Thursday, March 26, 2009

การประยุกต์ใช้ปุ๋ยชีวภาพ (การประยุกต์ใช้ EM)

การประยุกต์ใช้ปุ๋ยชีวภาพ (การประยุกต์ใช้ EM)
เรียบเรียง จัดทำโดย นายรังสรรค์ งูทิพย์
จากหนังสือ โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

การประยุกต์ใช้ปุ๋ยชีวภาพ (การประยุกต์ใช้ EM)
ปัจจุบัน EM ได้รับความนิยมขยายไปสู่ชาวโลก เนื่องจากเป็นจุลินทรีย์ที่ไม่มีพิษภัย มีแต่ประโยชน์ ถ้าสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง และมุ่งเน้นการไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ทำให้การขยายการใช้ EM ไปสู่เกษตรกรและองค์กรทั่วโลกแล้วกว่า 30 ประเทศ อาทิ International Nature Faming Reserch Center Movement (INFRC) JAPAN, EM Reserch Organization (EMRO) JAPAN, International Federtion of Agriculfure Movement (IFOAM) GERMAN เป็นต้น และ California Certified Organnization Framers ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเกษตรธรรมชาติได้ให้คำรับรองเมื่อ คศ.1993 ว่าเป็นวัสดุประเภทจุลินทรีย์ (Microbial Innoculant) ที่ปลอดภัยและได้ผลจริง 100 %
สำหรับในประเทศไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้นำไปวิเคราะห์แล้วรับรองว่าจุลินทรีย์ EM ไม่เป็นอันตราย ต่อมนุษย์และสัตว์ จึงสามารถนำ EM ไปใช้ประโยชน์ได้หลายประการ ดังนี้
1. ใช้กับพืชทุกชนิด
2. ใช้กับปศุสัตว์
3. ใช้กับการประมง
4. ใช้กับสิ่งแวดล้อม

วัตถุประสงค์หลักของการใช้ปุ๋ยชีวภาพ
1. ลดต้นทุนการผลิต
2. ผลผลิตปลอดสารพิษและสารเคมี รักษาสิ่งแวดล้อม
3. ผลผลิตสูงคุณค่าทางโภชนาการและรสชาดดี
4. สุขภาพผู้ผลิตและผู้บริโภคแข็งแรงมีพลานามัยดี
5. ช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจและจิตใจผู้ผลิตและผู้บริโภค พัฒนาคุณภาพชีวิต
6. เป็นวิธีง่าย ๆ ใคร ๆ ก็สามารถทำได้

จุลินทรีย์ EM มีประโยชน์อย่างไร ?
การใช้จุลินทรีย์สด หรือ EM สด หมายถึง การใช้จุลินทรีย์ (EM) จากโรงงานผลิต หรือ ผู้จำหน่ายที่ยังไม่ได้ทำการแปรสภาพ

วิธีใช้และประโยชน์ EM สด

1. ใช้กับพืช (เป็นปุ๋ยน้ำ)

* ผสมน้ำในอัตรา 1:100 (EM 1 ช้อนโต๊ะ กากน้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ ต่อ น้ำ 10 ลิตร) ใช้ฉีด พ่น รด ราด พืชต่าง ๆ ให้ทั่วจากดิน ลำต้น กิ่ง ใบ และนอกทรงพุ่ม

* พืช ผัก ให้ฉีด พ่น รด ราด ทุก 3 วัน

* ไม้ดอก ไม้ประดับ เดือนละ 1 ครั้ง การใช้จุลินทรีย์สดในดิน ควรมีอินทรีย์วัตถุปกคลุมดินด้วย เช่น ฟางแห้ง ใบไม้แห้ง ฯลฯ เพื่อรักษาความชื้นและเป็นอาหารของจุลินทรีย์ต่อไป

2. ใช้ในการทำ EM ขยาย, ปุ๋ยแห้ง (ดูรายละเอียดการทำ)

3. ใช้กับสัตว์ (ไม่ต้องผสมกากน้ำตาล)

* ผสม EM 1 ช้อนโต๊ะ ต่อ น้ำ 200 ลิตร ให้สัตว์กินทำให้แข็งแรง

* ผสม EM 1 ช้อนโต๊ะ ต่อ น้ำ 10 ลิตร ใช้พ่นคอกสัตว์ให้สะอาดและกำจัดกลิ่น

* หากสัตว์เป็นโรคทางเดินอาหารให้กิน EM สด 1 ช้อนโต๊ะ ผสมกับอาหารให้สัตว์กิน ฯลฯ

4. ใช้กับสิ่งแวดล้อม

* ใส่ห้องน้ำ ห้องส้วม ในโถส้วมทุกวัน ๆ ละ 1 ช้อนโต๊ะ (หรือสัปดาห์ละ 1/2 แก้ว) ช่วยให้เกิดการย่อยสลายไม่มีกากทำให้ส้วมไม่เต็ม

* กำจัดกลิ่น ด้วยการผสมกากน้ำตาลในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 ต่อ 1,000 (EM 1 ช้อนโต๊ะ ต่อ กากน้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ ต่อ น้ำ 1 ลิตร) ฉีดพ่นทุก 3 วัน

