Thursday, March 26, 2009

อีเอ็ม (EM)

อีเอ็ม (EM) คืออะไร
EM ย่อมาจาก Effective Microorganisms หมายถึง กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่ง ศ.ดร.เทรูโอะ ฮิงะ นักวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญสาขาพืชสวน มหาวิทยาลัยริวกิว เมืองโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น ได้ศึกษาแนวคิดเรื่อง " ดินมีชีวิต" ของท่านโมกิจิ โอกะดะ (พ.ศ.2425-2498) บิดาเกษตรธรรมชาติของโลกจากนั้น ดร.ฮิงะ เริ่มค้นคว้าทดลองตั้งแต่ปี พ.ศ 2510 และค้นพบ EM เมื่อ พ.ศ. 2526 ท่านอุทิศทุ่มเททำการวิจัยผลว่ากลุ่มจุลินทรีย์นี้ใช้ได้ผลจริง หลังจากนั้นศาสนาจารย์วาคุกามิ ได้นำมาเผยแพร่ในประเทศไทย โดยท่านเป็นประธานมูลนิธิบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ด้วยกิจกรรมทางศาสนา หรือ คิวเซ (คิวเซ แปลว่า ช่วยเหลือโลก) ปัจจุบัน ตั้งอยู่ที่ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี

จากการค้นคว้าพบความจริงเกี่ยวกับจุลินทรีย์ว่ามี 3 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพ มีประมาณ 10 %
2. กลุ่มทำลาย เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นโทษ ทำให้เกิดโรค มีประมาณ 10 %
3. กลุ่มเป็นกลาง มีประมาณ 80 % จุลินทรีย์กลุ่มนี้หากกลุ่มใด มีจำนวนมากกว่ากลุ่มนี้จะสนับสนุนหรือร่วมด้วย


ดัง นั้น การเพิ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพลงในดิน ก็เพื่อให้กลุ่มสร้างสรรค์มีจำนวนมากกว่า ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้จะช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้กลับมีพลังขึ้นมา อีกหลังจากที่ถูกทำลายด้วยสารเคมีจนดินตายไป

จุลินทรีย์มี 2 ประเภท
1. ประเภทต้องการอากาศ (Aerobic Bacteria)
2. ประเภทไม่ต้องการอากาศ (Anaerobic Bacteria)

จุลินทรีย์ทั้ง 2 กลุ่มนี้ ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และสามารถอยู่ร่วมกันได้
จาก การค้นคว้าดังกล่าว ได้มีการนำเอาจุลินทรีย์ที่ได้รับการคัดและเลือกสรรอย่างดีจากธรรมชาติ ที่มีประโยชน์ต่อพืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อม มารวมกัน 5 กลุ่ม (Families) 10 จีนัส (Genues) 80 ชนิด (Spicies) ได้แก่

กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกเชื้อราที่มีเส้นใย (Filamentous fungi) ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งการย่อยสลาย สามารถทำงานได้ดีในสภาพที่มีออกซิเจน มีคุณสมบัติต้านทานความร้อนได้ดี ปกติใช้เป็นหัวเชื้อผลิตเหล้า ผลิตปุ๋ยหมัก ฯลฯ

กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสังเคราะห์แสง (Photosynthetic microorganisms) ทำหน้าที่สังเคราะห์สารอินทรีย์ให้แก่ดิน เช่น ไนโตรเจน (N2) กรดอะมิโน (Amino acids) น้ำตาล (Sugar) วิตามิน (Vitamins) ออร์โมน (Hormones) และอื่นๆ เพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้แก่ดิน


กลุ่ม ที่ 3 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมัก (Zynogumic or Fermented microorganisms) ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นให้ดินต้านทานโรค (Diseases resistant) ฯลฯ เข้าสู่วงจรการย่อยสลายได้ดี ช่วยลดการ พังทลายของดิน ป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืชบางชนิด ของพืชและสัตว์ สามารถบำบัดมลพิษในน้ำเสียที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษต่างๆ ได้


