Thursday, March 26, 2009

ปุ๋ยชีวภาพ

ปุ๋ยชีวภาพ

E.M. (อี.เอ็ม.) คืออะไร

E.M. ย่อมาจากคำว่า Effective Micro-organisms หมายถึง กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพคิดค้นพบโดย ศาสตราจารย์ ดร.เทรโอะ

ฮิงะ (TEROU HIGA) แห่งมหาวิทยาลัยริวกิว เมืองโอกินาว่า ประเทศญี่ปุ่น โดยใช้เทคนิคทางชีวภาพ รวบรวมเฉพาะกลุ่มจุลินทรีย์ หมวดสร้าง

สรรค์ ที่มีอยู่ในธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ช่วยปรับปรุงสภาพความสมดุลของสิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นจุลินทรีย์หมวดสร้างสรรค์ที่มีใน EM

ได้แก่ กลุ่มจุลินทรีย์แสง แลกโตบาซิรัส เพนนิซีเลี่ยม ไตรโคเดอมา ฟูเซเลียม สเตปโตไมซิส อโซเบคเตอ ไรโซเบียม ยีสต์รา รูปเส้นใย ฯลฯ

จุลินทรีย์ใน EM ส่วนใหญ่เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศ และมีพลัง“แอนติออกซิเดชั่น” ซึ่งเป็นพลังสร้างสรรค์ของชีวิต ป้องกันมิให้

มีการทำลายชีวภาพที่สำคัญของเซลล์ได้ป้องกันฤทธิ์ของสารพิษได้หลายชนิด รักษาสภาพธรรมชาติของเซลล์ ได้มิให้เสื่อมสภาพรักษาสุข

ภาพของคนและสัตว์ มิให้เป็นโรคหรือเจ็บป่วยได้ง่าย

ลักษณะโดยทั่วไปของ EM

เป็นของเหลวสีน้ำตาลกลิ่นหอมอมเปรี้ยวอมหวาน(เกิดจากการทำงานของกลุ่มจุลินทรีย์ต่าง ๆ ใน E.M.)เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีชีวิต

ไม่ สามารถใช้ร่วมกับสารเคมีหรือยาปฏิชีวนะและยาฆ่าเชื้อต่างๆ ได้ ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต เช่น คน สัตว์ พืชและแมลงที่เป็นประโยชน์

ช่วย ปรับสภาพความสมดุลของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ ที่ทุกคนสามารถนำไปเพาะขยายเพื่อช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆได้ด้วยตนเอง

ลักษณะการผลิต

เพาะขยายจากจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์มากกว่า 80 ชนิด จากกลุ่มจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

- กลุ่มจุลินทรีย์ผลิตกรดแลคติค

- กลุ่มจุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจน

- กลุ่มจุลินทรีย์เอคทีโนมัยซีทส์

- กลุ่มจุลินทรีย์ยีสต์

ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ได้จากธรรมชาตินำมาเพาะเลี้ยงและขยายให้จุลินทรีย์ขยายตัวด้วยปริมาณที่สมดุลกันด้วยเทคโนโลยีพิเศษ

โดยใช้อาหารจากธรรมชาติ เช่น โปรตีน รำข้าว และสารประกอบอื่น ๆ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต

ประโยชน์ของจุลินทรีย์โดยทั่วไป

  • ด้านการเกษตร

- ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างในดินและน้ำ

- ช่วยแก้ปัญหาจากแมลงศัตรูพืชและโรคระบาดต่างๆ

- ช่วยปรับสภาพดินให้ร่วนซุย อุ้มน้ำและอากาศผ่านได้ดี

- ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ เพื่อให้เป็นปุ่ญ (อาหาร)แก่อาหารพืชดูดซึมไปเป็นอาหารได้ดีไม่ต้องใช้พลังงานมากเหมือนการให้ ปุ๋ยวิทยาศาสตร์

- ช่วยสร้างฮอร์โมนพืช พืชให้ผลผลิตสูงและคุณภาพดีขึ้น

- ช่วยให้ผลผลิตคงทน สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน มีประโยชน์ต่อการขนส่งไกล ๆ เช่น ส่งออกต่างประเทศ

- ช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นจากฟาร์มปศุสัตว์ ไก่และสุกร ได้ภายในเวลา 24 ชม.

- ช่วยกำจัดน้ำเสียจากฟาร์มได้ภายใน 1 – 2 สัปดาห์

- ช่วยกำจัดแมลงวัน โดยการตัดวงจรชีวิตของหนอนแมลงวันไม่ให้เข้าดักแด้เกิดเป็นตัวแมลงวัน

- ช่วยป้องกันอหิวาห์และโรคระบาดต่าง ๆ ในสัตว์แทนยาปฏิชีวนะและอื่น ๆ ได้

- ช่วยเสริมสุขภาพสัตว์เลี้ยง ทำให้สัตว์แข็งแรงมีความต้านทานโรคสูง ให้ผลผลิตสูงอัตราการตายต่ำ

  • ด้านการประมง

- ช่วยควบคุมคุณภาพในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำได้

- ช่วยแก้ปัญหาโรคพยาธิในน้ำเป็นอันตรายต่อกุ้ง ปลา กบ หรือสัตว์น้ำที่เลี้ยงได้

- ช่วยรักษาโรคแผลต่าง ๆ ในปลา กบ จระเข้ ฯลฯ ได้

- ช่วยลดปริมาณขี้เลนในบ่อ และทำให้เลนไม่เน่าเหม็น สามารถนำไปผสมปุ๋ยหมักใช้พืชต่างๆ ได้อย่างดี

  • ด้านสิ่งแวดล้อม

- ช่วยปรับสภาพเศษอาหารจากครัวเรือน ให้กลายเป็นปุ๋ยที่มีประโยชน์ต่อพืชผักได้

- ช่วยปรับสภาพน้ำเสียจากอาคารบ้านเรือน โรงงาน โรงแรมหรือแหล่งน้ำเสีย

- ช่วยดับกลิ่นเหม็นจากกองขยะที่หมักหมมมานานได้

การเก็บรักษาจุลินทรีย์

สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน อย่างน้อย 6 เดือน ในอุณหภูมิห้องปกติไม่เกิน 46 – 50 C ต้องปิดฝาให้สนิท อย่าให้อากาศเข้าและอย่าเก็บ

ไว้ในตู้เย็นทุกครั้งที่แบ่งไปใช้ต้องรีบปิดฝาให้สนิท การนำ E.M. ไปขยายต่อควรใช้ภาชนะที่สะอาดและใช้ให้หมดภายในเวลาที่เหมาะสม

ข้อสังเกต

หากนำไปส่องด้วยกล้องจุลทัศน์ที่มีกำลังขยายสูงไม่ต่ำกว่า 700เท่า จะเห็น จุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ อยู่มากมาย E.M. ปกติจะมีกลิ่น

หอมอมเปรี้ยวอมหวาน ถ้าเสียแล้วจะมีกลิ่นเน่าเหมือนกลิ่นจากท่อน้ำทิ้งเก่า ๆ (E.M. ที่เสียใช้ผสมน้ำรดกำจัดวัชพืชได้)กรณีที่เก็บไว้นาน ๆ

โดยไม่มีเคลื่อนไหวภาชนะ จะมีฝ้าขาวๆ เหนือผิวน้ำ E.M.นั่นคือการทำงานของ E.M.ที่ผักตัวเมื่อเขย่าแล้วทิ้งไว้ชั่วขณะ ฝ้าสีขาวจะสลายตัว

กลับไปใน E.M. เหมือนเดิม

การประยุกต์ใช้จุลินทรีย์ การงานต่าง ๆ ดังนี้

งานด้านเกษตร

E.M.ผสมน้ำ 1 : 1,000 – 2,000 ฉีดพ่นรดราดต้นไม้ สัปดาห์ละ 1 – 2 ครั้ง

การขยายจุลินทรีย์

เมื่อต้องการใช้จุลินทรีย์ในงานเกษตรที่มีเนื้อที่มาก ๆควรใช้จุลินทรีย์ที่ได้ขยายปริมาณให้มากขึ้น เพื่อเป็นการประหยัดต้นทุน