* บำบัดน้ำเสีย 1 ต่อ 10,000 หรือ EM 2 ช้อนโต๊ะ ต่อ น้ำ 200 ลิตร

* ใช้กำจัดเศษอาหาร หรือ ทำปุ๋ยน้ำจากเศษอาหาร (ดูรายละเอียดการทำ)

* แก้ไขท่ออุดตัน EM 1 ช้อนโต๊ะใส่ 5-7 วัน/ครั้ง

* ฉีดพ่นปรับอากาศในครัวเรือน

* กำจัดกลิ่นในแหล่งต่าง ๆ เช่น 1. ใช้ฉีด รด พ่น ราดลงในแหล่งน้ำ 1 ลิตร ต่อ 10 ลบ.ม., 2. กลิ่นจากของแห้งแข็ง มีความชื้นต่ำ แล้วแต่สภาพความแห้งหรือความเหม็น โดยผสมน้ำ 1 ต่อ 10 หรือ 20 หรือ 500 ส่วน, 3. ขยะแห้งประเภทกระดาษ ใบตอง เศษอาหาร ใช้ฉีดพ่น อัตรา EM ขยาย 1 ส่วน ผสมน้ำ 500 ส่วน หรือ EM ขยาย 1 ลิตร ต่อ น้ำ 500 ลิตร

วิธีใช้และประโยชน์ EM ขยาย
1. ใช้กับพืชเหมือน EM สด
2. ใช้กับสัตว์

* ผสม น้ำ 1 ต่อ 100 ฉีดพ่นคอก กำจัดแมลงรบกวน

* ผสม น้ำ 1 ต่อ 1,000 ล้างคอก กำจัดกลิ่น

* ผสม น้ำ 1 ต่อ 500 หรือ 2 ช้อนโต๊ะ น้ำ 10 ลิตร เพื่อหมักหญ้าแห้ง ฟางแห้ง เป็นอาหารสัตว์

3. ใช้ทำปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยแห้ง เหมือนใช้ EM สด (ดูรายละเอียดการทำ)
4. ใช้กับสิ่งแวดล้อม เหมือนใช้ EM สด

ประโยชน์ของปุ๋ยแห้ง
1. ใช้กับพืช

* รองก้นหลุมร่วมกับวัตถุอินทรีย์ เช่น ฟางแห้ง ใบไม้แห้ง

* คลุมดินคือ โรยผิวดิน บนแปลงผัก หรือใต้ทรงพุ่มของต้นไม้

* ใช้ในไร่ นา ร่วมกับ EM ขยาย (ดูรายละเอียดการทำ)

* ใส่ถุงแช่น้ำในอัตรา 1 กก. ต่อ น้ำ 200 ลิตร หมักไว้ 12-24 ชั่วโมง นำไปรดพืช ผัก

2. ใช้กับการประมง

* เพื่อสร้างอาหารในน้ำก่อนปล่อยสัตว์ลงน้ำ

* เพื่อบำบัดน้ำเสียในบ่อเลี้ยง

* ผสมอาหารสัตว์

2. ใช้กับปศุสัตว์

* ผสมอาหารให้สัตว์กิน

4. ใช้กับสิ่งแวดล้อม

* เพื่อบำบัดกลิ่นร่วมกับ EM ขยาย

* เพื่อบำบัดน้ำเสียร่วมกับ EM ขยาย

* ใช้ในการหมักเศษอาหาร ทำปุ๋ยน้ำ

* ใช้ในขยะเปียกอื่น ๆ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ต่อไป

วิธีการผลิตจุลินทรีย์ขยาย (EM ขยาย) ปุ๋ยชีวภาพ ฮอร์โมน และสารไล่แมลงสัตรูพืช

1. EM ขยาย


2. ปุ๋ยน้ำ(ใช้ทันที) ปุ๋ยชีวภาพ

3. การทำปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยแห้ง(โบกาฉิ)


4. การทำปุ๋ยแห้ง 24 ชั่วโมง(การขยายปุ๋ยแห้ง)

5. การทำซุปเปอร์โบกาฉิผสมอาหารสัตว์


6. การทำปุ๋ยน้ำจากปุ๋ยแห้ง(ใช้ใน 1 วัน)

7. การทำฮอร์โมนผลไม้


8. การทำฮอร์โมนยอดพืช

9. การทำสารไล่ศัตรูพืช(สุโตจูหรือ EM 5)


10. การทำสารไล่ศัตรูพืชสูตรเข้มข้น(ซุปเปอร์สุโตจู)

11. สูตรป้องกันเชื้อราหรือไร


12. สูตรไล่หอยหรือเพลี้ยไฟป้องกันใบข้าวไหม้

13. สารสมุนไพรชลอการเติบโตของเชื้อรา เอ็นแท็กโน๊ต(หมายเลข 07)


14. การทำสารสกัดชีวภาพ

15. สูตรไล่แมลง


16. สูตรไล่มด

No comments:

Post a Comment