กลุ่ม ที่ 4 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกตรึงไนโตรเจน (Nitrogen fixing microorganisms) มีทั้งพวกที่เป็นสาหร่าย (Algae) และพวกแบคทีเรีย (Bacteria) ทำหน้าที่ตรึงก๊าซไนโตรเจนจากอากาศเพื่อให้ดินผลิตสารที่เป็นประโยชน์ต่อการ เจริญเติบโต เช่น โปรตีน (Protein) กรดอินทรีย์ (Organic acids) กรดไขมัน (Fatty acids) แป้ง (Starch or Carbohydrates) ฮอร์โมน(Hormones) วิตามิน (Vitamins) ฯลฯ


กลุ่มที่ 5 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสร้างกรดแลคติก (Lactic acids) มีประสิทธิภาพในการต่อต้านเชื้อรา และแบคทีเรียที่เป็นโทษ ส่วนใหญ่เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศหายใจ ทำหน้าที่เปลี่ยนสภาพดินเน่าเปื่อย หรือดินก่อโรคให้เป็นดินที่ต้านทานโรค ช่วยลดจำนวนจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคพืชที่มีจำนวนนับแสน หรือให้หมดไป นอกจากนี้ยังช่วยย่อยสลายเปลือกเมล็ดพันธุ์พืช ช่วยให้เมล็ดงอกได้ดีและแข็งแรงกว่าปกติอีกด้วย



ลักษณะทั่วไปของ EM

EM เป็นจุลินทรีย์ กลุ่มสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มที่มีประโยชน์ หรือ เรียกว่ากลุ่มธรรมะ ดังนั้น เวลาจะใช้ EM ต้องคำนึงถึงอยู่เสมอว่า EM เป็น สิ่งมีชีวิต EM มีลักษณะดังนี้

ต้องการที่อยู่ ที่เหมาะสม ไม่ร้อนเกินไป หรือเย็นเกินไป อยู่ในอุณหภูมิปกติ
ต้องการอาหารจากธรรมชาติ เช่น น้ำตาล รำข้าว โปรตีน และสารประกอบอื่นๆ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต
เป็นจุลินทรีย์จากธรรมชาติ ไม่สามารถใช้ร่วมกับสารเคมีและ ยาฆ่าเชื้อต่างๆ ได้
เป็นตัวเอื้อประโยชน์แก่พืช สัตว์ และสิ่งมีชีวิตทั้งมวล
EM จะทำงานในที่มืดได้ดี ดังนั้นควรใช้ช่วงเย็นของวัน
เป็นตัวทำลายความสกปรกทั้งหลาย
การดูแลเก็บรักษา

หัวเชื้อ EM สามารถเก็บได้นานประมาณ 1 ปี โดยปิดฝา ให้สนิท
อย่าทิ้ง EM ไว้กลางแดด และ อย่าเก็บไว้ในตู้เย็น เก็บรักษาไว้ในอุณหภูมิปกติ
ทุกครั้งที่แบ่งไปใช้ต้องรีบปิดฝาให้สนิท เพื่อไม่ให้เชื้อโรค หรือจุลินทรีย์ในอากาศที่เป็นโทษ เข้าไปปะปน
โดย: [0 3] ( IP )
ความคิดเห็นที่ 2