โดยให้อาหารแก่จุลินทรีย์ ได้แก่ กากน้ำตาล น้ำอ้อย น้ำตาลทรายแดง นมแดง นมข้นหวาน หรือน้ำซาวข้าว เป็นต้น การขยายจุลินทรีย์

ให้กับพืช

วัสด

จุลินทรีย์ กากน้ำตาล อย่างละ 1 ลิตร/น้ำ 1,000 ลิตร

วิธีทำ

- ผสมกากน้ำตาลกับน้ำที่สะอาด คนให้ทั่วจนกากน้ำตาลละลายหมด

- น้ำ E.M. ผสมในน้ำคนจนเข้ากันทั่ว ปิดฝาให้สนิททิ้งไว้ 1 – 3 วัน ภาชนะที่ใช้ต้องสะอาดจะใช้ถังพลาสติกหรือตุ่ม

วิธีใช้

เมื่อหมักไว้ตามกำหนดที่ต้องการแล้ว นำ E.M. ที่ขยายไปผสมกับน้ำละลายอีกในอัตรา EM1/น้ำ 2,000 ลิตร ฉีดพ่นรดต้นไม้

พืชผัก ไม้ผล ไม้ดอกไม้ประดับทุกชนิด ทุกวันหรือวันเว้นวันหรือสัปดาห์ละ 2 – 3 ครั้ง ใช้หญ้าแห้วหรือใบไม้แห้งหรือฟางคลุมดิน

บริเวณโคนต้นไม้ เพื่อรักษาความชื้นและ EM ย่อยสลายเป็นอาหารของพืช และเพื่อปรับสภาพของดินให้ดีขึ้นด้วย

ข้อสังเกต

1. เมื่อนำไปขยายเชื้อในน้ำและกากน้ำตาลจะมีกลิ่นหอมและเป็นฟองขาว ๆ ภายใน 2 – 3 วันถ้าไม่มีฟองดังกล่าวแสดงว่า

การหมักขยายเชื้อยังไม่ได้ผล

2. EM ที่นำไปขยายเชื้อแล้วควรใช้ให้หมดภายใน 3 วันหลังจากหมักได้ที่แล้ว ทั้งนี้เพื่อป้องกันการเสื่อมคุณภาพ

ที่อาจเกิดจากความไม่สะอาดของน้ำ ภาชนะ และสิ่งแปลกปลอมจากอากาศเฉพาะเชื้อ EM ส่วนใหญ่ไม่ต้องการอากาศ

การใช้จุลินทรีย์กับงานปศุสัตว์

การขยาย EM กากน้ำตาลอย่างละ 1 ลิตร/น้ำ 100 ลิตร

วิธีทำ

เหมือนกับของขยายที่ใช้งานพืช

วิธีใช้

นำ EM ที่ขยายแล้วไปผสมกับน้ำอีกในอัตรา 1/5,000 – 10,000ใช้ล้างคอกและบำบัดน้ำเสียในฟาร์มหรือให้สัตว์กิน หรือจะใช้ EM

ที่ขยายแล้ว โดยไม่ต้องผสมน้ำไปฉีด เพื่อบำบัดน้ำเสียบำบัดกลิ่นเหม็นในฟาร์มและจุดที่มีกลิ่นเหม็นในที่ต่าง ๆอัตราความเข้มข้นของ

EM ขยายที่ไปใช้ จะมากน้อยตามความต้องการของลักษณะการใช้ในแต่ละพื้นที่เป็นสำคัญ

การใช้ E.M. 5 ร่วมกับสมุนไพร

การใช้เชื้อหมักขับไล่แมลงร่วมกับพืชสมุนไพรต่าง ๆ เช่นสะเดา ข่า ตะไคร้หอม ยาสูบ ดีปลี พริกขี้หนู ฯลฯ จะทำให้มีประสิทธิภาพ

ในการขับไล่แมลงศัตรูพืช ได้ผลอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น

วิธีทำ

นำพืชสมุนไพร มาผึ่งลมหรืออบให้แห้งแล้วนำมาสับหรือใช้เครื่องบด ให้ละเอียด ใช้ผงสมุนไพร 2 – 5 ช้อนแกงใส่ในน้ำสะอาด

20 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 1 คืน ใช้ผ้าหรือตะแกรงอย่างละเอียด กรองผงสมุนไพรออกเหลือแต่น้ำสมุนไพรส่วนกากาหรือตะกอนสมุนไพร นำ

ไปผสมน้ำใส่บัวรดแปลงพืชผัก หรือบริเวณทรงพุ่มต้นพืชได้

วิธีใช้

นำน้ำสมุนไพร 2 – 5 ช้อนแกงแล้วฉีดพ่นพืชผักและต้นไม้ผลได้

หมายเหตุ

สำหรับพืชที่กำลังแตกใบอ่อน ควรใช้อัตราส่วนผสม E.M. 5เจือจาง ว่านหางจระเข้เป็นพืชสมุนไพรที่ใช้แทนสารจับใบได้เป็นอย่างดี

โดยปลอกเปลือกเอาแต่ส่วนที่เป็นวุ้นทำการบดหรือปั่น แล้วนำผสมกับ E.M.5 และน้ำ อัตราส่วน 1 : 1 : 50 หรือ 1 : 2 : 50

เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการขับไล่แมลงได้เต็มที่ ควรใช้ E.M.5 และ สมุนไพรที่ผสมน้ำแล้วให้หมดภายใน 12 ชม.

การใช้ E.M.5 กับงานเลี้ยงสัตว์

นำไปใช้ป้องกันหรือกำจัดไร เห็บ หมัด หรือแมลงที่มารบกวนสัตว์เลี้ยงดังนี้ฉีดพ่นบริเวณคอกสัตว์ (โรงเรือนโค คอกหมู เล้าไก่)

ให้ทั่วสัปดาห์ละ 1 – 2 ครั้ง หลังอาบน้ำให้สัตว์เลี้ยง (วัว ควาย สุนัข) ทุกครั้ง ควรใช้ E.M.5 ผสมน้ำ ลูบตัวสัตว์เลี้ยงให้ทั่ว

การทำปุ๋ยหมักดิน

วัสดุและส่วนประกอบ

1. ดินแห้งทุบละเอียดแล้ว 5 ส่วน

2. รำละเอียด 2 ส่วน

3. แกลบเผา 2 ส่วน

4. มูลสัตว์ (ชนิดใดก็ได้) 2 ส่วน

5. อื่น ๆ

6. E.M.กากน้ำตาล อย่างละ 10 – 20 ซี.ซี

7. น้ำ 10 ลิตร

วิธีทำ

1.ผสมดิน แกลบ มูลสัตว์และอื่น ๆ คลุกจนเข้ากัน

2.นำรำละเอียดลงผสมคลุกเคล้าลงไป

3.ผสม E.M.กากน้ำตาล และน้ำ รดบนกองปุ๋ยหมัก ดินให้ได้ตามความชื้นพอดี 50%

4.นำส่วนผสมทั้งหมดกองบนพื้นซีเมนต์ หรือพื้นธรรมดาทั่วไป หนาประมาณ 10 ซ.ม. คลุมทับด้วยกระสอบป่าน

5.ถ้าคอยกลับบ้างจะใช้เวลาหมัก 3 – 4 วัน

ข้อสังเกต

หลังจากหมักไว้ 1 คืน จะมีราขาว ๆเกิดขึ้นเป็นเชื้อราที่ประโยชน์ เกิดจาก สปอร์ของจุลินทรีย์ ปุ๋ยหมักดินที่ใช้ได้จะไม่ร้อน

ไม่มีกลิ่นเหม็น แต่จะมีราขาวขึ้นเต็ม

วิธีใช้

ใช้รองก้นหลุมเพื่อปลูกพืชผัก หรือผลไม้ ไม้ยืนต้นไม้ดอกไม้ประดับทุกชนิด ใช้ได้ผลดีสำหรับดินที่ใช้เพาะต้นกล้าและเพาะ

