว่าการหมักขยายเชื้อยังไม่ได้ผล การประยุกต์ใช้ปุ๋ยชีวภาพ
ปัจจุบัน EM ได้รับความนิยมขยายไปสู่ชาวโลก เนื่องจากเป็นจุลินทรีย์ที่ไม่มีพิษภัย มีแต่ประโยชน์
ถ้าสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง และมุ่งเน้นการไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ทำให้การขยายการใช้ EM ไป
สู่เกษตรกรและองค์กรทั่วโลกแล้วกว่า 30 ประเทศ อาทิ International Nature Farming Reserch Center
Movement (INFRC) JAPAN, EM Research Orgnization (EMRO) JAPAN, International Federation of
Agriculture Movement (IFOAM) GERMANY เป็นต้น และ California Certified Organics Farmers
ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเกษตรธรรมชาติได้ให้คำรับรองเมื่อ คศ.1993
ว่าเป็นวัสดุประเภทจุลินทรีย์ (Microbial Innoculant) ที่ปลอดภัยและได้ผลจริง 100 % สำหรับในประเทศไทย
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้นำไปวิเคราะห์แล้วรับรองว่าจุลินทรีย์ EM
ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ จึงสามารถนำ EM ไปใช้ประโยชน์ได้หลายประการ ดังนี้ ใช้กับพืชทุกชนิด
ใช้กับการปศุสัตว์ ใช้กับการประมง ใช้กับสิ่งแวดล้อม วัตถุประสงค์หลักของการใช้ปุ๋ยชีวภาพ
ลดต้นทุนการผลิต ผลผลิตปลอดสารพิษและสารเคมี รักษาสิ่งแวดล้อม ผลผลิตสูงมีคุณค่าทางโภชนาการ และรสชาติดี
สุขภาพผู้ผลิต และผู้บริโภคแข็งแรงมีพลานามัยดี ช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจ และจิตใจของผู้ผลิตและผู้บริโภค
พัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นวิธีง่ายๆ ใครก็ทำได้ EM ขยาย คือการทำให้ได้จุลินทรีย์ที่แข็งแรง
มีประสิทธิภาพเพิ่มจำนวนมากโดยการใช้อาหารประเภทกากน้ำตาลหรืออื่นๆ ที่ใช้แทนกันได้ ส่วนผสม EM 2
ช้อนโต๊ะ กากน้ำตาล 2 ช้อนโต๊ะ น้ำสะอาด 1 ลิตร วิธีทำ ใส่น้ำสะอาดในภาชนะที่ต้องการ
ขวดพลาสติกมีฝาเกลียว ตามส่วน (ไม่ควรใช้ภาชนะที่เป็นแก้ว เพราะเมื่อจุลินทรีย์เพิ่มจำนวนจะเกิดแก๊ส
ทำให้แตกได้) ใส่ EM ผสมกากน้ำตาลลงในน้ำที่เตรียมไว้ปิดฝาให้มิดชิด เขย่าให้ละลายเข้ากัน
หมักไว้อย่างน้อย 3 วัน วิธีใช้ นำไปใช้ได้เหมือน EM สด ยกเว้น การให้สัตว์กิน การฉีดพ่นเพื่อปรับอากาศ
ไม่ต้องใส่กากน้ำตาลและควรใช้ไห้หมดภายใน 3 เดือน เมื่อครบ 3
วันขึ้นไปนำไปขยายโดยใช้ส่วนผสมข้างต้นได้อีก วัสดุที่ใช้แทนกากน้ำตาล (1 ช้อนโต๊ะ) - น้ำอ้อย น้ำตาลสด
น้ำมะพร้าว น้ำซาวข้าว น้ำผลไม้ที่คั้นสดๆ อาทิ น้ำส้ม น้ำสับปะรด ฯลฯ ไม่ใส่สารกันบูด
หรือน้ำตาลทรายแดงผสมน้ำข้นๆ อย่างใดอย่างหนึ่งแทนกากน้ำตาล ปริมาณ 1/4 แก้ว - นมข้นหวาน นมเปรี้ยว 1
ช้อนโต๊ะ - น้ำปัสสาวะ 1/2 แก้ว หาข้อมูลเพิ่มเติมที่ chivavithee.net กฟผ.เป็นผู้สนับสนุน




No comments:

Post a Comment