การนำ EM ไปขยายต่อ ควรใช้ภาชนะที่สะอาด และใช้ให้หมดในระยะเวลาที่เหมาะสม

ข้อสังเกตพิเศษ

หาก EM เปลี่ยนเป็นสีดำ มีกลิ่นเหม็นเน่า ถือว่า EM ตาย ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อีก ให้นำ EM ที่เสียผสมน้ำรดกำจัดหญ้าและวัชชพืชที่ไม่ต้องการได้
กรณีเก็บไว้นานๆ จะมีฝ้าขาวเหนือผิวน้ำ แสดงว่า EM พักตัว เมื่อเขย่าภาชนะ ฝ้าสีขาวจะสลายตัว กลับไปอยู่ในน้ำเหมือนเดิมนำไปใช้ได้
เมื่อ นำไปขยายเชื้อในน้ำและกากน้ำตาล จะมีกลิ่นหอมและ เป็นฟองขาวๆ ภายใน 2-3 วัน ถ้าไม่มีฟอง น้ำนิ่งสนิทแสดงว่าการหมักขยายเชื้อยังไม่ได้ผล
โดย: ศรีราชาดีไลท์ [10 ก.ค. 49 13:06] ( IP A:61.90.200.2 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
EM ขยาย
คือการทำให้ได้จุลินทรีย์ที่แข็งแรง มีประสิทธิภาพเพิ่มจำนวนมากโดยการใช้อาหารประเภทกากน้ำตาลหรืออื่นๆ ที่ใช้แทนกันได้
ส่วนผสม
1. EM 2 ช้อนโต๊ะ
2. กากน้ำตาล 2 ช้อนโต๊ะ
3. น้ำสะอาด 1 ลิตร
วิธีทำ
• ใส่น้ำสะอาดในภาชนะที่ต้องการ ขวดพลาสติกมีฝาเกลียว ตามส่วน (ไม่ควรใช้ภาชนะที่เป็นแก้ว เพราะเมื่อจุลินทรีย์เพิ่มจำนวนจะเกิดแก๊ส ทำให้แตกได้)
• ใส่ EM ผสมกากน้ำตาลลงในน้ำที่เตรียมไว้ปิดฝาให้มิดชิด
• เขย่าให้ละลายเข้ากัน หมักไว้อย่างน้อย 3 วัน
วิธีใช้
• นำไปใช้ได้เหมือน EM สด ยกเว้น การให้สัตว์กิน การฉีดพ่นเพื่อปรับอากาศ ไม่ต้องใส่กากน้ำตาลและควรใช้ไห้หมดภายใน 3 เดือน
• เมื่อครบ 3 วันขึ้นไปนำไปขยายโดยใช้ส่วนผสมข้างต้นได้อีก
โดย: ศรีราชาดีไลท์ [10 ก.ค. 49 13:07] ( IP A:61.90.200.2 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
วัสดุที่ใช้แทนกากน้ำตาล (1 ช้อนโต๊ะ) - น้ำอ้อย น้ำตาลสด น้ำมะพร้าว น้ำซาวข้าว น้ำผลไม้ที่คั้นสดๆ อาทิ น้ำส้ม น้ำสับปะรด ฯลฯ ไม่ใส่สารกันบูด หรือน้ำตาลทรายแดงผสมน้ำข้นๆ อย่างใดอย่างหนึ่งแทนกากน้ำตาล ปริมาณ 1/4 แก้ว
- นมข้นหวาน นมเปรี้ยว 1 ช้อนโต๊ะ
- น้ำปัสสาวะ 1/2 แก้ว
โดย: ศรีราชาดีไลท์ [10 ก.ค. 49 13:07] ( IP A:61.90.200.2 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
การทำปุ๋ยหมัก หรือ ปุ๋ยแห้ง ด้วยจุลินทรีย์ (โบกาฉิ)