ชำกล้าไม้ จะได้กล้าไม้ที่แข็งแรงสมบูรณ์ โดยมีส่วนผสมสำหรับเพาะกล้า ดังนี้

- ปุ๋ยหมักดิน 1 ส่วน

- ดินร่วนธรรมดา 1 ส่วน

- แกลบเผา 1 ส่วน

- ขุยมะพร้าว 1 ส่วน

นำส่วนผสมทั้งหมดคลุกเคล้าจนเข้ากันดีก่อนนำไปใช้

การทำปุ๋ยคอกหมัก

ปุ๋ยคอก ได้แก่ มูลสัตว์ เช่น วัว ควาย หมู ไก่ ฯลฯ ถ้านำไปใช้โดยตรงจะเกิดโรค และแมลงต่อพืชก่อนนำไปใช้ควรนำไปหมัก

ด้วยจุลินทรีย์ปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม. ก่อน

วัสดุและส่วนผสม

1.ปุ๋ยคอก 1 ส่วน

2.แกลบเผา 1 ส่วน

3.รำละเอียด 1 ส่วน

4.อื่น ๆ

5.จุลินทรีย์ กากน้ำตาล อย่างละ 10 – 20 ซีซี

6.น้ำ 10 ลิตร

วิธีทำ

1.ผสมปุ๋ยคอก แกลบเผา รำละเอียด อื่น ๆ เข้าด้วยกัน

2.รดน้ำจุลินทรีย์ คลุกเคล้าให้เข้ากันดีจนได้ความชื้นพอเหมาะไม่เกิน 50%

3.นำไปกองเกลี่ยบนพื้นซีเมนต์ หนาไม่เกิน 15 ซ.ม.

4.ปุ๋ยคอกหมักที่มีคุณภาพดี จะไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่มีก๊าซแอมโมเนีย ไม่ร้อน แต่จะมีราขาว ๆ ขึ้นจำนวนมาก

วิธีใช้

ใช้ได้ดีกับพืชผักทุกชนิด เช่นเดียวกับปุ๋ยคอกทั่วไป

การทำปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ จากเศษอาหาร

ทุกครัวเรือน ร้านอาหาร ภัตตาคาร ฯลฯ ล้วนมีเศษอาหารที่เป็นผักผลไม้ และเศษอาหารอื่น ๆ จำนวนมากน้อยแล้วแต่สถานที่

สามารถนำไปหมักเป็นปุ๋ยหมักชั้นเลิศ เพื่อใส่พืชผักและผลไม้ที่ปลูกไว้ได้

อุปกรณ์

- ถ้าพลาสติกมีฝาปิดขนาด 20 – 200 ลิตร แล้วแต่ปริมาณเศษอาหารที่จะได้หรือต้องการ เจาะรูติดก๊อกน้ำบริเวณก้นถัง

เพื่อไว้ระบายน้ำปุ๋ยหมัก ใช้ก๊อกให้มีขนาดโตพอสมควร เพื่อป้องกันการอุดตัน

- ถุงขยะพลาสติกสีดำ เจาะรูเล็ก ๆ 2 – 3 รูเพื่อให้น้ำปุ๋ยหมักผ่านทะลุได้หรือจะใช้ตาข่ายไนล่อนตาถี่เย็บเป็นถุงก็ ได้

หรือจะใช้กระสอบปุ๋ยน้ำซึมผ่านได้ก็ใช้ได้

- นำเอาถุงใส่ปุ๋ยที่เตรียมไว้ ใส่ลงในถังหมักปุ๋ยที่มีวัสดุรองก้นถัง ให้สูงจากระดับก๊อกน้ำเล็กน้อย

- ใช้กากน้ำตาล 20 – 40 ซีซี ใส่คลุกกับเศษอาหาร 1 ก.ก.และใส่จุลินทรีย์ 10 – 20 ซีซี คลุกอีกครั้ง ใส่ลงในถุงใส่ปุ๋ย

ทุกวันจนเต็มถุง

- ปิดฝาถังหมักไว้ตลอดเวลา หมักไว้อย่างน้อย 7 วัน ก็จะมีน้ำปุ๋ยหมักซึมออกมา อยู่ที่ก้นถังหมัก

- ไขก๊อกเอาน้ำปุ๋ยหมักที่ได้ไปผสมน้ำในอัตรา 1 : 500 – 1,000 รดพืชและต้นไม้ทุก ๆ วัน

- ผสมน้ำปุ๋ยหมักกับอัตราส่วน 1 : 20 – 50 หรือไม่ผสมก็ได้ราดพื้นห้องส้วมชักโครกหรือจุดที่มีกลิ่นเหม็นบริเวณบ้าน

หรือราดในท่อน้ำทิ้งเพื่อดับกลิ่นก็ได้ผลดี

- กากอาหารที่เหลือก็สามารถไปคลุมกับดินเป็นปุ๋ยต้นไม้ได้ดี

ข้อสังเกต

ถ้าหมักได้ที่จะไม่มีแมลงวันหรือมีกลิ่นเหม็นแต่กลิ่นจะหอมอมเปรี้ยว ถ้ามีกลิ่นเหม็นและมีกลิ่นก๊าซแอมโมเนีย แสดงว่า

หมักไม่ได้ผล ระหว่างหมักอาจจะมีหนอนแมลงวันเกิด แต่มันไม่กลายเป็นแมลงวัน จะเป็นหนอนตัวโตกว่าปกติ มีอายุอยู่นานได้

หลาย ๆ วัน แล้วจะตายไปเอง

เชื้อหมัก อี.เอ็ม. 5 (สารขับไล่แมลง)

เป็นส่วนผสมของเหล้า น้ำส้มสายชู จุลินทรีย์ กากน้ำตาลและน้ำที่หมักไว้เพื่อใช้ป้องกันและขับไล่แมลงศัตรูพืชต่าง ๆ พร้อมทั้งช่วย

กำจัดโรคพืชต่าง ๆ ด้วย

อัตราส่วน

จุลินทรีย์ กากน้ำตาล น้ำสัมสายชูกลั่น 5% เหล้าขาว อย่างละ 1 ลิตร น้ำ 8 ลิตร

วิธีทำ

1.เอากากน้ำตาลผสมกับน้ำจนละลายดีแล้ว ใส่เหล้าขาวและน้ำสัมสายชูชนิด 5%

2.เอาจุลินทรีย์ใส่คนจนเข้ากันดี

3. ปิดฝาให้สนิท หมักไว้ 15 วัน ภาชนะที่ใช้หมักนั้นควรใช้ถังพลาสติก

4. ในระหว่างการหมักให้เขย่าทุกวันเช้า-เย็น เพื่อไม่ให้เกิดการนอนก้น แล้วปิดฝาเพื่อระบายก๊าซออก วันละ 2 ครั้ง

5. เมื่อครบกำหนดก็นำไปใช้ได้ สามารถเก็บได้นานถึง 3 เดือน แต่ต้องเปิดฝาระบายก๊าซออกเป็นครั้งคราว

วิธีใช้

เชื้อหมักขับไล่แมลงผสมกับน้ำสะอาด ดังนี้

- EM 5 10 – 15 ซีซี (1 – 5 ช้อนโต๊ะ)

- กากน้ำตาล 10 – 15 ซีซี (1 – 5 ช้อนโต๊ะ) เพื่อเป็นการจับใบ

- น้ำสะอาด 8 ลิตร

นำส่วนผสมไปฉีดพ่นต้นไม้ทุกวันหรืออาทิตย์ละ 1 – 2 ครั้ง ตามความต้องการ ทำการฉีดพ่นให้ชุ่มและทั่วถึงทั้งนอกและใบ

ทรงพุ่มหรือจะใช้เชื้อขับไล่แมลงผสมกับน้ำฉีดเลยก็ได้ โดยไม่ต้องเติดกากน้ำตาลอีก

เชื้อหมักขับไล่แมลง สูตรเข้มข้น

วัสดุและส่วนผสม

1. จุลินทรีย์ กากน้ำตาล น้ำส้มสายชูกลั่น อย่างละ 1 ลิตร

2. เหล้าขาว 28 – 40 ดีกรี อย่างละ 2 ลิตร

วิธีทำ

ละลายกากน้ำตาลกับน้ำส้มสายชูก่อนจึงค่อยเติมเหล้าขาวลงไปคนจนเข้ากัน แล้วเติม EMให้เข้ากันปิดฝาให้สนิทหมักไว้ 24 ชม.

วิธีใช้

ใช้ฉีดพ่นปราบหนอน แมลงศัตรูพืชที่ปราบได้ยาก เช่นหนอนหลอดหอม หนอนชอนใบ ฯลฯ ในปริมาณ 200 –300 ซีซี/น้ำ 200 ลิตร

หรือมากน้อยกว่านี้ตามความเหมาะสม

การทำปุ๋ยหมักฟาง

วัสดุและส่วนผสม

1. ฟางแห้งตัดเป็นท่อนสั้นประมาณ 2 เซนติเมตร 1 ส่วน

2. แกลบดิบ 1 ส่วน

3. รำละเอียด 1 ส่วน

4. กากน้ำตาล 10 – 20 ซีซี (1 – 2 ช้อนโต๊ะ)

5. ปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม. 10 – 20 ซีซี

6. น้ำสะอาด 10 ลิตร

วิธีทำ

1.คลุกฟางและแกลบให้เข้ากันแล้วแบ่งออกเป็ฯ 3 กองเท่า ๆ กัน ผสมกองที่ 1 และ 2 เข้าเป็นกองเดียวกัน

2.ผสม E.M.และกากน้ำตาลกับน้ำ 1 ลิตร ที่เตรียมไว้ใส่ในบัวรดน้ำ

3.นำน้ำผสม E.M. รดลงบนกองฟาง กับแกลบกองใหญ่ให้ชุ่มแล้วคลุกเคล้าให้เข้ากันดี

4.ผสมผางและแกลบกองเล็กที่เหลือเข้าด้วยกันกับกองใหญ่คลุกเคล้าจนเข้ากันดี

5.เอารำละเอียดลงไปผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันจนได้ความชื้นพอดี (50%) โดยการทดลองทำแล้วบีบดู ถ้าน้ำไม่ไหลออกมา

ตามง่ามมือ เมื่อแบมือยังจับกันเป็นก้อนแสดงว่าใช้ได้

6.ถ้าความชื้นสูงเกินไป คือเมื่อกำแล้วจะมีน้ำซึมออกมาตามง่ามนิ้วมือให้เติมวัสดุคือ ฟาง แกลบ และรำในอัตราส่วนเท่ากัน

ผสมลงไปคลุกให้เข้ากันจนความชื้นพอดี

7.เกลี่ยฟางรองพื้นให้เป็นแนวราบและหนาพอสมควร จากนั้นปูด้วยกระสอบป่านบนฟาง

8.ตักปุ๋ยหมักลงเกลี่ยบนกระสอบป่านอย่าให้สูงเกิน 1 ฟุตแล้วคลุมให้มิดด้วยกระสอบป่านหมักไว้ 5 ชั่วโมง เพื่อให้ อี.เอ็ม ทำงาน

9.เมื่อครบ 5 ชั่วโมง ให้เริ่มตรวจวัดความร้อนทุก ๆ ชั่วโมงด้วยการใช้ปรอทเสียบลงในกองปุ๋ยหมัก ทิ้งไว้คอยควบคุม ถ้าอุณหภูมิ

สูงเกิน 45 C หรือร้อนเกิน 45 C ต้องรีบกลับกองปุ๋ยทันทีถ้าความร้อนไม่เกินไม่ต้องกลับ ทิ้งไว้ 2 – 3 วัน ความร้อนจะลดลงเป็นปกติ

ประมาณ 37 C

10.เปิดกระสอบที่ปิดไว้ออก ทิ้งให้โบกาฉิแห้งดีแล้ว จึงนำไปบรรจุกระสอบเก็บไว้ อย่าให้โดยความชื้นจนกว่าจะนำไปใช้

วิธีใช้

ใช้ผสมเตรียมดินสำหรับปลูกพืชทุกชนิด โดยการโรยปุ๋ยโบกาฉิฟาง ประมาณ 2 กำมือ ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร เอาหญ้าบางหรือ

ฟางแห้ง คลุมทับอีกชั้นหนึ่ง แล้วรดด้วยน้ำผสมปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม. 10 –20ซีซี/น้ำ 10 ลิตร ทิ้งไว้ 7 วัน จึงค่อยปลูกผักหรือพืชต่าง ๆ

ได้ในกรณีที่ใช้กับแปลงผักที่ปลูกแล้ว ใช้ปุ๋ยหมักฟางโรยรอบ ๆ ทรงพุ่ม (ระวังอย่าให้โดยใบและโคนต้นผัก) คลุมทับด้วยฟางหรือ

หญ้าแล้วรดด้วยน้ำปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม. อีกครั้ง ใช้เดือนละ 1 – 2 ครั้งก็พอสำหรับไม้ผล และพืชยืนต้นอายุประมาณ 2 ปี ให้ใช้หมักฟาง

โรยรอบทรงพุ่มต้นละ 2 กิโลกรัม/ต่อปี จะใส่ครั้งเดียวหรือแบ่งใส่ก็ได้ จากนั้นใส่ปีละ 1 กิโลกรัม

ข้อสังเกต

ถ้าผสมหมักปุ๋ยให้ได้ความชื้นพอดี หมักไว้ประมาณ 3 วันตามความร้อนของกองปุ๋ยจะเย็นเป็นปกติ แต่ถ้าความชื้นสูงเกินไป

จะเกิดความร้อนสูง ต้องใช้มากกว่า 3 วัน จึงจะเย็นเป็นปกติปุ๋ยหมักที่หมักได้ผลดี จะมีกลิ่นหอมเหมือนเห็ด และจะมีราขาว ๆ ปะปน

แต่ถ้ามีกลิ่นเหม็นเน่า หรือมีกลิ่นก๊าซแอมโมเนียแสดงว่าปุ๋ยหมักใช้ไม่ได้ ปุ๋ยหมักที่หมักแล้วใหม่ ๆจะมีคุณภาพและใช้ได้ผลดี

มากกว่าปุ๋ยหมักที่ทำแล้วเก็บไว้นาน ๆ หากใช้แล้วเหลือควรเก็บไว้ในร่มอย่าให้โดนความชื้นจนกว่าจะนำไปใช้ (ควรเก็บไว้ไม่เกิน 6 เดือน

การทำปุ๋ยหมัก สูตร 24 ชั่วโมง

วัสดุและส่วนผสม

1. หญ้าฟางแห้งตัดท่อน (5 – 10 เซนติเมตร) 10 ส่วน

2. ปุ๋ยหมักฟางหรือมูลสัตว์ 1 ส่วน

3. รำละเอียด 0.5 – 1 ส่วน

4. E.M.และกากน้ำตาลอย่างละ 10 – 20 ส่วน/น้ำ 10 ลิตร

วิธีทำ

1.ผสมปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม. กากน้ำตาล และน้ำใส่ในกาละมังไว้

2.นำหญ้าหรือฟางแห้งที่ตัดไว้เป็นท่อน ๆ ลงจุ่มในน้ำผสม E.M. จนชุ่มแล้วยกขึ้นกองรอไว้

3.ผสมรำละเอียดกับปุ๋ยหมักฟางหรือมูลสัตว์ ให้เข้ากันดีแล้วนำไปคลุกกับหญ้าหรือฟางเปียกที่กองรองไว้จนเข้ากันทั่วดี

4.นำไปกองบนพื้นซีเมนต์ หรือบนผ้าพลาสติกเป็นกองกลมหรือสี่เหลี่ยมก็ได้ อย่าให้หนาเกินไป (1 ฟุต) แล้วคลุมทับด้วย

กระสอบป่านให้มิด หมักไว้ 18 เซนติเมตร คุ้ยกลับ 1 ครั้ง แล้วคลุมด้วยกระสอบหมักต่ออีก 6 ชั่วโมง เมื่อครบ 24 ชั่วโมง