การทำปุ๋ยแห้ง หมายถึง การนำเอา EM มาหมักกับอินทรีย์วัตถุ
เป็น การขยายจำนวนจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ให้มีจำนวนมากขึ้นแข็งแรงขึ้น และฟักตัวอยู่ในอินทรีย์วัตถุ เพื่อนำไปใช้ปรับปรุงสภาพดิน ให้ร่วนซุย มีธาตุอาหารที่สำคัญ เหมาะแก่การเพาะปลูก นอกจากนี้ ยังใช้กับการเลี้ยงสัตว์ได้ด้วย
ส่วนผสม
1. มูลสัตว์แห้ง ต่างๆ เช่น ไก่ สุกร เป็ด ค้างคาว วัว ฯลฯ นำมาผึ่งให้แห้ง 1 ส่วนหรือ 1 กระสอบ
2. แกลาบดิน หรือ ฟางแห้ง หรือ หญ้าแห้ง หรือ ใบไม้แห้ง หรือ ผักตบชวาแห้ง หรือ ขี้เลื่อย 1 ส่วน หรือ 1 กระสอบ
3. รำละเอียด หรือ มันสำปะหลังป่น หรือ คายข้าว 1 ส่วน หรือ 1 กระสอบ
4. EM + กากน้ำตาล อย่างละ 2 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 10 ลิตร หรือ 1 ถัง คนให้เข้ากัน
วิธีทำ
• คลุกรำละเอียด กับมูลสัตว์แห้งที่บดหรือย่อยให้เล็กเข้าด้วยกัน
• นำแกลบดิน หรือวัสดุ ที่ใช้แทนตัดสั้นๆ จุ่มลงในถังน้ำที่ผสม EM + กากน้ำตาล ไว้ ช้อนเอามาคลุกกับรำ และมูลสัตว์ที่ผสมไว้แล้ว คลุกส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน
• ความชื้นให้ได้ 40-50% ดูได้จากการทำส่วนผสมเมื่อบีบเป็นก้อน จะไม่มีน้ำไหลออกจากง่ามนิ้ว และแตกเมื่อคลายมือออกหรือเมื่อทิ้งลงพื้น แสดงว่าใช้ได้
• นำส่วนผสมไปใส่กระสอบ ถุงปุ๋ย หรือถุงอาหารสัตว์ ที่อากาศถ่ายเทได้ ? ของกระสอบ ไม่ต้องกดให้แน่น มัดปากกระสอบไว้ พลิกกระสอบแต่ละด้านทุกวัน วันที 2-3 จับกระสอบดูจะร้อน อุณหภูมิประมาณ 40 ฐC-45 ฐC วันที่ 4-5 จะค่อยๆ เย็นลง จนอุณหภูมิปกติ เปิดกระสอบดู จะได้ปุ๋ยแห้งร่วนนำไปใช้ได้
• หากไม่มีกระสอบ หรือทำปริมาณมาก เมื่อผสมกันดีแล้ว ให้นำไปกองบนกระสอบป่าน หรือฟางแห้งที่ใช้รองพื้นหนาประมาณ 1 ฟุต แล้วคลุมด้วยกระสอบ หรือ สแลน กลับวันละ 1-2 ครั้ง ให้อากาศถ่ายเททั่วถึงประมาณ 5-7 วัน ดูให้อุณหภูมิปกติปุ๋ยแห้งร่วนดี เก็บใส่ถุงไว้ใช้
โดย: ศรีราชาดีไลท์ [10 ก.ค. 49 13:08] ( IP A:61.90.200.2 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
การทำสารไล่ศัตรูพืช (สุโตจู / EM 5)
ส่วนผสม
1. เหล้าขาวไม่เกิน 40 ดีกรี 1 ส่วน หรือ 1 ขวด หรือ 1 ลิตร
2. น้ำส้มสายชู 5 % 1 ส่วน หรือ 1 ขวด หรือ 1 ลิตร
3. EM 1 ส่วน หรือ 1 ขวด หรือ 1 ลิตร
4. กากน้ำตาล 1 ส่วน หรือ 1 ขวด หรือ 1 ลิตร
5. น้ำสะอาด 10 ส่วน หรือ 10 ขวด หรือ 10 ลิตร
วิธีทำ
• นำกากน้ำตาลผสมน้ำเขย่าให้เข้ากัน ใส่เหล้าขาวและน้ำส้มสายชู
• ใส่ EM คนให้เข้ากัน
• ปิดฝาภาชนะให้สนิท หมักไว้ 10-15 วัน
• เขย่าภาชนะทุกวัน เพื่อไม่ให้เกิดการนอนก้น เปิดฝาระบาย ก๊าซหลังจากเขย่า ครบกำหนดนำไปใช้เพื่อขับไล่แมลง ป้องกันโรคพืชบางชนิด เช่น ใบหงิก ใบด่าง เพลี้ยแป้ง หนอนชอนใบ ฯลฯ
วิธีใช้
• ใช้ 10-50 ซีซี (1-5 ช้อนโต๊ะ) ผสมน้ำสะอาด 5-10 ลิตร