เปิดกระสอบออกเกลี่ยปุ๋ยหมักบาง ๆ ผึ่งไว้จนแห้งจึงนำไปใช้

วิธีใช้

ใช้รองก้นหลุมเพื่อปลูกผัก ไม้ผล ไม้ยืนต้น ไม้ดอก และไม้ประดับทุกชนิด

ใช้ผสมดินเตรียมแปลงปลูกผัก ผสมหญ้าแห้งหรือฟางแห้งคลุมแปลงผักคลุมโคนต้นไม้ ไม้ผลทุกชนิด

ใช้เป็นหัวเชื้อขยายทำเป็นปุ๋ยหมัก 24 ชั่วโมง ต่อได้อีกและปุ๋ยใหม่ที่ได้สามารถนำไปทำต่อไปได้อีกเรื่อย ๆ ดังนี้

- ปุ๋ยหมัก 24 ชั่วโมง 1 ส่วน

- หญ้าหรือฟางแห้ง 10 ส่วน

- รำละเอียด 0.5 ส่วน

- E.M.กากน้ำตาล 10 –20 ซีซี

- น้ำ 10 ลิตร

การทำฮอร์โมนพืชด้วยปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม.

วิธีทำ

วิธีทำและนำไปใช้ก็เช่นเดียวกับปุ๋ยหมัก 24 ชั่วโมงครั้งแรก

วัสดุ

1.กล้วยน้ำว้า, ฟักทองแก่จัด, มะละกอสุก, อื่น ๆ อย่างน้อย 2 กิโลกรัม

2.E.M. 20 ซีซี

3.กากน้ำตาล 40 – 50 ซีซี

4.น้ำ 10 ลิตร

วิธีทำ

สับวัสดุทั้งหมดเปลือกและเมล็ดเข้าด้วยกันจนละเอียดผสมด้วยปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม. และกากน้ำตาล น้ำ คลุกให้เข้ากันดี

บรรจุลงในถุงปุ๋ยหมักไว้ในถังพลาสติกปิดฝาไว้ 18 วัน

วิธีใช้

นำส่วนที่เป็นน้ำฮอร์โมน 20 – 30 ซีซี ผสมกับน้ำสะอาด 5 ลิตร แล้วนำไปใช้ดังนี้

- ใช้ฉีดพ่นต้นไม้ผล ในช่วงระยะก่อนแทงช่อดอก จะทำให้ต้นไม้แทงช่อดอกเพิ่มมากขึ้น

- ใช้ฉีดพ่นหรือรดต้นไม้ผล ช่วงติดดอกจะทำให้ติดผลดี

- ใช้แทนน้ำยาฮอร์โมนเร่งราก เพื่อทำให้รากพืชงอกได้เร็วขึ้นโดยใช้ในเรื่อง

การชำกิ่งโดยนำกิ่งพันธุ์ไม้ที่ต้องการขยายพันธุ์แช่ในน้ำฮอร์โมนที่ผสมน้ำ ในอัตราส่วน1 : 100 – 200 ลิตร แช่ไว้นานประมาณ

30 นาที แล้วนำไปเพาะชำในเรือนเพาะชำ การตอนกิ่ง โดยนำส่วนที่เป็นไขเหลืองทาบบริเวณที่ปอกเปลือกกิ่งพันธุ์เพียงเล็กน้อย

(แล้วดำเนินการต่อตามขั้นตอนในการตอนกิ่ง)

ปุ๋ยหมักมูลสัตว์

วัสดุและส่วนผสม

1. มูลสัตว์ (ทุกชนิด) 1 ส่วน

2. แกลบดิบแห้ง 1 ส่วน

3. รำละเอียด 1 ส่วน

4. E.M.และกากน้ำตาล 10 – 20 ซีซี

5. น้ำ 10 ลิตร

6. อื่น ๆ

วิธีทำ

1.ผสม EM กากน้ำตาลกับน้ำที่เตรียมไว้

2.นำแกลบลงแช่น้ำผสม EM แล้วเอาขึ้นผสมกับมูลสัตว์

3.นำรำละเอียดคลุกเคล้าความชื้นไม่เกิน 50%

4.นำไปกองในพื้นที่ที่เตรียมไว้

5.เมื่อครบ 5 ชม. เริ่มตรวจสอบความร้อนทุก ๆ ชม.ควบคุมอย่าให้เกิน 50 C ใช้หมัก 3 – 4 วัน เมื่อปุ๋ยหมักมูลสัตว์ ได้ผลดี

จะมีกลิ่นหอมเหมือนเห็ดนำไปใช้ได้ หรือบรรจุกระสอบเก็บไว้ในที่ไม่โดนความชื้น

วิธีใช้

ใช้ผสมเตรียมดินสำหรับปลูกพืชทุกชนิด โดยการโรย 2 กำมือ (200 กรัม) ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร เอาหญ้าหรือฟางแห้งคลุม

ทับอีกชั้นหนึ่ง แล้วรดด้วยน้ำผสม EM อัตราส่วน 10 – 20 ซีซี ต่อน้ำ10 ลิตร ทิ้งไว้ 7 วัน จึงค่อยปลูก ในกรณีที่ใช้กับแปลงผักที่

ปลูกแล้วให้โรยรอบ ๆ ทรงพุ่ม คลุมทับด้วยฟางหรือหญ้าแห้งแล้วรดด้วยน้ำผสม EM

สำหรับไม้ผลและพืชยืนต้นอายุประมาณ 2 ปี ให้โรยรอบทรงพุ่มต้นละประมาณ 2 – 3 กก./ปี จะใส่ครั้งเดียวหรือแบ่งใส่ก็ได้ จากนั้น

ใส่ปีละ 1 กก.

หลักการในการเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้แก่ดิน

ในการเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้แก่ดินนั้น เราสามารถเพิ่มให้ได้หลายอย่างข้อสำคัญคือ อินทรีย์ วัตถุแต่ละอย่างมีอัตราส่วนองค์ประกอบ

ของธาตุคาร์บอน และไนโตรเจน (C/N ratio) แตกต่างกัน C/N ratio นี้เป็นตัวควบคุมบทบาทของไนโตรเจน เช่น ฟางข้าว มี C/N ratio

ประมาณ 90 นับว่ากว้างมากไม่ควรที่จะได้กลบลงดินไปในดิน ควรนำมาหมักให้เป็นปุ๋ยเสียก่อน เพื่อปรับระดับให้เหลือ 20 หรือต่ำกว่า

มิฉะนั้นแล้ว C/N ratio กว้าง ๆ เมื่อใส่ลงในดินจะทำให้ดินขาดไนโตรเจน เนื่องจากการสลายตัวโดยกิจกรรมของจุลินทรีย์ คือ จุลินทรีย์

จะเพิ่มขยายตัวมันเองอย่างรวดเร็วและดึงไนโตรเจนในรูปของไนเตรทไปจากดินไปใช้ในการเพิ่มกิจกรรมและจำนวนของจุลินทรีย์จึงเป็น

การแย้งไนโตรเจนจากพืชทำให้ขาดไนโตรเจน โดยพืชจะแสดงอาการเหลืองซีด ขณะเดียวกันจุลินทรีย์ที่ใช้คาร์บอนเป็นพลังงานและ

ปลดปล่อยให้หนีไปในอากาศ ในรูปก๊าซคาร์บอนไนออกไซด์ เมื่อคาร์บอนลดลงเรื่อย ๆ กิจกรรมของจุลินทรีย์จะลดลง ฉะนั้นเมื่อมีการ

ใส่อินทรีย์ลงในดินขณะที่อินทรีย์วัตถุยังไม่สลายตัวเต็มที่แล้วคือในระยะที่มี C/N ratio ยังกว้างนั้นดินจะขาดไนโตรเจนอยู่ระยะหนึ่ง

จน กว่าจะสิ้นการสลายตัวอัตราความเร็วของการสลายตัวขึ้นอยู่กับชนิดของอินทรีย์ วัตถุดิบ อุณหภูมิความชื้นเพื่อช่วยในการสลายตัวเร็วขึ้น

จึงควรเพิ่มไนโตรเจนลงในดินเพื่อปรับ C/N ratio ให้แคบลง

วิธีใช้

นำ E.M. ที่ขยายแล้วไปผสมกับน้ำอีกในอัตรา 1/น้ำ 5,000 – 10,000 ส่วนให้สัตว์กิน ล้างคอก และบำบัดน้ำเสียในฟาร์ม

หรือจะใช้ E.M. ที่ขยายแล้วโดยไม่ต้องผสมน้ำนำไปฉีด เพื่อบำบัดกลิ่นเหม็นในฟาร์มสัตว์ และจุดที่มีกลิ่นเหม็นในที่ต่าง ๆ

อัตราความเข้มข้นของ E.M. ขยายที่นำไปใช้ จะมากน้อยตามความต้องการของลักษณะการใช้ใบ แต่ละพื้นที่เป็นสำคัญ

การใช้ปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม. กับการเลี้ยงไก่

ใช้ E.M.ที่ขยายแบ้วฉีดพ่นตามพื้นที่กำจัดกลิ่นแก๊สและกลิ่นเหม็นจากมูลไก่ ทุก ๆ 3วัน หรือสัปดาห์ละ 2 ครั้ง มูลไก่ เหล่านี้นำไป

ใช้ ทำปุ๋ยหมักหรือนำไปใช้เป็นปุ๋ยใส่บริเวณทรงพุ่มต้นไม้และแปลงผักต่างๆ ผสมปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม.(หัวเชื้อ) กับน้ำกลั่น อัตราส่วน 1 : 1

ใช้แทนวัคซีนหรือหยอดตาหรือหยอดจมูกไก่ ตัวละ 1 – 3 หยด (ทำในช่วงระยะเวลาปกติของการใช้วัคซีนและตามขยาดอายุไก่)

เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันหรือป้องกันโรคไก่ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียได้

การใช้ปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม. กับการเลี้ยงสัตว์

ทำการขยาย อี.เอ็ม. ในอัตราส่วน อี.เอ็ม. 1 ลิตร กากน้ำตาล 1 ลิตรน้ำสะอาด 100 ลิตร แล้วปิดฝาให้สนิท หมักทิ้งไว้ 3 วัน (ตามที่กล่าวไว้)

นำไปฉีด ล้างให้ทั่วคอกจะสามารถกำจัดกลิ่นมูลเก่าได้ภายใน 48 ชั่วโมง เมื่อสะอาดปลอดกลิ่นดีแล้ว ต่อไปใช้สัปดาห์ละ 1 – 3 ครั้งก็พอ

โดยน้ำล้างคอกที่มีปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม.ผสมอยู่ด้วยจะลงไปช่วยบำบัดน้ำเสียตามท่อและบ่อพักให้สะอาดขึ้นด้วย

ผสม E.M. 1 ลิตรต่อน้ำสะอาด 5,000 – 10,000 ลิตร โดยประมาณ ให้สุกรกินทุกวัน เพื่อช่วยให้สุกรแข็งแรง

และมีความต้านทานโรคและป้องกันกลิ่นเหม็นจากสุกรที่เกิดขึ้นใหม่ด้วย

ผสมสุโตจู 1 ลิตรกับน้ำสะอาด 100 ลิตร เทราดตามบ่อน้ำทิ้ง เพื่อกำจัดหนอนแมลงวัน จะช่วยลดจำนวนลงได้ภายใน 1 – 2 สัปดาห์

ผสมซุปเปอร์โบกาฉิ สำหรับอาหารสัตว์ ประมาณ 2 %กับอาหารที่ให้สุกรกินแต่ละวัน เพื่อเสริมสุขภาพของสุกรกรณีลูกสุกรที่มีอาการ

ท้องเสียใช้ E.M.5 ซีซี หยอดเข้าทางปากจะช่วยได้

มูลสุกรที่ใช้ E.M.แล้ว สามารถนำไปใช้ทำปุ๋ยหมักต่าง ๆ หรือทำเป็นอาหารปลา กุ้ง กบ ได้ (ขึ้นอยู่กับการไปประยุกต์ใช้)

ข้อสังเกต

ฟาร์มที่ใช้ E.M. ส่วนมากจะไม่พบสุกรมีอาการท้องเสียสามารถลดการใช้ยาเสียปฏิชีวนะต่างๆ ได้มีประสิทธิภาพในการขยายพันธุ์ดี

ขึ้นได้ แม่สุกรในบางฟาร์มให้ลูกถึง 14 – 16 ตัว โดยไม่มีตาย สุกรขุนที่ให้ E.M. จะให้เนื้อแดงมาก และสุกรมีน้ำหนักมากกว่าที่เคยได้

หมายเหตุ วัว ควาย และสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ ก็สามารถนำ E.M. ไปประยุกต์ได้เช่นเดียวกัน

การใช้สุโตจู อี.เอ็ม. 5 กับงานเลี้ยงสัตว์

ผสมสุโตจู 20 – 50 ซีซี กับน้ำสะอาด 1 ลิตร นำไปใช้ป้องกันหรือกำจัดไร เห็บ หมัด หรือแมลงที่มารบกวนสัตว์เลี้ยงได้ ดังนี้

ฉีดพ่นบริเวณคอกสัตว์(โรงเรือนโค คอกหมู เล้าไก่) ให้ทั่วสัปดาห์ละ 1 – 2 ครั้งหลังอาบน้ำให้สัตว์เลี้ยงทุกครั้งควรใช้สุโตจู ผสมน้ำ

ลูบตัวสัตว์เลี้ยง

การทำซุปเปอร์โบกาฉิ อาหารสัตว์

วัสดุและส่วนผสม

1.เปลือกหอยป่น กระดองปูป่น กระดูกป่น แกลบเผา อย่างละ 0.2 กิโลกรัม

2.ปลาป่น กากถั่ว อย่างละ 6 กิโลกรัม

3.รำละเอียด 20 กิโลกรัม

4.ปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม. กากน้ำตาล 10 ซีซี

5.น้ำสะอาด 5 ลิตร

วิธีทำ

ผสมวัสดุที่ใช้ทั้งหมด เข้าด้วยกันจนเข้ากันดี ละลาย E.M.กากน้ำตาล , น้ำ, คนจนเข้ากันดี นำไปราดเป็นฝอยบนส่วนผสมแรก

คลุกเคล้าให้เข้ากันดี และให้ความชื้นไม่เกิน 40% เอาบรรจุใส่กระสอบป่านผูกปากให้แน่น ใส่ลงไปถุงพลาสติก ดำทึบแสงขนาดใหญ่

อีกชั้นหนึ่ง มัดปากถุงให้แน่น อย่าให้อากาศเข้าหมักไว้ 3 วัน ความร้อนจะอยู่ระหว่าง 35 – 40 เซลเซียส เมื่อหมักครบ 3 วัน

เอากระสอบออกจากถุงพลาสติกดำทึบแสง ตั้งทิ้งไว้ในร่มอีก 3 วัน อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และจะเย็นลงโดยพยายามกลับกระสอบ

ทุกวันเพื่อป้องกันไม่ให้ความชื้นในกระสอบไปกองอยู่ด้านใดด้านหนึ่ง จะทำให้จับกันเป็นก้อนได้

ข้อสังเกต

เมื่อหมักได้ที่แล้ว จะมีกลิ่นหอมกว่าโบกาฉิอื่น ๆ

วิธีใช้

ใช้ผสมกับอาหารสัตว์ เช่น หมู ไก่ กบ ฯลฯ ในอัตรา 2%ของอาหารที่ให้แต่ละครั้ง จะทำให้สัตว์มีสุขภาพแข็งแรงให้ผลผลิตสูง

นำไปละลายน้ำในอัตราส่วน 1 – 2 กิโลกรัม/น้ำสะอาด 100 ลิตรทำให้เป็นปุ๋ยน้ำหมักทิ้งไว้ 12 – 24 ชั่วโมง ก่อนนไปรดพืชผักต่าง ๆ