• ฉีดพ่น ให้ชุ่ม และทั่วถึง นอกและในทรงพุ่ม
• ใช้กับพืช ผัก ทุก 3 วัน สลับกับการพ่นปุ๋ยน้ำ
• พืชไร่ พืชสวน ทุก 3-7 วัน สลับกับการพ่นปุ๋ยน้ำ
• ผสมกากน้ำตาล หรือ นมสด ฯลฯ เป็นสารจับใบ
โดย: ศรีราชาดีไลท์ [10 ก.ค. 49 13:09] ( IP A:61.90.200.2 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
การทำสารไล่ศัตรูพืช (สุโตจู / EM 5)
ส่วนผสม
1. เหล้าขาวไม่เกิน 40 ดีกรี 1 ส่วน หรือ 1 ขวด หรือ 1 ลิตร
2. น้ำส้มสายชู 5 % 1 ส่วน หรือ 1 ขวด หรือ 1 ลิตร
3. EM 1 ส่วน หรือ 1 ขวด หรือ 1 ลิตร
4. กากน้ำตาล 1 ส่วน หรือ 1 ขวด หรือ 1 ลิตร
5. น้ำสะอาด 10 ส่วน หรือ 10 ขวด หรือ 10 ลิตร
วิธีทำ
• นำกากน้ำตาลผสมน้ำเขย่าให้เข้ากัน ใส่เหล้าขาวและน้ำส้มสายชู
• ใส่ EM คนให้เข้ากัน
• ปิดฝาภาชนะให้สนิท หมักไว้ 10-15 วัน
• เขย่าภาชนะทุกวัน เพื่อไม่ให้เกิดการนอนก้น เปิดฝาระบาย ก๊าซหลังจากเขย่า ครบกำหนดนำไปใช้เพื่อขับไล่แมลง ป้องกันโรคพืชบางชนิด เช่น ใบหงิก ใบด่าง เพลี้ยแป้ง หนอนชอนใบ ฯลฯ
วิธีใช้
• ใช้ 10-50 ซีซี (1-5 ช้อนโต๊ะ) ผสมน้ำสะอาด 5-10 ลิตร
• ฉีดพ่น ให้ชุ่ม และทั่วถึง นอกและในทรงพุ่ม
• ใช้กับพืช ผัก ทุก 3 วัน สลับกับการพ่นปุ๋ยน้ำ
• พืชไร่ พืชสวน ทุก 3-7 วัน สลับกับการพ่นปุ๋ยน้ำ
• ผสมกากน้ำตาล หรือ นมสด ฯลฯ เป็นสารจับใบ
โดย: ศรีราชาดีไลท์ [10 ก.ค. 49 13:09] ( IP A:61.90.200.2 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
การทำฮอร์โมนยอดพืช
ส่วนผสม
1. ยอดสะเดาทั้งใบและเมล็ด 1/2 ถัง (ขนาด 10 ลิตร)
2. ยอด / ใบยูคาลิปตัส 1/2 ถัง (ขนาด 10 ลิตร)
3. EM 1 แก้ว
4. กากน้ำตาล 1 แก้ว
5. น้ำสะอาด 10 ลิตร
* ใช้ยอดพืช ยอดผัก หลายๆ ชนิด ก็ได้ อาทิ ชมพู่ มะม่วง ตะไคร้หอม ฯลฯ การเก็บยอดพืชให้เก็บตอนเช้าตรู่
วิธีทำ
• สับยอดพืชให้สั้นประมาณ 1 นิ้ว ใส่ในถังพลาสติกหรือโอ่ง
• ผสม EM กากน้ำตาล น้ำ เทลงในถังให้น้ำท่วมพอดี ปิดฝา ให้มิดชิด
• หมักไว้ 7-10 วัน กรองใส่ขวดเก็บได้นานประมาณ 3 เดือน
วิธีใช้
• 4-5 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีด พ่น รด ราด ตอนเช้า หรือหลังฝนตก ป้องกันแมลงรบกวน พืชจะแข็งแรงเติบโตดี
• ใช้ผสมกับสารไล่แมลงจะได้ผลดียิ่งขึ้น
โดย: ศรีราชาดีไลท์ [10 ก.ค. 49 13:09] ( IP A:61.90.200.2 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
สูตรป้องกันเชื้อราหรือไร
ส่วนผสม
1. EM 1 ลิตร
2. กากน้ำตาล 1 ลิตร
3. ตะไคร้หอม 2 กก.
4. ข่าแก่ 2 กก.
5. ใบและเมล็ดสะเดา 2 กก.
วิธีทำ
• นำตะไคร้หอม ข่า สะเดา ปั่นหรือ โขลกให้ละเอียด ใส่น้ำพอคั้นได้แล้วคั้นเอาแต่น้ำ จะได้น้ำสมุนไพร ประมาณ 3 กก.
• นำ EM ผสมกากน้ำตาล ผสมในน้ำสมุนไพร
• ปิดฝาภาชนะหมักไว้ 3 วัน
• เก็บไว้นานประมาณ 3 เดือน
วิธีใช้
• ใช้ 1/2 ลิตร ผสมน้ำสะอาด 20 ลิตร ฉีด พ่น ต้นไม้ทุก 3 วัน

No comments:

Post a Comment