โดยเฉพาะพืชผักที่ปลูกใหม่ ๆ จะทำให้ผักฟื้นตัวและโตเร็ว ใช้หว่านลงไปในบริเวณสระน้ำ เพื่อช่วยปรับสภาพน้ำที่เน่าเสีย

การทำซุปเปอร์โบกาฉิ สูตร 2

วัสดุ

1.รำละเอียด 3 ส่วน ปลาป่น กากถั่ว อย่างละ 1 ส่วน

2.E.M.กาก น้ำ (1 : 1 : 50)

วิธีทำ

ผสมวัสดุทุกอย่างเข้าด้วยกัน ให้ได้ความชื้น 40% แล้วหมักตามขั้นตอนสูตร 1

วิธีใช้

เช่นเดียวกับสูตร 1

การใช้จุลินทรีย์ในการประมง

ใช้ E.M. ที่ขยายแล้วใส่ในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ 1/10,000 หรือ 1 ลิตร /10 คิวปิกเมตร ของน้ำใส่บ่อทุก ๆ 7 – 10 วัน

แล้วแต่สภาพของน้ำและอัตราความหนาแน่นของสัตว์ที่เลี้ยง

ผสมอาหารให้กินโดยใช้ EM ผสมในน้ำอัตรา 1 : 50 หรือ 100ส่วนคลุกกับอาหารหรือแช่ไว้ก่อน ให้กินก็ได้ในฟาร์มเลี้ยงกบ บางฟาร์ม

หลังจากใช้ EM ลงในบ่อเลี้ยงกบครั้งแรก แล้วไม่ต้องใส่อีกเพราะน้ำในบ่อจะได้ EM ควรใช้ EM อย่างเจือจางก่อน

การใช้ EMด้วยวิธีการดังกล่าวจะช่วยให้น้ำไม่เสียไม่จำเป็นต้องถ่ายน้ำบ่อย ๆหรือไม่ต้องถ่ายน้ำเลยจนกว่าจะจับสัตว์ขายช่วนให้สัตว์มี

สุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นโรคสัตว์ โตเร็ว อัตราตายต่ำ

การใช้ปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม. ในการประมง (ปลา, กุ้ง)

ใช้ อี.เอ็ม. ที่ขยายแล้วใส่ในบ่อเลี้ยงสัตว์ในอัตรา 1: 10,000 หรืออี.เอ็ม 1 ลิตร ต่อน้ำ 10 คิวบิกเมตรของน้ำ ใส่บ่อทุก ๆ 7 – 10 วัน

แล้วแต่สภาพของน้ำ และอัตราความหนาแน่นของสัตว์เลี้ยง

ผสมอาหารให้กิน โดยใช้ปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม ผสมน้ำในอัตราส่วน 1 : 50 – 100 ส่วนคลุกกับอาหารหรือแช่ไว้ก่อนให้กินก็ได้ แล้วแต่ชนิด

ของสัตว์เลี้ยง

ในฟาร์มเลี้ยงกบบางฟาร์ม หลังจากใส่ปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็มลงในบ่อเลี้ยงกบครั้งแรกแล้ว ไม่ต้องใส่อีก เพราะน้ำในบ่อจะได้ อี.เอ็มเพิ่มทุกวัน

จากอาหารที่แช่ปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม และควรใช้อย่างเจือจางก่อน

การใช้ปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม ด้วยวิธีการดังกล่าว จะช่วนให้น้ำไม่เหลืองไม่จำเป็นต้องถ่ายน้ำบ่อย ๆ หรือไม่ต้องถ่ายน้ำเลยจนกว่าจะจับสัตว์ขาย

ช่วยให้สัตว์มีสุขภาพดีแข็งแรงไม่เป็นสัตว์โตเร็ว และอัตราการตายต่ำ

การทำอาหารสำหรับเลี้ยงปลา

วัสดุ

1.เศษอาหาร 50 ส่วน รำละเอียด 20 ส่วน โบกาฉิมูลสัตว์ 1 ส่วน

2.ปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม : กากน้ำตาล : น้ำ 1 : 1 : 50

วิธีทำ

ผสมเศษอาหาร รำละเอียด และโบกาฉิ เข้าด้วยกัน แล้วคลุกด้วยน้ำ ผสมปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม หมักทิ้งไไว้ 1 – 2 ชั่วโมง

วิธีใช้

นำอาหารปลาที่หมักไว้แล้ว ไปหว่านในบ่อเลี้ยงปลาหรือวางบนตะแกรงหย่อนลงไปให้ปลากิน

การขยายจุลินทรีย์ แก้ปัญหาส้วมเต็ม

ใช้ปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม ขยาย (อี.เอ็ม กากน้ำตาล 1/100 ลิตร) หมักไว้ 3 วันนำมาเทใส่ส้วมชักโครก (เทใส่โดยไม่ต้องผสมน้ำ) ประมาณ

5 –10 ลิตร เดือนละ 1 ครั้ง อี.เอ็ม จะไปย่อยสลายสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ในถังพัก กากที่เหลือจะตกตะกอนและน้ำในถังพักจะดูดซึมลงไปได้มาก

ถ้าส้วมไม่เต็มและไม่เหม็น การขยายจุลินทรีย์ บำบัดกลิ่นเหม็นและกำจัดแมลงวันจากกองขยะ ขยะที่ได้จากครัวเรือน ร้านอาหาร และโรงแรม

ส่วนใหญ่จะเป็นขยะเปียก พวกเศษอาหาร ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นและแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวัน จุลินทรีย์จะสามารถบำบัดกลิ่นเหม็น กำจัดแมลงวัน

ได้โดยการตัดวงจรชีวิตของแมลง และ อี.เอ็ม สามารถทำการย่อยสลายเศษอาหารได้ และเป็นปุ๋นแก่พืชผักและผลไม้ต่าง ๆ ได้อีกด้วย

ใช้ปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม ที่ขยายแล้วผสมน้ำในอัตราส่วน 1 : 1,000ฉีดพ่นบริเวณกองขยะ หรือพ่นให้คลุกเคล้ากับขยะที่จะนำไปทิ้งหรือนำ

ไปฉีดพ่นขยะบนรถขยะของเทศบาล แล้วจึงนำไปทิ้งในที่ทิ้งขยะ อี.เอ็ม ก็จะทำงานทำให้ขยะไม่มีกลิ่นเหม็นและไม่มีแมลงวัน หลังจากขยะฉีด

ด้วยอี.เอ็ม แล้วนำไปฝังกลบก็จะยิ่งเป็นผลดี

การใช้จุลินทรีย์ในครัวเรือน

ก่อนปรุงอาหาร หรือก่อนรับประทานพืชผัก ผลไม้(ประเภทรับประทานทิ้งเปลือก) หรืออาหารสดต่าง ๆ โดยเฉพาะอาหารสดจากทะเล

(กุ้ง ปู ปลาหมึกสด) ที่ซื้อมาจากตลาด แต่ไม่แนใจว่าปลอดสารพิษหรือไม่ ควรนำมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วแช่น้ำในจุลินทรีย์ ที่ผสมน้ำในอัตรา

ส่วน 1: 100 –200 แช่ไว้ประมาณ 0 - 1 ชม.จะทำให้สารเคมีที่ปนเปื้อนหรือตกค้างอยู่ ในพืชผักหรืออาหารสดนั้น ถูกปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม ย่อย

สลายหรือชำระล้างออกไปได้เป็นอย่างมาก

การใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย

น้ำที่เกิดจากชุมชน ใช้จุลินทรีย์ที่ขยายแล้วนำไปราดตามท่อระบายน้ำลงในถังชำระล้างต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหาที่ต้นเหตุเพื่อให้น้ำผสม

จุลินทรีย์ทำการบำบัด และไหลลงไปรวมในบ่อบำบัดและไหลลงไปรวมในบ่อบำบัดน้ำต่อไป

น้ำเสียจากโรงพยาบาล โรงแรม และโรงงานอุตสาหกรรม ชุมชนต่างๆใช้จุลินทรีย์ที่ขยายกับระบบบำบัดน้ำเสีย ที่มีอยู่เดิม (ด้วยวิธีใช้

เครื่องตีน้ำ เพื่อให้อากาศแก่แบคทีเรียที่ต้องการอากาศทำงาน)

EM เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศในการทำงานจึงสามารถบำบัดน้ำเสียโดยการ ย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ ในน้ำเสียให้สะอาดา ไม่ต้องใช้

เครื่องตีน้ำเป็นการลดต้นทุนค่าไฟฟ้า และสามารถบำบัดน้ำเสียได้ดีมีประสิทธิภาพกว่าและย่อยสลายตะกอนที่เป็นอินทรีย์วัตถุจนหมดได้

สามารถนำน้ำที่ผ่านการบำบัดขั้นสุดท้ายแล้วไปใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ได้อีกด้วย

การประยุกต์ใช้ปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม ในนาข้าว

ต่อพื้นที่ 1 ไร่ ใส่โปกาฉิประมาณ 200 กิโลกรัม โดยแบ่งใส่เป็นระยะดังนี้ ไถพรวน

- หว่าน โปกาฉิ 100 กิโลกรัมให้ทั่ว

- ผสมปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม 400 ซีซี ผสมน้ำ 200 ลิตรฉีดพ่นให้ทั่วพื้นที่แล้วไถพรวนทั่วทิ้งไว้ 15 วัน เพื่อให้ อี.เอ็มย่อยสลายวัชพืชและฟาง

ข้าว ให้ปุ๋ยธรรมชาติและเร่งการงอกของเมล็ดหญ้า

- 15 วัน หลังไถแล้ว ผสมปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม และกากน้ำตาลอย่างละ 400 ซีซี กับน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่ว และไถ

กลบเพื่อทำ ลายหญ้าให้กลายเป็นปุ๋ยพืชสด ทิ้งไว้อีก 15 วัน จึงไถ และคราดเพื่อดำเนินดำนาต่อไป

- ไถคราด

- พ่นปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม อัตราส่วนเดิมอีกครั้ง

- ไถคราดให้ทั่ว เพื่อเตรียมปักดำ

- หลักปักดำ 7 –15 วัน

- หว่านโบกาฉิให้ทั่วแปลง 30 กิโลกรัม/ไร่

- พ่นตามด้วย EM กากน้ำตาล อย่างละ 200 ซีซี ผสมน้ำ 200 ลิตร

- ข้าวอายุ 1 เดือน หว่านโบกาฉิ 30 กิโลกรัม

- พ่นด้วย EM กากน้ำตาลอย่างละ 200 ซีซี ผสมน้ำ 200 ลิตร

- ก่อนข้าวตั้งท้องเล็กน้อย หว่านโบกาฉิ 40 กิโลกรัม

- พ่นด้วย EM กากน้ำตาลอย่างละ 200 ลิตร ผสมน้ำ 200 ลิตร

หมายเหตุ

เฉลี่ยพื้นที่ 1 ไร่ ใช้ปุ๋ยโบกาฉิ 200 กิโลกรัม

ในปีแรกที่ใช้โบกาฉิกับนาข้าว อาจต้องใช้ปริมาณมากแต่เมื่อดินดีปีต่อไปจึงค่อย ๆ ลดปริมาณการใช้ลง เพื่อป้องกันเพลี้ยระบาด

โรคแมลงศัตรูพืชต่าง ๆ รบกวนควรฉีดพ่นด้วยสุโตจู (สารขับไล่แมลง) ทุกๆ 15 วัน ในอัตราส่วนสุโตจู 400 ซีซี กากน้ำตาล 400 ซีซี

และน้ำ 200 ลิตร

การปลูกโดยไม่ต้องไถพรวนการไถพรวนเมื่อต้องการให้ดินที่แข็งตัวร่อนขึ้นอุ้ม น้ำและอากาศผ่านได้การใช้ EM จะช่วยให้ดินไม่

จับตัวกันแข็งแต่จะร่วนซุยอุ้มน้ำได้ และอากาศผ่านได้ จึงไม่จำเป็นต้องไถพรวนอีกต่อไปเกษตรกรที่ใช้ EM มา 3 ปี และเลิกการไถ

ไปแล้วสามารถเพิ่มผลผลิตได้มากขึ้นทุกปีด้วย

การใช้ปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม กับการป่าไม้

การปลูกป่าสร้างสวนป่า มักทำการปลูกกันในพื้นที่ดินแหล่งเสื่อมโทรมดินปุ๋ยธรรมชาติ มีการพังทลายของดินสูง ต้นไม้ที่ปลูกมักมีปัญหา

การเจริญเติบโตไม่มีเท่าที่ควร จึงมีการเสริมอินทรีย์วัตถุให้แก่ต้นไม้ และเพิ่มงบประมาณจุลินทรีย์ในดิน

ให้มีการสร้างกิจกรรมในดินให้เกิดความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น

การแช่เมล็ดพันธุ์ไม้ก่อนเพาะ (เช่น เมล็ดไม้สัก, ไม้มะค่าโมง ฯลฯ)ควรแช่เมล็ดในน้ำร้อน (60 – 70 C) นานประมาร 10 – 20 นาที

แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด 2 – 3 ครั้ง นำเมล็ดไปแช่ในปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม ผสมน้ำสะอาด อัตราส่วน 1 : 2,000 นานอย่างน้อย ? - 1 ชั่วโมง

ถ้าเมล็ดมีเปลือกหนาควรแช่ไว้นาน 3 – 7 วัน

การเพาะต้นกล้าในแปลงเพาะชำ เพราะเมล็ดพันธุ์ไม้ในถุงดำที่มีดินหมักปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม ไว้ โดยผสมปุ๋ยหมักดิน + ดินร่วน + แกลบสุก +

แกลบดิบ (1 : 1 : 1) เข้าด้วยกันและระหว่างการเพาะชำกล้าไม้ต้องใช้น้ำ อี.เอ็ม (1 : 1,000) รดอาทิตย์ละ 1 – 2 ครั้ง

การใช้ E.M. กับต้นไม้สวนป่า

ใช้ปุ๋ยหมุกโบกาฉิ ฟาง มูลสัตว์ หรือปุ๋ยหมักหญ้า 24 ชั่วโมง โรยเสริมบริเวณพุ่มของต้นไม้ หลังปลูกที่มีอายุ

0– 3 ปี ใช้อัตราส่วน 2 – 3 กำมือต่อต้น แล้วคลุกด้วยหญ้า/พุ่มแห้งรดด้วยน้ำปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม (1 : 1,000) ให้ชุ่ม เดือนละครั้ง โดยเฉพาะใน

ช่วงนอกฤดูฝน จะช่วยให้ต้นไม้ที่ ปลูกสร้างเป็นสวนป่า มีความแข็งแรง มีใบเขียว ชูช่อแตกดอกออกใบออกผลอย่างสมบูรณ์ เมื่อต้นไม้แข็งแรงดี

ย่อมมีความต้านทานการทำลายของโรคและแมลงได้ดีถ้ามีโรคหรือแมลงรบกวนต้นไม้ ในสวนป่าให้ใช้ สุโตจู (EMS) สูตรทั่วไปหรือซูปเปอร์สุ

โตจูฉีดพ่นตอนเช้าหรือตอนเย็น จะช่วยป้องกันแมลงพวกเพลี้ย ไร และแมลงมีปีกได้

เมื่อปลูกต้นไม้ได้อายุ 3 ปีขึ้นไป การใช้ปุ๋ยชีวภาพ อี.เอ็ม หรือปุ๋ยหมักอี.เอ็ม มีความจำเป็นน้อยลง หรือไม่ต้องใช้เลยก็ได้ เพราะกระบานการ

ทางธรรมชาติจะทำให้ดินในสวนป่าในสวนอุดมสมบูรณ์ขึ้นอยู่แล้ว

ข้อมูลทั้งหมดจากเว็บไซด์ >> http://www.nfe.go.th/nfe_v2/frontend/theme/index.php

No comments:

Post a Comment